ประวัติพระองค์ท่านท้าวจตุคามรามเทพ ตอนที่ 5


จตุคามรามเทพ
นอกจากนี้มีผู้คนจำนวนไม่น้อยที่มีความเชื่อว่า        ก่อนจะมาเป็นเทวดารักษาพระบรมธาตุนั้น องค์พ่อจตุคามรามเทพเป็นพระมหากษัตริย์ในสมัยศรีวิชัย ซึ่งมีชื่อเป็นทางการว่า พระเจ้าจันทราภาณุ   และในอีกชาติภพหนึ่งองค์พ่อฯ เป็นกษัตริย์ที่มีนามว่า พญาศรีธรรมโศกราช  การที่พระองค์ท่านท้าวจตุคามรามเทพ ถูกขนานนามว่า ราชันดำแห่งทะเลใต้ เพราะอาณาจักรศรีวิชัยอยู่ติดทะเลชวา และพระวรกายของพระองค์มีสีเข้ม          นอกจากจะเป็นกษัตริย์แล้ว ในอีกชาติภพหนึ่งพระองค์ท่านท้าวจตุคามรามเทพ ยังเป็นนักรบที่แกร่งกล้าสามารถ รบไม่เคยแพ้ผู้ใด นามว่า พังพกาฬ (พัง-พะ-กาน)        มีความเชื่อว่าพระองค์ท่านท้าวจตุคามรามเทพ ทรงบำเพ็ญตน สร้างบารมี เป็นพระโพธิสัตว์ เพื่อบรรเทาทุกข์แก่มวลมนุษย์        ส่วนคำว่าสุริยัน จันทรา นั้นเป็นตัวแทนของพระองค์ท่านท้าวจตุคามรามเทพ ส่วนดวงตราพญาราหู ดวงตราสองแผ่นดินศรีวิชัย สุวรรณภูมิ และ 12 นักษัตร เป็นรูปแบบของดวงตราอันศักดิ์สิทธิ์ที่เป็นเอกลักษณ์ของจตุคามศาสตร์ ซึ่งทรงฤทธิ์ธานุภาพในทุก ๆ ด้าน                ก็เป็นเรื่องราวที่ถูกเล่าขานกันมามีผู้นำมาปะติดปะต่อกันไปต่าง ๆ นานา ข้าพเจ้ายิ่งค้นคว้าก็ยิ่งได้ทราบในหลาย ๆ ความเชื่อเกี่ยวกับ พระองค์ท่านท้าวจตุคามรามเทพ มากขึ้นแต่เมื่อไปดูคำทีมีอยู่ใน บทสรรเสริญ บูชาเทวสถาน ฉบับ วัดคอหงษ์ หาดใหญ่ ซึ่งมีอยู่ดังนี้                องค์พ่อจตุคาม เหนือฟ้าบาดาล       เหนือกรุงสองทะเล พ่อองค์สถิตหล้า เจ้ากรุงธรรมโศก รามเทพเกรียงไกร               อยู่คู่ฟ้าไทย อมตะนิรันต์กาล จตุนาคา รามเทพเทพไทย                  บารมีปกเกล้า เหนือฟ้า เหนือดิน สาธุรามา                จากบทสรรเสริญบูชาเทวสถาน พระองค์ท่านท้าวจตุคามรามเทพ ฉบับวัดคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ก็พบว่าในบทสรรเสริญก็มี แต่เพียงองค์พ่อจตุคามในตอนแรก ว่าทรงเป็นเจ้าแห่งกรุงธรรมโศก ก็น่าจะเป็นเมืองศรีธรรมโศกราช แต่คำว่ารามเทพ ที่อยู่ในบทต่อท้ายหลังนั้นก็น่าจะเป็นชื่อของท่านพระองค์ท่านท้าวจตุคาม  ที่บอกว่าพระองค์ท่านเป็นเทพที่มีศิริโสมงดงาม น่าจะเป็นอีกชื่อหนึ่งที่ใช้เรียกแทน พระองค์ท่านท้าวจตุคาม ว่าเป็นองค์รามเทพอะไรทำนองนั้นมากกว่าแต่ก็เป็นที่ถกเถียงกันมากว่า พระองค์ท่านท้าวจตุคามรามเทพ จะเป็นพระองค์เดียวหรือสองพระองค์ อีกสองพระองค์ที่ถูกกงล่าวถึงอย่างมากมายในการศึกษาประวัติของ พระองค์ท่านท้าวจตุคามรามเทพ ก็คือ พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช  และ พระเจ้าจันทรภาณุ ว่าเป็นพระองค์เดียวกันหรือไม่ หรือเป็นราชศักดิ์หรือไม่อย่างไร เพราะจากเนื้อหาทางความเชื่อของผู้คนและประวัติศาสตร์ก็กล่าวกันไปคนละทิศคนละทางพอสมควร แต่มีประวัติศาสตร์ที่จารึกเอาไว้เกี่ยวกับ พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช  และพระเจ้าจันทรภาณุ ซึ่งเป็นตำนานที่เกี่ยวกับประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุไว้ ดังนี้                ตำนานเมืองนครศรีธรรมราชกล่าวถึงประเพณีนี้ไว้ว่า  เมื่อ พ.ศ. ๑๗๗๓  ซึ่งเป็นสมัยที่พระเจ้าสามพี่น้อง  คือ พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช  พระเจ้าจันทรภาณุ  และพระเจ้าพงษาสุระ  กำลังดำเนินการสมโภชพระธาตุเจดีย์อยู่นั้น  คลื่นได้ซัดผ้าแถบใหญ่ยาวผืนหนึ่ง  ซึ่งมีลายเขียนเรื่องพุทธประวัติ  (เรียกว่า ผ้าพระบฏ)  ขึ้นที่ชาดหาดปากพนัง  ก่อนที่จะถึงวันสมโภชพระบรมธาตุไม่นาน  ชาวปากพนังเก็บผ้านั้นไปถวายพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช  พระเจ้าศรีธรรมาโศกราชรับสั่งให้ซักผ้าพระบฏจะสะอาด  แต่ลายเขียนพระพุทธประวัติก็ไม่ลบเลือน  ยังคงสมบูรณ์ดีทุกประการ  จึงรับสั่งให้ประกาศหาเจ้าของ  ได้ความว่าชาวพุทธกลุ่มหนึ่งจำนวน  ๑๐๐  คนจากเมืองหงสาวดี  มีผขาวอริยพงษ์เป็นหัวหน้าจะเดินทางไปลังกาเพื่อนำผ้าพระบฏนี้ไปบูชาพระพุทธบาทในลังกา  แต่เรือโดนพายุที่ชายฝั่งเมืองนคร  มีคนรอดชีวิต  ๑๐  คน  รวมทั้งหัวหน้า  พระเจ้าศรีธรรมาโศกราชทรงพิจารณาเห็นว่าผ้าพระบฏนี้ควรจะนำขึ้นไปห่มพระบรมธาตุเจดีย์เนื่องในโอกาสมโภชพระบรมธาตุเจดีย์แทน  เจ้าของผ้าพระบฏซึ่งรอดชีวิตก็ยินดีและอนุโมทนา  แต่นั้นมาการแห่ผ้าขึ้นธาตุจึงเป็นประเพณีประจำเมืองนครศรีธรรมราชสืบมาจนทุกวันนี้                ซึ่งถ้าดูจากประวัติศาสตร์ที่ถูกจารึกไว้นี้ พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช  และพระเจ้าจันทรภาณุ ก็เป็นคนละคนกัน และถูกเรียกรวมกันว่าพระเจ้าสามพี่น้องด้วย ความเข้าใจเรื่องของ พระองค์ท่านท้าวจตุคามรามเทพ มีอะไรที่น่าติดตามศึกษาอีกมากมายทีเดียว ความเกี่ยวข้องกันของ พระเจ้าจันทรภาณุ พระเจ้าศรีธรรมโศกราช และพระองค์ท่านท้าวจตุคามรามเทพ เป็นเรื่องที่ชวนติดตามเป็นอย่างยิ่ง เมื่อศึกษามาถึงเรื่องราวที่ข้าพเจ้าได้ทราบถึงประวัติของการแห่ผ้าขึ้นธาตุ ข้าพเจ้าก็ต้องขนลุกซู่ เพราะภรรยาของข้าพเจ้าบอกกับข้าพเจ้าหลายครั้งว่า ให้พาภรรยาของข้าพเจ้าซึ่งพูดเป็นภาษาที่ข้าพเจ้าฟังไม่รู้เรื่องแต่ภรรยาของข้าพเจ้าก็พูดออกมาเป็นภาษาไทยว่าให้พาไปที่วัดพระธาตุในวันหนึ่งให้ได้ แล้วข้าพเจ้าก็จะทราบถึงเรื่องราวของ พระองค์ท่านท้าวจตุคามรามเทพ แต่ข้าพเจ้าก็ไม่กล้าพาภรรยาของข้าพเจ้าไปทีวัดพระมหาธาตุ เนื่องจากข้าพเจ้ากลัวอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับ ภรรยาของข้าพเจ้า และข้าพเจ้าก็เพิ่งมาทราบภายหลังว่าวันดังกล่าวที่ภรรยาของข้าพเจ้าพยายามบอกกับข้าพเจ้าให้พาไปที่วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ตรงกับวันที่มีการแห่ผ้าขึ้นธาตุพอดี ข้าพเจ้าจึงมีความเชื่ออย่างสนิทใจว่า พระองค์ท่านท้าวจตุคามรามเทพ จะต้องมีความเกี่ยวเนื่องกับวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราชอย่างแน่นอน และเกี่ยวข้องกับประเพณีของการแห่ผ้าขึ้นธาตุด้วย แต่ก็เป็นความเชื่อของข้าพเจ้าที่มีเหตุผลทั้งจากประวัติศาสตร์และจากการสื่อของภรรยาข้าพเจ้ากับ พระองค์ท่านท้าวจตุคามรามเทพ ซึ่งบรรยายมาเป็นตัวอักษรที่ค่อนข้างลำบากมากทีเดียว  สำหรับข้าพเจ้านั้นทุกครั้งที่ข้าพเจ้าอ่านออกเสียงเรื่องราวประวัติพระองค์ท่านท้าวจตุคามรามเทพ ที่ท่านอาจารย์จักรัช ธีระกุล เขียนเอาไว้ ข้าพเจ้ารู้สึกขนลุกและมีความรู้สึกประหลาดอย่างมาก จนไม่สามารถอ่านออกเสียงให้จนจบได้เลย ทั้ง ๆ ที่เป็นเพียงเรื่องราวสั้น ๆ ส่วนเรื่องที่เป็นความเชื่ออื่น ๆ ข้าพเจ้าสามารถอ่านได้โดยไม่มีความรู้สึกประหลาดใด ๆ เกิดขึ้น ยิ่งทำให้ข้าพเจ้ามีความเชื่อมากขึ้นว่า พระองค์ท่านท้าวจตุคามรามเทพ มีจริง และเป็นเพียงพระองค์เดียวโดยพระองค์ท่านท้าวจตุคามรามเทพ เคยเป็นเจ้าชายรามเทพมากขึ้นทุกที และยิ่งมากขึ้นเรื่อย ๆ  หลักฐานทางประวัติศาสตร์อื่น  ๆ ที่เกี่ยวข้องกับพระองค์ท่านท้าวจตุคามรามเทพ คงต้องทำการค้นคว้ากันต่อไป
คำสำคัญ (Tags): #จตุคามรามเทพ
หมายเลขบันทึก: 76489เขียนเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2007 23:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท