เขื่อนเจ้าพระยา 50 ปี


50 ปีเขื่อนเจ้าพระยา

เขื่อนเจ้าพระยา 50 ปี

  เขื่อนเจ้าพระยาเป็นเขื่อนทดน้ำที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศ ลักษณะเป็นเขื่อนคอนกรีตเสริมเหล็ก สร้างขวางทางน้ำ โดยแบ่งเป็นช่องๆ สำหรับให้น้ำไหลผ่าน ขนาดกว้าง 12.50 เมตร จำนวน 16 ช่อง ติดตั้งบานประตูเหล็กรูปโค้ง สูง 7.50 เมตร ระบายน้ำผ่านเขื่อนสูงสุดประมาณ 3,300 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที บนสันเขื่อนมีสะพานกว้าง 7 เมตร รับรถน้ำหนักบรรทุกไม่เกิน 20 ตันวิ่งผ่านได้
*
เป็นเขื่อนที่มีประตูน้ำสำหรับเรือสัญจรกว้าง 14 เมตร ยาว 170.50 เมตร และทางระบายน้ำฉุกเฉิน เมื่อเกิดอุทกภัย*
เขื่อนเจ้าพระยาส่งน้ำไปในพื้นที่เพาะปลูกภาคกลางเข้าคลองส่งน้ำสายใหญ่รวม 5 สาย คือ
แม่น้ำน้อย แม่น้ำสุพรรณ (ท่าจีน) คลองมะขามเฒ่า-อู่ทอง คลองชัยนาท-ป่าสัก และคลองชัยนาท-อยุธยา ช่วยพื้นที่เพาะปลูกทำนาปีได้ประมาณ 7,500,500 ไร่ในพื้นที่ตั้งแต่จังหวัดชัยนาท นครสวรรค์ อุทัยธานี สุพรรณบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง นครปฐม พระนครศรีอยุธยา ฯลฯ ให้มีน้ำอย่างสมบูรณ์ ข้อมูลทั้งหมดนี้ นิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน ฉบับปักษ์แรก 1 กุมภาพันธ์ 2550 เป็นผู้นำมาเสนอ รวมทั้งเรื่องของเขื่อนเจ้าพระยาอีกหลากหลาย ตั้งแต่เรื่องกว่าจะมาเป็นเขื่อนเจ้าพระยา ศักยภาพของเขื่อนเจ้าพระยา ประโยชน์จากเขื่อนเจ้าพระยา การท่องเที่ยว ตลาดในเขื่อนเจ้าพระยา ปลา : ผลผลิตหลักจากลำน้ำเจ้าพระยา การอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำ กลุ่มผู้ใช้น้ำ การมีส่วนร่วมในทรัพยากร ล้วนแล้วแต่น่ารู้น่าศึกษาทั้งสิ้น
หมายเลขบันทึก: 76894เขียนเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2007 12:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มิถุนายน 2012 10:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท