ประวัติพระองค์ท่านท้าวจตุคามรามเทพ ตอนที่ 3


จตุคามรามเทพ
จากการศึกษาของอาจารย์จักรัช ธีระกุล ก็จะเห็นว่าท่านกล่าวถึงองค์จตุคามรามเทพ เป็นเพียงพระองค์เดียว ที่มีที่มาเป็นเรื่องเป็นราวทีเดียวว่าองค์ท้าวจตุคามรามเทพก็คือชื่อในสมัยต่อมาของ เจ้าชายรามเทพ ผู้ที่มีวิชาอาคมแก่กล้า และบรรลุวิชา จตุคามศาสตร์ ซึ่งน่าจะเป็นศาสตร์ดั้งเดิมของคนที่อาศัยอยู่ในทางดินแดนปักษ์ใต้ของไทยเมื่อครั้งสมัยโบราณนั่นเอง เนื่องจากพระมารดาของเจ้าชายรามเทพนั้นเดิมก็เป็นสามัญชนที่ถูกยกย่องว่ามีวิชาที่เก่งกล้า ได้รับการขนานนามว่า นางพญา และพระนางก็ได้รับแต่งตั้งเป็นพระราชินีของกษัตริย์ราตะแห่งอาณาจักรทะเลใต้ คำที่ได้จากเรื่องที่อาจารย์จักรัช ได้บอกเอาไว้นั้นมีคำที่เกี่ยวข้องกับประวัติของพระองค์ท่านท้าวจตุคามรามเทพหลายคำเหมือนกันเช่น จันทรภาณุ ซึ่งคำนี้ท่านอาจารย์ได้กล่าวว่าเป็นศาสตร์อย่างหนึ่งที่ท่านท้าวจตุคามรามเทพทรงเชี่ยวชาญ ซึ่งสามารถสาปแช่งศัตรูผู้ใดจะถึงกาลวินาศได้ จนเป็นที่มาของอีกคำหนึ่งจากเหตุดังกล่าวนี้ที่มีคนขนานนาม พระองค์ท่านท้าวจตุคามรามเทพว่า พญาพังพกาฬ   และชื่ออีกชื่อหนึ่งของพระองค์ท่านก็คือ องค์ราชันต์จตุคามรามเทพเรื่องที่ท่านอาจารย์ได้เขียนเอาไว้ก็เป็นที่กังขากับข้าพเจ้ามาก เพราะว่าจากกรณีที่ภรรยาข้าพเจ้ากล่าวไว้ก็บอกว่าพระองค์ท่านมีสองพระองค์ และที่ทางขึ้นพระบราธาตุนครศรีธรรมราชก็มีสองพระองค์จริง ๆ และมีลักษณะคล้ายกันมาก แต่ถ้าดูตามลักษณะของการนำมาประดิษฐานเอาไว้ตรงทางขึ้นบันใด ก็เป็นไปได้เหมือนกันว่าถ้ามีเพียงพระองค์เดียวก็สามารถทำเป็นสองพระองค์ได้เพื่อนำมาวางไว้ตรงทางขึ้นบันใด เพราะปกติการนำยักษ์หรือทำเป็นรูปปั้นอื่น  ๆ บริเวณบันใดทางขึ้นที่ต่าง  ๆ ก็มักจะทำเป็นสองรูปสององค์หรือสองตนเหมือนกัน แต่ก็แปลกตรงที่ลักษณะก็ต่างกันด้วย และที่เขียนไว้ก็เขียนไว้ว่า เท้าขัตตุคาม และอีกพระองค์หนึ่งก็เป็นเท้ารามเทพลักษณะของ เท้าขัตตุคามนั้นจะมีลักษณะนั่งแบบตั้งอกตั้งใจ ขึงขังเอาจริงเอาจังกับภารกิจของพระองค์ท่าน จะนั่งยกเข่าขึ้นแต่ขึ้นไม่เต็มที่เหมือนท่าเตรียมพร้อม และขาอีกข้างหนึ่งก็พับไปด้านหลังแบบตรง ๆ เหมือนพร้อมที่จะลุกหรือพร้อมที่จะทำงานได้ตลอดเวลา ส่วนเท้ารามเทพ พระองค์ทรงประทับนั่งอย่างสบายสบายมากกว่า ชันเข่าด้านหนึ่งขึ้นเต็มที่ ขาที่พับอีกด้านหนึ่งก็พับไปทางด้านข้างอย่างเต็มที่มากกว่าท่านเท้าขัตตุคาม เมื่อพิจารณาดูจากกริยาท่าทางของรูปปั้นของทั้งสองพระองค์ก็มีความแตกต่างกันพอสมควร ก็มีความเป็นไปได้ว่ารูปปั้นทั้งสองนั้นเป็นคนละพระองค์กัน คำที่อาจจะเปลี่ยนมาจากขัตตุคามเป็น จตุคาม คงอธิบายได้อย่างไม่ยากนักเพราะการออกเสียงว่าขัตตุคาม และจตุคาม นั้นคำหลังสามารถที่จะออกเสียงได้ง่ายกว่ากันเยอะ เมื่อกาลเวลาเปลี่ยนไปคำที่ใช้เรียกก็อาจเปลี่ยนแปลงไปได้ไม่น่าจะมีปัญหาใดระหว่างคำว่า ขัตตุคามและคำว่าจตุคาม มีคนกล่าวถึงคำและที่มาของพระองค์ท่านท้าวจตุคามรามเทพ ไว้น่าสนใจดังนี้                คำว่า ขัตตุคาม ตรงนี้มีผู้รู้ท่านบอกว่า ขัตตุ น่าจะมาจาก ขัตติยะ ( กษัตริย์ ) ซึ่งก็เป็นไปได้ การออกชื่อของคน ว่า ขัด-ตุ-คาม ออกจะไม่ไพเราะ โดนเฉพาะ คนท้องถิ่น ก็เลยหาทางออกเสียงที่ไพเราะมากขึ้น เป็น จะ-ตุ-คาม แต่ก็มีบางความเชื่อที่เขียนเป็น จัตตุคาม เลยก็มี และการออกเสียง จัด-ตุ- คาม ก็ไม่ไพเราะเท่า จะ-ตุ-คาม เพราะ จตุคาม ดูจะออกเสียงได้เข็มแข็งมากกว่าสมกับที่พระองค์ท่านทรงเป็นกษัตริย์ ส่วนที่เรียกกันว่า พระโพธิสัตย์ทะเลใต้ หรือองค์ราชันย์ดำแห่งทะเลใต้ ก็เพราะ ยึดที่ว่า ท่านทรงเป็นกษัตริย์แห่งอาณาจักรศรีวิชัย ที่ติดฝั่งทะเลใต้ จึงนำมาเรียกชื่อท่าน บวกกับความเชื่อที่ท่านดำรงสถานะเป็น พระโพธิสัตย์ ( หลังความตาย ) หรือ องค์กษัตริย์ ( ก่อนความตาย ) และคาดว่าท่านเป็นผู้ที่ถือกำเนิดขึ้นในแถบทะเลใต้  จึงน่าจะมี ผิวกายสีเข้ม ก็เลยน่าจะเป็นที่มาของคำว่า ดำ
มีความเชื่อหนึ่งว่า ท่านคือ พระเจ้าจันทรภาณุ เป็นราชาที่ยิ่งใหญ่ของอาณาจักรศรัวิชัยที่สามารถไปตีเอาอาณาจักรต่าง ๆ รอบ ๆ ทะเลใต้ได้ แต่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์สองแหล่ง แหล่งแรก ท่านแรก ( พระเจ้าจันทรภาณุ ) สามาถตีไปที่อินเดียได้ ซึ่งยิ่งใหญ่จริง และไม่กลับมา ไปเป็นมหาราชที่อินเดียเลย ดังนั้นคงยากที่จะเป็นพระองค์นี้ และอีกพระองค์ ยกทัพเรือไปตีศรีลังกาสองครั้ง ครั้งสุดท้ายแพ้และตายที่ศรีลังกา ก็ไม่ยิ่งใหญ่จริง ดังนั้นคงไม่ใช่พระองค์นี้ เลยไม่รู้ว่าพระองค์ไหนในประวัติศาสตร์ แต่ตรงนี้ทำให้สรุปได้ว่า พระเจ้าจันทรภาณุ น่าจะเป็นพระนามที่ใช้เรียก ตำแหน่งกษัตริย์ (บางท่านบอกว่าเป็นตำแหน่งอุปราช ) ดังนั้นจึงมีหลายพระองค์ แต่ไม่รู้ว่าพระองค์ไหนเป็นพระองค์ท่านท้าวจตุคามรามเทพ ( หากจะเชื่อว่า พระองค์ท่านท้าวจตุคามรามเทพ คือพระเจ้าจันทรภาณุ )สายหนึ่งที่เชื่อว่า หลักฐานประวัติศาสตร์ของพระเจ้าจันทรภาณุองค์แรกที่ไปครองอินเดีย ก็บอกว่า ท่านมีลูกสองคน คือ ท้าวจตุคาม ท้าวรามเทพ เมื่อพระเจ้าจันทรภาณุไม่กลับบ้าน ลูกทั้งสองก็ช่วยกันครองเมืองต่อ เมื่อตายไป ชาวเมืองก็ยกให้เป็นเทวดารักษาเมือง ซึ่งสรุปได้ 3 ข้อคือ
๑ พระเจ้าจันทรภาณุ ไม่ใช่ ท้าวจตุคาม ท้าวรามเทพ เป็นพระราชบิดาและบุตร
๒ ท้าวทั้งสอง ( บุตร ) เป็นเทวดารักษาเมือง
ไม่พูดถึงพระโพธิสัตย์เลยอีกหลายสาย ที่ยกสถานะ พระเจ้าจันทรภาณุ ( ซึ่งไม่ทราบว่า พระองค์ไหน ) เป็น พระองค์ท่านท้าวจตุคามรามเทพ แต่ส่วนมากไม่สามารถอธิบายได้ชัดเจนว่า มีความเกี่ยวข้องกันอย่างไรกับ พระองค์ท่านท้าวจตุคามรามเทพ  ก็เลยมีความเชื่อว่าบางครั้ง ให้ท่านดำรงสถานะเป็นพระโพธิสัตย์ ( พระเจ้าจันทรภาณุ ) บางครั้งเป็นเทวดารักษาเมือง ( ท้าวจตุคาม ท้าวรามเทพ ) คือ พระองค์ท่านท้าวจตุคามรามเทพ เป็นทั้ง พระเจ้าจันทรภาณุ ก็ได้ เป็น ท้าวจตุคาม ท้าวรามเทพ ก็ได้ ขึ้นอยู่กับว่า จะเรียกชื่อไหนขึ้นมา และยังโยงมาอีกชื่อหนึ่งคือ พระเจ้าศรีรรมาโศกราช กษัตริย์ผู้ครองเมืองนครศรีธรรมราช ว่า พระองค์ท่านท้าวจตุคามรามเทพ  ดำรงตำแหน่งนี้ด้วย เหมือนที่บอกว่า ตอนเป็นอุปราช มีตำแหน่ง พระเจ้าจันทรภาณุ เมื่อขึ้นเป็นกษัตริย์ มีตำแหน่งเป็น พระเจ้าศรีธรรมโศกราช
สถานะของพระองค์ท่านท้าวจตุคามรามเทพ
แบบที่ ๑ พระองค์ท่านท้าวจตุคามรามเทพ เป็นผู้รักษาพระธาตุ ( หลักเมืองในสมัยโบราณ ) มีหลักฐานคือ รูปปั้น ที่เชิงบันไดพระบรมธาตุ ซึ่งหากเป็นแบบนี้ ท่านจะดำรงสถานะเป็นเทวดารักษาเมือง เหมือนพระสยามเทวาธิราช พระเสื้อเมือง พระทรงเมือง พระหอกลอง เป็นต้น
แบบที่ ๒ พระองค์ท่านท้าวจตุคามรามเทพ ดำรงสถานะเป็นพระโพธิสัตย์ ขณะนี้ ผมยังไม่พบว่ามีหลักฐานแสดงสถานะนี้ หากท่านอื่นมีหลักฐาน ก็นำมาแบ่งปันกันนะครับ แต่เป็นความเชื่อของผู้ที่เคารพสักการะพระองค์ท่านท้าวจตุคามรามเทพ ทุกท่านก็ว่าได้พระองค์ท่านท้าวจตุคามรามเทพ คือ เทวดารักษาพระบรมธาตุ ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช  สถิตอยู่ที่บานประตูทางขึ้นพระบรมธาตุ ในปี พศ 2530 เมื่อมีการตั้งดวงเมืองนครศรีธรรมราชขึ้นใหม่ และสร้างศาลหลักเมืองของจังหวัด จึงมีการทำพิธีอัญเชิญองค์พ่อฯ ไปสถิตที่ศาลหลักเมืองตั้งแต่นั้นมา
คำสำคัญ (Tags): #จตุคามรามเทพ
หมายเลขบันทึก: 76487เขียนเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2007 23:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 21:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท