Triangulation คืออะไร


วิจัยเชิงคุณภาพ

จากการที่ผู้วิจัยได้ศึกษาวิจัยในเชิงคุณภาพพบว่ามีคำหนึ่งที่ใช้กันบ่อยคือ Triangulation ซึ่งในบริบทของงานวิจัยหมายความว่าการยืนยันความน่าเชื่อถือของข้อค้นพบ  เราลองมารู้จักพอสังเขปดังนี้

Triangulation เป็นศัพท์ที่มาจากวิชาการสำรวจทางภูมิศาสตร์ (Physical Survey) และการนำร่องในการเดินเรือหรือขับเครื่องบิน (Navigation) โดยการหาพิกัดตำแหน่งที่ต้องการโดยการวัดมุมระหว่างตำแหน่งที่อยู่กับจุดอ้างอิงที่ทราบพิกัดอย่างน้อย 2 จุด จุดตัดของมุมทั้ง 2 จะเป็นจุดพิกัดที่ทำให้เราทราบตำแหน่งที่อยู่ หากจุดอ้างอิงทั้ง 2 จุดไม่มีพิกัด ตำแหน่งที่จุดที่ต้องการจะไม่สามารถบอกจุดที่แน่นอนได้บอกได้เพียงความสัมพันธ์ของตำแหน่งที่ต้องการกับจุดอ้างอิงทั้ง 2 เท่านั้น

                ในทางสังคมศาสตร์ Triangulation หมายถึง การเปรียบเทียบข้อค้นพบ (Finding) ของปรากฏการณ์ที่ทำการศึกษา (Phenomenon) จากแหล่งและมุมมองที่แตกต่างกัน นักวิจัยจำนวนมากคาดหมาย (Assume) ว่า Triangulation เป็นแนวทางการยืนยันความน่าเชื่อถือ (Credibility, validity) ของข้อมูลหรือสิ่งที่ค้นพบ

                รูปแบบของ Triangulation มี 7 รูปแบบได้แก่

1. Data Triangulation          หมายถึงการเปรียบเทียบและตรวจสอบความแน่นอนของข้อมูลโดยนำข้อมูลที่ได้จากแหล่งต่างๆ มาเปรียบเทียบ

2. Multiple Investigator Triangulation หมายถึง การใช้นักวิจัยหลายคนในสนามแทนการใช้นักวิจัยเพียงคนเดียวเก็บข้อมูลเก็บข้อมูลเดียวกันในสภาวะเดียวกัน

3. Multiple Analyst Triangulation หมายถึง การใช้ผู้วิเคราะห์ข้อมูลที่เก็บจากสนามมากกว่า 2 คนขึ้นไป ต่างคนต่างวิเคราะห์ให้ได้ข้อค้นพบแล้วนำข้อค้นพบมาเปรียบเทียบ

4. Reviews Triangulation หมายถึง การให้บุคคลต่าง ๆ ที่ไม่ใช่นักวิจัยทำการทบทวนข้อค้นพบจากการวิเคราะห์ของคณะนักวิจัย

5. Methods Triangulation หมายถึงการเปรียบเทียบข้อมูลที่ได้มาจากการเก็บข้อมูลหลายวิธีการ

6. Theory Triangulation หมายถึง การใช้มุมมองของทฤษฎีต่างๆมาพิจารณาข้อมูลชุดเดียวกัน

7. Interdisciplinary Triangulation หมายถึง การใช้สหวิทยาการมาร่วมวาทกรรม อธิบายข้อค้นพบต่างๆ

                 รุ่งกานต์ ปราชญ์ศรีภูมิ สม.4

คำสำคัญ (Tags): #สม.4
หมายเลขบันทึก: 77646เขียนเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2007 16:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 12:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

ขอบคุณสำหรับบทความคะ

ขอบคุณมากค่ะสำหรับข้อมูลที่เป็นประโยชน์

ขอบคุณคุณรุ่งกานต์ครับ สำหรับรูปแบบ Triangulation

ขอบคุณค่ะ กำลังหาความรู้เรื่องนี้อยู่พอดีเลย

ขอบคุณค่ะ กำลังหาความรู้เรื่องนี้อยู่พอดีเลย

ขอบพระคุณมากๆนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท