ใจเดียว จิตเดียว


ในเวลาเดียวคนเราทำได้อย่างเดียวเท่านั้น

          Kert Lewin(1980-1947) ได้กล่าวว่า สิ่งใดที่อยู่ในความสนใจและความต้องการจะมีพลังเป็นบวก และสิ่งใดที่อยู่นอกเหนือความสนใจจะมีพลังเป็นลบ ที่เรียกว่า ทฤษฎีสนาม (Field theory) และเป็นที่มาของ Concept Life Space,

           Life Space หมายถึงในสถานการใดสถานการหนึ่ง ในเวลาใดเวลาหนึ่ง บุคคลจะแสดงพฤติกรรมหรือสนใจตามที่ตนเองรับรู้  

         นั้นหมายถึงในเวลาเดียว ในเสี้ยวของวินาที คนเราสามารถทำได้เพียงอย่างเดียวเท่านั้น 

         อัลลอฮฺ ได้ตรัสใน อัลกุรอาน สูเราะห์ อัล-อัฮซาบ อายัตที่ 4 ว่า

مَّا جَعَلَ اللَّهُ لِرَجُلٍ مِّن قَلْبَيْنِ فِي جَوْفِه ِ    [الأحزاب : 4] 

          ความว่า : อัลลอฮฺมิได้ทรงทำให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดมีสองจิตในทรวงอกของเขา

          ฉะนั้นในเวลาเดียวกัน คนเราทำสองอย่างพร้อมกันไม่ได้ นักเรียนที่เข้าฟังการบรรยาย จะฟังด้วยจดด้วยในเวลาเดียวกัน ไม่ได้ 

                แต่ในความเป็นจริง นักเรียน นักศึกษา เกือบจะทุกคน ทำได้ทั้งฟังและเขียนในเวลาเดียวกัน

                 ทำไมเป็นเช่นนั้น อัลกุรอาน นั้นผิดหรือ แน่นอน ไม่ใช่

                 หรือว่า Kert Lewin ฝันไปเอง พูดเรื่อยเปือยแบบหาความจริงไม่ได้... 

               จริงๆ แล้วเรื่องนี้ อธิบายได้ ... โดยใช้กฎการรับรู้ของกลุ่ม เกสตอลท์ 

                การที่เราเห็น เส้นตรงสามเส้น ส่วนปลายของเส้น จอเกือบติดกัน ... เราก็สามารถสรุปได้ว่า มันคือสามเหลี่ยม อันนี้กลุ่มเกสตอลท์เรียกว่า กฎความต่อเนื่อง หมายถึง บางอย่าง บางครั้ง แม้ว่ามันไม่สมบูรณ์แต่จากประสบการณ์ทำให้เราต่อเติมให้สมบูรณ์ได้ 

                เช่นกัน ตอนที่เราฟัง.. เราไม่สามารถจดได้ และเมื่อเรากมลงไปจด เราก็ไม่สามารถที่จะฟังได้ แต่ ด้วยประสบการณ์ และการสลับไปมาของจิตอย่างรวดเร็ว ระหว่างการฟัง กับการจด ทำให้ เราสามารถปะติปะต่อ จนสามารถทำให้มันสมบูรณ์ได้ทั้งสองอย่าง .. 

               .. นั้นหมายถึง.. มนุษย์เรามีเพียงจิตเดียวเท่านั้น..  

หมายเลขบันทึก: 77693เขียนเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2007 22:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มิถุนายน 2012 23:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ครูค่ะ psychology อัลเลาะห์สร้างให้คนเรานั้นแบ่งสมองเป็น 2 ซีก คือขวาและซ้าย ตามหลักศรัทธาถูกค่ะ ดิฉันไม่ปฏิเสธ แต่ครูพอแนะนำได้มั๊ยค่ะว่าดิฉันจะประยุกต์กฎแห่งวิทยาศาสตร์ให้เข้ากับหลักศาสนาได้บ้าง ดิฉันจะได้ทำ thesis เสร็จซะที

ถ้าจะเอาแบบกว้างๆแบบนี้ ผมก็ไม่รู้จะบอกยังไง เพราะอิสลามไม่ใช่วิทยาศาสตร์ และอัลกุรอานไม่ใช่ตำราวิทยาศาสตร์ แต่เป็นตำราชีวิต คู่มือสำหรับการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข ฉะนั้นอะไรที่เกี่ยวกับความเป็นอยู่ของมนุษย์จะถูกกล่าวในคู่มือเล่มนั้น ไม่ว่าจะเป็นวิทยาศาสตร์ มนุษยศาสตร์ หรือวิชาอื่นๆ

และอัลกุรอานไม่ใช่คำภีร์ที่ไร้เหตุและผล ดังนั้นมักก็เป็นวิทยาศาสตร์ในตัว เพียงแต่บางเรื่องเราไม่เข้าใจ บางเรื่องอัลกุรอานไม่ได้อธิบายอย่างละเอียด เรา(มนุษย์)นี้แหละที่ต้องสืบหาความรู้นั้นๆ ตามกรอบที่อัลกุรอานได้ชี้แนะไว้

สลามคะ

เด็กใหม่อย่างหนูได้เข้าเรียนแล้ว ทราบว่าในชีวิตนี้มีเรื่องราวอีกมากมายที่เราต้องค้นหา ในเรื่องนี้หนูไม่ขอแสดงความเห็นใดๆ เพราะไม่ทราบว่าจะติตรงไหนดีคะ วัสลาม

ดีมากครับที่เด็กหใหม่มาอ่าน

ก็คงไม่มีใครกล้ายอมรับตัวเองนั้นรู้ไปหมดเว้นแต่คนๆนั้น เข้าใจตนเองผิดหรือบ้าไปแล้ว

ที่สำคัญเมื่อเราไม่รู้ เราก็ต้องศึกษา อย่าคิดว่าแค่นี้ก็เพียงพอแล้ว

จริงๆ คนเราไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ อ่อนหรือแก่ สามารถสอนแก่กันได้ทั้งนั้น ไม่ติก็แสดงความเห็นเพิ่มเติมหรือเล่าประสบการณ์ได้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท