บันทึกครั้งที่ ๑๖ ขยายความต่อ การนำกฎหมายมาใช้จัดการปัญหาทางเทคโนโลยี (ต่อ)


หลักการคือ เริ่มจากการ identify จับประเด็น scope เรื่อง แล้วไปสู่การ justify เปรียบเทียบเกณฑ์ที่ยอมรับ อย่ามองแค่ด้านที่เป็น bad thing เท่านั้น ควรมอง good thing ของเทคโนโลยีด้วย โดยด้าน good thing รัฐควรสนับสนุนส่งเสริมให้เกิดขึ้น ขณะเดียวกันด้าน bad thing รัฐควรมีการควบคุมป้องกันและแก้ไข หรือลงโทษ ถ้ามีการกระทำผิด

ท่านอาจารย์แหว๋วซึ่งสอนวิชากฎหมายและนโยบายโทรคมนาคม ได้สอนผมให้เข้าใจการนำกฎหมายมาใช้จัดการปัญหาทางเทคโนโลยี

หลักการคือ  เริ่มจากการ identify จับประเด็น scope เรื่อง  แล้วไปสู่การ justify เปรียบเทียบเกณฑ์ที่ยอมรับ  อย่ามองแค่ด้านที่เป็น bad thing เท่านั้น ควรมอง good thing ของเทคโนโลยีด้วย โดยด้าน good thing รัฐควรสนับสนุนส่งเสริมให้เกิดขึ้น ขณะเดียวกันด้าน bad thing รัฐควรมีการควบคุมป้องกันและแก้ไข หรือลงโทษ ถ้ามีการกระทำผิด 

ดังนั้น ในกรณีที่ผมได้กล่าวเรื่องเทคโนโลยี WLAN ในบันทึกครั้งที่ ๑๕   เป็นการมองด้าน bad thing  ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นเท่านั้น รัฐควรมี พรบ. ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ... เพื่อป้องกันและมีวิธีการจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้น

แต่ในขณะเดียวกัน สิ่งสำคัญที่เราควรพิจารณา identify ตัวเทคโนโลยี WLAN นั่นคือ เทคโนโลยีมีข้อดีมากมาย หน่วยงานรัฐควรส่งเสริมสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีอย่างแพร่หลาย เพราะเมื่อพิจารณาศักยภาพจุดดีของเทคโนโลยีแล้ว มีดังนี้

1.ไม่ต้องลงทุนทำโครงสร้างระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือจุดเชื่อมต่อการใช้ระบบอินเทอร์เน็ตผ่านเครือข่าย เพิ่มเติม สามารถรองรับการใช้งานพร้อมกันผ่านจุดสัญญาณเดียวกันได้ถึง 8 เครื่อง* เพียงแต่ความเร็วจะลดลงเพราะแชร์ชองสัญญาณกันใช้  ไม่จำเป็นต้องทำจุดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต้องการใช้งาน ทุกเครื่อง

2.อุปกรณ์มีขนาดเล็ก นำหนักเบา มีราคาถูก  หาซื้อได้ง่าย มีการใช้กันแพร่หลายทั้งในหน่วยงานรัฐและหน่วยงานเอกชน

3.การติดตั้งง่าย และสะดวกในการใช้งาน เพราะเป็นมาตรฐานของการใช้งานระบบ WLAN ซึ่งอุปกรณ์ต่างๆ ในปัจจุบันรองรับและมีระบบจัดการให้ผู้ใช้อัตโนมัติ

4.มีการแบ่งปันร่วมกันในการใช้ระบบเครือข่ายเพื่อเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต เป็นการเพิ่มการเข้าถึงและลดภาระให้กับกลุ่มคนที่ต้องการใช้งานได้

จากด้านดีที่กล่าวไป สามารถนำไปใช้ในโรงเรียนชนบทที่มีข้อจำกัดด้านงบประมาณ ลดเงินที่จะทำระบบเครือข่ายเพิ่มเติม เพิ่มโอกาสให้กับนักเรียนนักศึกษาได้เข้าถึงอินเทอร์เน็ตพร้อมกัน สามารถติดตั้งได้เอง

เมื่อลองมาดูว่าหน่วยงานรัฐหน่วยงานใดควรสนับสนุนส่งเสริมเรื่องนี้ ในความคิดของผม มีหลายแห่ง ทั้งในเชิงนโยบายเช่น การขยายโอกาสทางการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ เป็นต้น

สำหรับในที่นี้ขอกล่าวถึง สำนักงานกองทุนสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เนื่องจากเกิดขึ้นจากมีการตรากฎหมาย พ.ร.บ. กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เมื่อปี 2544

ข้อมูลจากสำนักงานปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติ (สปรส.) ได้ให้ข้อมูลไว้ว่า

สำนักงานกองทุนสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) มีหน้าที่หลัก คือ การสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ซึ่งการสร้างเสริมสุขภาพ ตามนิยามในมาตรา 3 ของ พ.ร.บ.กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ คือ “การใดๆ ที่มุ่งกระทำเพื่อสร้างเสริมให้บุคคลมีสุขภาวะทางกาย จิต และสังคม โดยสนับสนุนพฤติกรรมของบุคคล สภาพสังคม และสิ่งแวดล้อมที่จะนำไปสู่การมีร่างกายที่แข็งแรง สภาพจิตที่สมบูรณ์ อายุยืนยาว และคุณภาพชีวิตที่ดี”

เพื่อให้สอดคล้องกับภารกิจนี้ กองทุนได้จัดตั้งขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ตามกฎหมายสรุปได้ดังนี้
1. ส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพทั้งกาย จิตใจ สังคม แก่ประชาชนทุกวัยตามนโยบายสุขภาพแห่งชาติ
2. สร้างความตระหนักแก่ทั้งสังคมในพฤติกรรมเสี่ยงจากสิ่งทำลายสุขภาพ
3. สนับสนุนการรณรงค์ลดการบริโภค เหล้า บุหรี่ และปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่ทำลายสุขภาพ
4. สนับสนุนการวิจัยและสร้างความรู้เพื่อสร้างเสริมสุขภาพ
5. พัฒนาความสามารถของชุมชนและองค์กรต่างๆ ในการสร้างเสริมสุขภาพ
6. สนับสนุนการรณรงค์การสร้างเสริมสุขภาพผ่านกิจกรรมต่าง ๆ

โดยในปี 2543 มีการจัดทำ พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ** ให้เป็นกฎหมายแม่บทด้านสุขภาพของคนไทย  โดยวางไว้ที่เรื่องของ "สุขภาพดี" (wellness) แทนที่จะวางไว้ที่ "สุขภาพเสีย" (illness) อันเป็นที่มาของสโลแกนที่ว่า "สร้างนำซ่อม" ซึ่งก็ตรงกับยุทธศาสตร์การสร้างเสริมสุขภาพ  โดยในกระบวนการจัดทำกฎหมายฉบับนี้ ได้กลายเป็นเครื่องมือชักชวน สนับสนุน ทำให้สังคมมีการเคลื่อนไหว เพื่อการปฏิรูป ปรับเปลี่ยนแนวคิดเรื่อง สุขภาพ มาเน้นที่ การร่วมกันสร้างเสริมสุขภาพ ควบคู่ไปกับการพัฒนาระบบซ่อมสุขภาพ ให้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม   และในตัวร่าง พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ ก็ได้วางทิศทาง และแนวทางของระบบสุขภาพ ในแนว "สร้างนำซ่อม" เป็นหลัก อย่างในมาตรา 7 ก็เขียนไว้ว่า

"ระบบสุขภาพต้องมุ่งเน้น เพื่อ สร้างเสริมสุขภาพของคนทั้งมวล และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย ในการสร้างเสริมสุขภาพ ... เพื่อประโยชน์ของคนและสังคม)"

ในมาตรา 3 ได้เขียนความหมายของ "การสร้างเสริมสุขภาพ" ไว้ว่า หมายถึง การใดๆ ที่มุ่งกระทำโดยส่งเสริม สนับสนุนพฤติกรรมบุคคล สภาพสังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อเสริมสร้างให้บุคล ครอบครัว และชุมชน มีสุขภาวะ และมีคุณภาพชีวิตที่ดี

ในแนวนโยบาย และยุทธศาสตร์ด้านสุขภาพ หมวดที่ 6 ส่วนที่ 2 ว่าด้วย การสร้างเสริมสุขภาพ ก็เขียนไว้อย่างกว้าง และครอบคลุมยุทธศาสตร์ การสร้างเสริมสุขภาพ อย่างมาตรา 66 เขียนว่า "การสร้างสุขภาพให้เป็นไปเพื่อ ให้เกิดสุขภาวะทั่วทั้งสังคม ลดการเจ็บป่วย การพิการ และการตายที่ไม่สมควร ..."

และให้มาตรา 67 ที่เขียนถึงแนวทาง และมาตรการสร้างเสริมสุขภาพ ก็เขียนครอบคลุม องค์ประกอบของการสร้างเสริมสุขภาพไว้อย่างกว้าง ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง การสร้างนโยบายสาธารณะ การสร้างสิ่งแวดล้อม และสภาพแวดล้อม ที่เอื้อต่อการสร้างเสริมสุขภาพ การส่งเสริมสนับสนุนกระบวนการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ของประชาชน และของชุมชน การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ และการดูแลสุขภาพกันเอง ฯลฯ

หากวิเคราะห์เทคโนโลยีกับภารกิจหน้าที่ของ สสส.และพรบ. สุขภาพแห่งชาติ แล้ว สสส. สามารถส่งเสริมการใช้เทคโนโลยี WLAN ด้วยการสนับสนุนงบประมาณหรือ จัดทำโครงการสนับสนุนอุปกรณ์ ให้กับชุมชนต่างๆ ที่มีความพร้อมในการใช้งานเทคโนโลยีระดับหนึ่ง พร้อมสร้างความเข้าใจการใช้งานของเทคโนโลยี ถึงประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นในแง่สุขภาพ หรืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

 หมายเหตุ  *ท่านอาจารย์สรรพชัยซึ่งสอนเกี่ยวกับเทคโนโลยีได้เล่าให้ฟังว่า เคยทดลองหาจำนวนของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถใช้งานผ่าน access point เดียวกัน

                  ** ปัจจุบันพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ..... ผ่านสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) แล้ว เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2550

หมายเลขบันทึก: 77300เขียนเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2007 00:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 เมษายน 2012 13:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

กฎหมายที่ใช้ในการสนับสนุนส่งเสริม Good things มีมากกว่า 1 ฉบับ ลองคิดจากหน่วยงานที่คุณทำงานก่อนก็ได้คะ

พรบ.การศึกษาแห่งชาติ ระบุให้รัฐต้องสนับสนุนส่งเสริมให้มีการศึกษาอย่างเท่าเทียมและทั่วถึงกัน ซึ่งตอนนี้ทำไปได้แค่ไหน

หรือ แผนการศึกษาแห่งชาติ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท