รอยพระพุทธบาท จ.สระบุรี


พระพุทธบาทเขาสัจจพันธคีรี  (สระบุรี )

ลักษณะรอยพระพุทธบาท :  เป็นพระพุทธบาทขวาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระสมณโคดม พระพุทธเจ้าองค์ที่ ในภัทรกัปป์นี้สถานที่ประดิษฐาน   :   อยู่ที่ วัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร  อำเภอ พระพุทธบาท                                        จังหวัด สระบุรี     ประเทศไทย                พุทธตำนาน   พระพุทธบาทเขาสัจจพันธคีรี หรือ พระพุทธบาทสระบุรี  มีปรากฏ ที่ เขาสัจจพันธคีรี   แขวงเมือง สุนาปรันตะปะ หรือ นครขีดขิณ ในอดีต   ตำนานพิศดาร  พระพุทธบาทเขาสัจจพันธคีรี ( สุวรรณคีรี )หรือที่รู้จักทั่วไปคือ พระพุทธบาทสระบุรี เป็นรอยพระบาทขวาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรง โปรดสัตว์ได้ พรรษา ในขณะนั้น มีพ่อค้า พี่น้อง คนพี่มีนามว่า มหาบุณ และ คนน้องมีนามว่า จุลบุณ  เป็นชาวบ้านสุนาปรันตะปะ (ภาษาบาลี)หรือ ขีดขินนคร ในภาษาชาวบ้าน  สองพ่อค้าพี่น้องขนสินค้าบรรทุกเกวียนจำนวน ๕๐๐ เล่ม เดินทางไปขายถึง กรุงสาวัตถี พักกองเกวียนอยู่ใกล้ พระเชตวันมหาวิหารแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พอรุ่งเช้าชาวกรุงสาวัตถีต่างถือเครื่องสักการบูชาไปสู่พระเชตวันเพื่อฟังพระธรรมเทศนา มหาบุณสงสัยเหตุแห่งการกระทำนั้นจึงถาม และชนทั้งหลายในหมู่นั้นจึงกล่าวตอบว่า พระรัตนตรัยอันประกอบด้วย พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ได้บังเกิดขึ้นแล้วในโลก ทำให้มหาบุณเกิดความยินดีเป็นอย่างยิ่ง จึงเข้าฟังเทศนา เมื่อพระพุทธองค์แสดงพระธรรมเทศนาส็จสิ้นแล้ว มหาบุณจึงกราบทูลอาราธนาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระภิกษุสงฆ์ไปฉันภัตตาหารยังที่พักของกองเกวียน เมื่อพระพุทธเจ้าและพระภิกษุสงฆ์ไปรับบิณฑบาต ที่พักกองเกวียนของมหาบุณ และเสด็จกลับสู่พระเชตวันแล้ว มหาบุณได้มอบเกวียนกับสิ่งของทั้งปวงแก่นายบัญชี และให้นำไปมอบแก่จุลบุณ ส่วนตนจะขอบรรพชาในสำนักแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  หลังจากบรรพชาแล้ว พระมหาบุณได้เล่าเรียนพระกรรมฐานและเดินทางไปเจริญสมณธรรมอีกหลายแห่ง แต่ยังไม่บรรลุมรรคผลธรรมวิเศษประการใด  ต่อมาพระมหาบุณได้จำพรรษาอยู่ มกุลการาม เจริญกรรมฐาน จนในที่สุดก็สามารถสำเร็จมรรคผลเป็นพระอรหันต์ ที่นั้น    เช้าวันหนึ่งพระมหาบุณได้เข้าไปบิณฑบาตในหมู่บ้านสุนาปรันตปะจุลบุณจำพระมหาบุณพี่ชายได้  จึงอาราธนาให้ไปฉันภัตตาหารที่เรือนของตน และอาราธนาให้จำพรรษาอยู่  พระวิหารใกล้ นั่นเอง    ขณะนั้นอยู่ในช่วงฤดูฝน ไม่สามารถทำการค้าขายทางบกได้จุลบุณและพ่อค้าทั้ง ๕๐๐ คน จึงคิดแต่งเรือสำเภาเพื่อบรรทุกสินค้าเดินทางไปค้าขายยังต่างเมือง เมื่อถึงวันจะลงสู่สำเภา จุลบุณได้อาราธนาพระมหาบุณให้ลงไปรับภัตตาหารที่ท้ายเรือ ที่นั้น จุลบุณสมาทานศีล และขอให้พระมหาบุณช่วยพิจารณาเหตุแห่งภัยอันเกิดขึ้นอยู่เนืองๆ ในระหว่างการเดินทาง หากมีเหตุภัยอันเกิดขึ้นขอให้พระมหาบุณได้ช่วยเหลือด้วย   เรือสำเภาแล่นไปได้ วันจึงถึงเกาะแห่งหนึ่งประกอบกับเสบียงหมด เหล่าพ่อค้าจึงทอดสมอและขึ้นไปหาฟืนและอาหารบนเกาะ ชาวสำเภาชวนกันถางฟันต้นไม้จะทำฟืน และได้ไม้จันทน์แดงเป็นของมีค่า จึงพากันทิ้งสินค้าที่บรรทุกมากับสำเภาลงทะเลและตัดไม้จันทน์แดงบรรทุกลงแทนสินค้านั้น      เหล่าบรรดายักษ์และปีศาจที่อาศัยอยู่ที่นั้นต่างโกรธแค้นพวกพ่อค้าที่มาตัดต้นไม้บนเกาะตามอำเภอใจ  ครั้นจะทำลายพวกพ่อค้าเหล่านั้นบนเกาะ ก็เกรงว่าจะมีกลิ่นโสโครก จึงปล่อยสำเภาทั้งหมดแล่นออกไปถึงกลางทาง  เหล่าปีศาจทั้งหลายจึงบันดาลให้เกิดลมพายุและคลื่นใหญ่ หมายจะทำลายสำเภาให้จมลง ชาวสำเภาทั้งหลายต่างพากันบวงสรวงเทพาอารักษ์ให้ช่วย มีแต่จุลบุณเท่านั้นที่ระลึกถึงพระมหาบุณพี่ชาย    ขณะนั้นพระมหาบุณทราบเหตุการณ์ทั้งหมดด้วยทิพยจักษุญาณ  จึงเหาะมาและแสดงตนให้จุลบุณเห็นแต่เพียงผู้เดียว จากนั้นพระมหาบุณจึงกำจัดปีศาจให้หนีไป และอธิษฐานให้เรือสำเภาทั้งหมดกลับเมืองด้วยความปลอดภัย  เมื่อกลับถึงบ้าน จุลบุณก็กล่าวกับพ่อค้าสำเภาทั้งหลายว่า ที่พวกเรารอดมาได้ก็เพราะพระมหาบุณไปช่วย บรรดาพ่อค้าเห็นด้วยกับจุลบุณ  จุลบุณจึงบอกพ่อค้าทั้งหลายว่า จะเอาไม้จันทน์แดงถวายแก่พระมหาบุณ เหล่าพ่อค้าก็พร้อมใจกันถวายด้วย แต่พระมหาบุณบอกว่าเราไม่ต้องการไม้จันทน์แดง แต่จะเอาไปอาราธนาพระพุทธเจ้ามาให้สักการบูชา   ชาววาณิชคามได้ฟังก็ยินดี พระมหาบุณจึงให้ชนทั้งหลายช่วยกันแต่งมณฑป ๕๐๐ องค์ด้วยไม้จันทน์แดง แล้วเหาะไปอาราธนาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากับพระภิกษุสงฆ์ ๕๐๐ รูป พระพุทธเจ้ารับอาราธนาแล้ว พิจารณาเห็นอุปนิสัยของสัจจพันธดาบสอันอยู่เหนือเขาสัจจพันธคีรี พระพุทธองค์จึงตรัสสั่งพระอานนท์ให้นิมนต์สงฆ์ ๔๙๙ รูป ครั้นรุ่งเช้าพระตถาคตจะเสด็จไปโปรดพระสัจจพันธดาบสกับชาวบ้านสุนาปรันตปะด้วย    ขณะนั้นร้อนถึงพระอินทร์ ท้าวเธอทราบพุทธประสงค์จึงสั่งพระวิษณุกรรมนิรมิตบุษบกแก้ว ประการ ประมาณ ๕๐๐ บุษบก นำมาประดิษฐานไว้แทบประตูพระเชตวัน  พระพุทธเจ้าและพระสาวกประทับเหนือบุษบกลอยมาทางอากาศ ไปประทับ เขาสัจจพันธคีรี ทรงแสดงพระธรรมเทศนาโปรดสัจจพันธดาบส และบรรพชาตั้งอยู่ในมรรคผล    จากนั้นพระพุทธองค์ก็เสด็จมาบิณฑบาตที่หมู่บ้านสุนาปรันตปะ และพำนักที่มกุลการาม - วัน จึงเสด็จเข้าสู่เขาสัจจพันธคีรี มีพระพุทธฎีกาตรัสแก่พระสัจจพันธเถระให้อยู่โปรดโยมอุปัฎฐากในดินแดนนี้   พระสัจจพันธเถระก็รับพุทธฎีกา แล้วกราบทูลขอพระเจดีย์สถานสำหรับเป็นที่สักการบูชา  องค์สมเด็จพระชินสีห์ทรงพระเมตตาประทานรอยพระพุทธบาทไว้ ที่แผ่นศิลาเหนือยอดเขาสัจจพันธคีรี (สุวรรณคีรี)แล้วเสด็จกลับพระเชตวัน     ตำนานพระพุทธบาท และคัมภีร์พุทธบาทลกขณ  ตั้งแต่พระพุทธเจ้าของเราได้ตรัส  โปรดสัตว์ได้    พระวัสสา  มหาบุญมาอาราธนาไปจากเมืองสาวัตถี  ให้ไปโปรดชาววานิชคามแดนเมืองสุนาปะรันตะให้ตั้งอยู่ในพระไตรสรณคม  แล้วเสด็จกลับมาประดิษฐานพระรอยไว้แทบฝั่งน้ำ  นัมมะทา  พาพระสงฆ์มาถืงเขาสุวรรณ  พระอรหันต์สัจพันธ์กราบทูลขอพระเจดีย์  พระชินสีห์จึงพระราชทานพระรอยไว้ให้เป็นเจดีย์ฐาน  แล้วไปโปรดชาวเมืองโยนก  ออกจากเมืองโยนกมาทรงยั้งนั่งใต้ร่มไม้ประดู่ใหญ่ได้เก้าอ้อมอยู่ชายทะเลทอดพระเนตรเห็นหนองโสน  เห็น    สัตว์  คือนกยางตัวหนึ่ง  จังกวดตัวหนึ่ง  พานรตัวหนึ่งจึงแย้มพระโอฐ  ฝ่ายพระอานนท์ก็กราบทูลถามจะใคร่แจ้งความที่พระองค์เจ้าแย้มพระโอฐ  จึงมีพระพุทธฎีกาตรัสว่า  ดูกรอานนท์ที่อันนี้   แต่ก่อนนี้เป็นเมืองลักษน์ และราม  มีนามว่าเมืองหนองโสน  พระรามสิ้นพระชนม์ไปได้  ๑๐๖ ปี  พระตถาคตจึงได้มาตรัสเทศนาให้อานนท์ฟัง  วันนั้นเป็นวันพฤหัสเดือนยี่ขึ้น  ค่ำ  ปีเถาะ  เวลาบ่ายสองชั้นฉาย  ครั้นจบเทศนาแล้วยังมีพราหมณ์คนหนึ่ง  ชื่อ กุล  พราหมณ์จึงเอาลูกสมอมาถวาย  ทรงนั่งฉันสมอที่ตอตะเคียน  แล้วแย้มพระโอฐ  พระอานนท์  ทูลถาม จึงมีพระพุทธฎีกาพยากรณ์ไว้ให้พระอานนท์ฟังว่าสมอนี้เป็นยา   นานไปข้างหน้าเมืองหนองโสนนี้จะได้ชื่อว่า  กรุงศรีอยุธยา  เมื่อพระตถาคตเข้าสู่พระนิพพานไปแล้วได้  ปี  จะมีพระยาองค์หนึ่งทรงนามชื่อว่า  พระยาอภัยทศราช  เธอจะมาสร้างพระนครขึ้น  เธอจะได้เสวยราชสมบัติอยู่ในเมืองนี้ได้  ๑๒๐ ปี  ครั้นสิ้นบุญพระยาอภัยทศราชแล้วยังมีพระยาองค์หนึ่งทรงนามกรว่า  พระยากาลราช  เธอเสวยราชสมบัติอยู่ในเมืองได้  ๑๐๐ ปี  ครั้นสิ้นอายุพระยากาลราชนั้นแล้วยังมีพระยาองค์หนึ่งทรงพระนามว่าท้าวอู่ทอง  ครั้นสิ้นบุญท้าวอู่ทองนั้นแล้ว  แต่บันดาลหว่านเครือท้าวอู่ทองนั้นแล้วก็สิ้นเชื้อกษัตริย์  ยังมีขุมเมืองคนหนึ่งชื่อ พระยาโคตระบองครองสมบัติมา  ครั้นสิ้นบุญพระยานั้นแล้ว  พระยาแกรกได้ครองสมบัติเป็นลำดับกษตริย์ต่อกันมาจนถึงสมเด็จพระบิดาพระนเรศวร์  กรุงศรีอยุธยาก็จะเสียแก่เจ้าหงสาลิ้นดำ  ครั้งนั้นคนศีรษะใหญ่เท่าบาตร  ครั้นบาตรครั้นกรุงศรีอยุธยาเสียแล้ว  พระเจ้าหงสาวดี จึงกวาดเอาไพร่บ้านพลเมือง กับพระนเรศวร์  และสมเด็จพระเจ้าพี่นางไปบ้านสัจพันธคาม  และ เมืองสุนาปะรันตะปะก็สูญแต่ครั้งนั้น  หามีผู้ใดรักษาพระพุทธบาทไม่  พระพุทธบาทก็ลี้ลับอยู่ช้านาน  กรุงศรีอยุธยานั้นก็ยังว่างเปล่าอยู่  ยังหามีกษัตริย์พระองค์ใด 
คำสำคัญ (Tags): #รอยพระพุทธบาท
หมายเลขบันทึก: 77679เขียนเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2007 21:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 พฤษภาคม 2012 14:13 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ตามนิมิตหมาย เรื่องเล่าในอดีต

แด่พระเทพกษัตย์ตรี  วีรสตรีที่ถูกลืม

พระธิดาแห่งสมเด็จพระศรีสุริโยไท  สมเด็จน้าแห่งสมเด็จพระนเรศวรมหาราช  พระเทพกษัตย์ตรีผู้ปลูกฝังความรักชาติ ผู้อนุบาล ดูแล สมเด็จพระนเรศวรฯ

ผู้เสียสละ อดทน  ด้วยเลือดขัตติยะมานะ  ผู้มองการณ์ไกล  ทรงทำเพื่อให้ชาติไทย  ข้าพระพุทธเจ้า

ขอกราบเบิ้องพระบาท  คาดว่าท่านคงไม่ฆ่าตัวตายต่อหน้าศัตรูหรอก ตามที่สร้างหนังไม่น่าจะถูกต้อง

และในประวัติศาสตร์ก็มิได้บันทึกไว้  แต่เชื่อว่าไม่ทรงกระทำเช่นนั้นเป็นอันขาด

น้องหมอ 

      ลงประวัติของพระโพธิ์สัตว์  10 พระองค์ด้วย

เขียนรายละเอียดรอยพระพุทธบาท รูป ความหมาย

ภายใต้รอยพระพุทธบาท

 

ถ้ามีโอกาสอยากจะไปกราบสักครั้ง

ถือเป็นบุญบารมีที่ยิ่งใหญ่แห่งชีวิตชาวพุทธ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท