โรงเรียนเทศบาล 4 (เพาะชำ)
โรงเรียนเทศบาล 4 (เพาะชำ) เทศบาลนครนคราชสีมา

เกร็ดข้อคิดสำหรับการจัดการความรู้ หรือ KM


ข้อคิดจาก KM
เกร็ดข้อคิดที่ได้รวบรวมและจากการฝึกอบรมการทำ KM ให้กับบุคลากรในโรงเรียน.. 
·     การทำ KM เน้นการทดลอง และปฏิบัติจริง โดยใจที่พร้อมจะให้ และรับ เป็นปราการด้านสำคัญ เหมือนคนจะหัดขี่จักรยาน เมื่อใจพร้อมที่จะขี่จักรยานก็ลองขี่ได้เลย
·     การทำ KM ไม่จำเป็นต้องยึดติดกับรูปแบบของวิทยากร ขอให้กล้าที่จะคิดในรูปแบบของตนเอง ทั้งนี้เราต้องนำความรู้ไปปรับปรุงใช้กับจริตของหน่วยงานเอง
·     การจัดการก็คือการสร้างโอกาสให้ได้มาเจอกัน การจัดการความรู้คือการการจัดการความสัมพันธ์    แบบ Win – Win คือได้ประโยชน์เพื่อไปสู่ความสำเร็จทุกฝ่าย สร้างความรู้สึกที่ดีต่อกัน เกิดการแบ่งปัน          โดยธรรมชาติ ความรู้สึกดีอย่างต่อเนื่อง ทั้งการให้และรับ (Give and Take)
·     ปัญหาของการแบ่งปัน ทุกคนมองว่าจะเป็นการให้ซึ่งการให้หมายถึงการสูญเสีย ซึ่งไม่ใช่ KM เพราะความรู้ยิ่งได้ให้ยิ่งเพิ่มงอกงาม ซึ่งเป็น GIVE and GROW อย่าห่วงความรู้ไว้กับตัว
·     เป็นไปไม่ได้ที่เราจะเก่งและรู้ทุกเรื่อง หัวหน้าไม่ใช่ว่าจะเก่งกว่า หรือรู้มากกว่าลูกน้อง คนตัวเล็กพูดให้คนตัวใหญ่ฟังได้ ทุกคนมีสิทธ์ที่จะเรียนรู้ร่วมกันทุกคนอย่าทำตนเป็นน้ำชาล้นถ้วย
·       เมื่อเรารู้ว่าตนเองไม่รู้ จงรับรู้ เพื่อเปิดตนเองให้เลียนรู้ และเรียนรู้ ไม่ต้องเชื่อทั้งหมด แต่ต้องประยุกต์ใช้ในสิ่งแวดล้อมของเราเอง
·     เราจะอยู่ขั้นไหนไม่เป็นประเด็น สิ่งสำคัญต้อง เริ่ม เน้นการช่วยเหลือกันและกันไม่ทับถมกัน หาแววให้เจอแล้วสร้างความมั่นใจและจัดการ ถ้าไม่มีใจให้แก่กันในองค์กรคงต้องดูเรื่องความดีความชอบเพื่อให้คนที่มีการแลกเปลี่ยนความรู้กับคนอื่นได้รับผลดีอย่างเป็นรูปธรรม (Share and Shine)
·     ดังนั้น องค์กรที่ทำ KM ต้องระลึกเสมอว่าจะทำอย่างไรเพื่อนำไปสู่ Learn  Care  Share  Shine อย่าไปยึดติดกับโครงสร้างทางการ โยงใยเหมือนใยแมงมุม ผูกพันประดุจสายโซ่
จากที่กล่าวมาทั้งหมด..หวังเป็นยิ่งนะครับคงจะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยสำหรับพวกเราที่มีความหวังอยากให้ทั้งคนทั้งประเทศเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้                                 ท่านว่าจริงหรือไม่
หมายเลขบันทึก: 75982เขียนเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2007 16:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 พฤษภาคม 2012 16:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

เห็นด้วยครับ

แอบหวัง....จะได้ไปเรียนรู้  KM Model เทศบาล4 (เพาะชำ)   ในอนาคตอันไกลนี้

ขอแสดงความยินดีด้วยค่ะ

รู้แล้วว่าโรงเรียนเพาะชำนี้ท้าทายไม่ได้เลย

ช่วยเรียนท่านผู้อำนวยการว่าโรงเรียนของท่านคือ องค์กรเบอร์ 1 ของ 95 องค์กรในโครงการวิจัย

   อยากได้อ่านเรื่องเล่าเด็ดๆจากโรงเรียนสัก 3 เรื่องค่ะ

                                           ทัศนีย์

ขอเรียนคุณ Thawat นะครับว่า..ตอนนี้เราได้ KM Model ในเชิงบริหารแล้ว แต่ยังขออุ๊บไว้ก่อน..แล้วจะมานำเสนอในโอกาสต่อไปนะครับ..และต้องขอขอบพระคณ อ.ทัศนีย์นะครับ ที่ชื่นชมโรงเรียนเราขนาดนี้ ส่วนเรื่องเล่าขอติดไว้ก่อน..วันนี้ดู แก่น และขุม จากการทำ KM ครั้งที่ 1 ก่อนนะครับ..
 ขยายความของ Learn  Care  Share  Shine เพิ่มเติมหน่อยสิคะ   

เพื่อนำไปสู่ Learn  Care  Share  Shine หมายถึง

  • เกิดองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และพัฒนาอยู่เสมอ
  •  ได้เห็นบรรยากาศในการทำงานที่สร้างสรรค์
  • ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในโรงเรียน
  • ได้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ ที่สามารถนำมาพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนได้

ไม่แน่ใจว่าได้คำตอบโดนใจ..หรือ..เปล่า แต่ที่กล่าวมาทั้งหมดคือประโยชน์ที่ได้จากการทำ KM

ขอหน่อยค่ะ   อาจารย์ช่วยเขียนสั้นๆ 4 ย่อหน้าว่า คำทั้งสี่มันผุดออกมาจากขั้นตอนไหนของการทำโครงการวิจัยนี้

   การได้ 4 ตัวนี้ก็เรียกว่าบรรลุสัจธรรมไปได้เยอะแล้วค่ะ   องค์กรอื่นอาจจะแตกต่างไปบางตัวนะคะ

วันนี้วันที่ 1 มีนาคม  2550  บันทึกไว้เป็นหลักฐานเตือนใจตัวเองครับ

          คณะนักวิจัยเคยกล่าวอ้างอิงถึงโรงเรียนเทศบาล4 หลายต่อหลายครั้ง  ผมจึงเข้ามาเยี่ยมชมและเรียนรู้การใช้ km ในกระบวนการบริหารงานของท่าน  เลยถือโอกาสนำเอาบันทึกด้านบนไปเผยแพร่กับคณะครูโรงเรียนบ้านเมืองแปง  แล้วจะแวะมาดูอีกครับ

ขอพระคุณที่ให้ความสนใจนะครับ..แล้วถ้าหากเราได้ค้นพบอะไรที่ดีจากการจัดการความรู้แล้วเราจะนำมาเสนออีกนะครับ...ขอบพระคุณมาก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท