แนวทางการจัดทำแผนชุมชน


บันได 9 ขั้นของการจัดทำแผนชุมชน

         การจัดทำแผนชุมชนนั้นเป็นวิธีการที่ต้องให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม (Participation) ในการจัดทำให้มากที่สุดโดยใช้วิธีการจัดทำประชาคม หรือ ประชาสังคม

(Civil Society) ซึ่งเป็นเวทีของชุมชน เพื่อชุมชน และเป็นเวทีประชาธิปไตยแบบตรง

(Direct Democracy) ที่ทุกคนมีสิทธิที่จะแสดงความคิดเห็น ข้อเสนอแนะในการพัฒนาชุมชนหรือการแก้ปัญหาของชุมชน โดยเริ่มจากชุมชนจะต้องทบทวนและค้นหาตนเองในด้านศักยภาพของชุมชน ข้อมูลด้านภูมิปัญญา ท้องถิ่น ทรัพยากร สังคม เศรษฐกิจ คุณภาพชีวิต และร่วมกันกำหนดทิศทาง ของการพัฒนาชุมชน ตลอดจนการกำหนดการจัดการชุมชนด้วยตนเอง

บันได 9 ขั้นของการจัดทำแผนชุมชน

ขั้นตอนที่ 1 การสร้างวิทยากรการจัดทำแผนชุมชน โดยการเตรียมทีมวิทยากรที่หลากหลายอาชีพประกอบไปด้วย กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ปราชญ์ชาวบ้าน พระ ครู อบต. ปกครอง ตำรวจ สาธารณสุข เกษตกร พัฒนาชุมชน พัฒนาชุมชน กศน. ประมง และ ปศุสัตว์  ทีมงานวิทยากรนี้จะมีผู้เผยแพร่แนวคิดและวิธิการจัดทำแผนชุมชนในแต่ละหมู่บ้าน

 ขั้นตอนที่ 2 เวทีการสร้างความเข้าใจของทีมวิทยากร เป็นเวทีที่จุดประกายความคิดกระตุ้นให้ เกิดความสนใจที่จะทำแผนชุมชนและสร้างความร่วมมือในการทำงานร่วมกันกับหน่วยงานต่าง ในชุมชน

ขั้นตอนที่ 3 การรวบรวมข้อมูล เป็นการรวบรวมข้อมูลที่มีอยู่แล้ว เช่น ข้อมูลพื้นฐานของหมู่บ้าน ข้อมูลองค์กรต่าง   ข้อมูล จปฐ /กชช.2   และการจัดเวทีประชาคมการสัมภาษณ์ พูดคุยสอบถามข้อมูล เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ชุมชน จัดงาน ประเพณี วัฒนธรรม ตลอดจนภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อหาแนวทางความต้องการพัฒนาหรือการจัดการชุมชน ที่ชุมชนต้องการ

ขั้นตอนที่ 4 การวิเคราะห์และสังเคราะห์ ข้อมูลชุมชน ทีมวิทยากรจะเป็นผู้สรุปข้อมูลที่รวบรวมมาได้ เพื่อเข้าสู่การวิเคราะห์ และสังเคราะห์ข้อมูล โดยให้ชาวบ้านมีส่วนร่วมในการรับรู้ข้อมูล เพื่อสะท้อนข้อมูลที่ค้นพบ เช่น รายรับ รายจ่าย หนี้สิน ศักยภาพของชุมชนปัญหาและสาเหตุของปัญหาในชุมชน ซึ่งชุมชนจะได้ข้อมูลที่ถูกต้อง เป็นจริงที่รวบรวมมาได้อย่างมีระบบโดยชุมชนเอง

ขั้นตอนที่ 5 การยกร่างแผนชุมชน เป็นการปรับฐานความคิด การหาทางแก้ไขปัญหาของชุมชนโดยใช้ทุนทางสังคม เศรษฐกิจ ทรัพยากรท้องถิ่นและภูมปัญญาท้องถิ่นโดยมีรายละเอียดชัดเจน นำไปสู่การปฏิบัติได้จริง เช่น จะทำกิจกรรมอะไร ใครเป็นคนทำ ทำที่ไหน ทำอย่างไร ทรัพยากรมาจากไหน ใครประเมินผล ใครรับผิดชอบ

ขั้นตอนที่ 6 การประชาพิจารณ์ แผนชุมชน เป็นเวทีที่จัดขึ้นเพื่อสะท้อนข้อมูลภาพรวมของหมู่บ้าบและนำเสนอร่างแผนให้ชาวบ้านรับรู้และเปิดโอกาสให้ร่วมกันพิจารณาถึงความเป็นไปได้ของแผน เหมาะสมตรงกับความต้องการของชุมชนหรือไม่ จัดเรียงลำดับก่อนหลังของการแก้ไขปัญหาถูกต้องหรือไม่

ขั้นตอนที่ 7 นำแผนไปสู่การปฏิบัติ เป็นการร่วมมือกันของชุมชน ที่จะปฏิบัติตามแผนงานที่ได้ผ่านกระบวนการคิดร่วมกัน และประชาพิจารณ์มาแล้วว่าเหมาะสมกับชุมชน

ขั้นตอนที่ 8 การติดตามประเมินผลและสรุปบทเรียน เป็นการประเมินว่า นำแผนชุมชนไปสู่การปฏิบัติได้จริงหรือไม่ มีปัญหาอุปสรรค หรือต้องการความช่วยเหลือเรื่องอะไร และเมื่อดำเนินกิจกรรมระยะหนึ่งจะต้องมีการสรุปบทเรียน หรือถอดประสบการณ์  เพื่อค้นหาข้อบกพร่อง ปัญหา อุปสรรค ต่าง ที่เกิดขึ้นและพร้อมจะขยายผลให้ชุมชนอื่นได้เรียนรู้ต่อไป

ขั้นตอนที่ 9 การส่งต่อ การพัฒนา เป็นการทำให้ชุมชนเกิดความยั่งยืน ในการพัฒนา เช่น การจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ชุมชน เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในชุมชน การจัดทำคู่มือ การจัดทำแผนชุมชน เพื่อให้การจัดทำแผนชุมชนมีคุณภาพยิ่งขึ้นไปตามลำดับ (จากรุ่นพ่อสู่รุ่นลูก สู่รุ่นหลานต่อไป) และควรมีการจัดทำเป็นหลักสูตรท้องถิ่น โดยบูรณาการกับวิชาที่สอนในโรงเรียน มีปราชญ์ ชาวบ้านเป็นผู้สอน เน้นภาคปฏิบัติของนักเรียนโดยอาศัยวิถีชีวิตจริง การจัดทำแผนชุมชนก็จะเป็นแผนที่สมบูรณ์ มีการบูรณาการและเป็นองค์รวม

คำสำคัญ (Tags): #สม.4
หมายเลขบันทึก: 76224เขียนเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2007 12:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 15:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท