การประเมินผลโครงการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองโดยใช้การแพทย์ผสมผสานในโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร


นิภาพรรณ พิณสาย
โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร

เพื่อประเมินผลลัพธ์ของการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โดยใช้การแพทย์ผสมผสาน

วิธีการศึกษา
- การศึกษาผลการดำเนินงานตั้งแต่เดือนตุลาคม 2544 – เมษายน 2545 รวบรวมข้อมูลโดยใช้เครื่องมือ 4 ชุด ได้แก่ แบบประเมินความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน (Activity of Daily - ADL) แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ให้บริการและผู้รับบริการ วิเคราะห์ค่าเฉลี่ยคะแนนความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ด้วยสถิติ paired t-test

ผลการศึกษา
- จำนวนผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่เข้ารับการพยาบาลด้วยการแพทย์ทางเลือกรูป แบบผสมผสานในระหว่างเดือน ตุลาคม 2544 – เมษายน 2545 มีจำนวนทั้งสิ้น 29 ราย (เฉลี่ย 34.55 เดือน) ความสามารถของร่างกายในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัตรของผู้ป่วยก่อนเข้ารับ การพยาบาลด้วยการแพทย์รูปแบบผสมผสานอยู่ระหว่าง 0-8 (เฉลี่ย 7.2) หลังเข้ารับการพยาบาล ผู้ป่วยมีการพัฒนาความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ (P , 0.05) ผู้ป่วยและญาติจำนวน 30 ราย มีความพึงพอใจต่อการบริการโดยรวมในระดับพอใจมากที่สุด ร้อยละ 35.3 พอใจมาก ร้อยละ 64.7 ศักยภาพของผู้ช่วยดูแลจากเกณฑ์ที่กำหนดในการพยาบาลผู้ป่วย พบว่า ผู้ช่วยดูแลจำนวน 16 ราย ทั้งหมด ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้

สรุป
- ผลการศึกษาชี้ให้เห็นถึงประสิทธิภาพของการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โดยใช้การแพทย์รูปแบบผสมผสาน เนื่องจาก ADL ของผู้ป่วยหลังเข้ารับการรักษาพยาบาล มีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05)


จาก บทคัดย่อผลงานวิชาการนำเสนอ
ในการประชุมวิชาการกระทรวงสาธารณสุข ประจำปี ๒๕๔๙
วันที่ ๔-๖ กันยายน ๒๕๔๙ ณ โรงแรมปรินซ์ พาเลซ กรุงเทพมหานคร

หมายเลขบันทึก: 76160เขียนเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2007 22:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 10:35 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท