การเตรียมตัวเพื่อทำ OD ขั้นที่ 3


ผมชอบใจโดยส่วนตัวมากที่การกำหนดเลือกสถานที่เป็นภายในจังหวัด เนื่องจากควรสนับสนุนการท่องเที่ยวภายในจังหวัดให้มาก ข้อนี้กำลังตั้งประเด็นอยู่ว่า ปี ๆ หนึ่งเราใช้งบประมาณออกไปต่างจังหวัดเท่าไหร่ ทั้ง ๆ นี้ จังหวัดพัทลุง ไม่ค่อยได้รับการไหลเข้าจากที่อื่นนัก

     ตั้งแต่เริ่มต้นขึ้นที่บันทึก ผู้ก่อการดี "ยุทธศาสตร์พัฒนาสุขภาพอำเภอเขาชัยสน" และมาถึงบันทึก เส้นทางการยกร่างยุทธศาสตร์สุขภาพอำเภอเขาชัยสน ขณะนี้ก็มาถึงขั้นตอนที่ 3 คือการกำหนดยุทธวิธี ตามที่ได้บันทึกไว้ที่ การพัฒนาองค์การ (Organization Development - OD) แล้วเช่นกัน

     ขั้นตอนนี้เดิมนัดกันไว้วันที่ 29 พ.ย.2548 ที่อุทยานนกน้ำทะเลน้อย อ.ควนขนุน แต่สถานที่ไม่ว่างทางผู้จัดคือ พี่ดีฯ และพี่โอ ก็ได้ติดต่อใหม่และลงตัวที่ อุทยานเขาปู่เขาย่า อ.ศรีบรรพต (ไม่ดูสถานที่และวางมัดจำแล้ว) ผมชอบใจโดยส่วนตัวมากที่การกำหนดเลือกสถานที่เป็นภายในจังหวัด เนื่องจากควรสนับสนุนการท่องเที่ยวภายในจังหวัดให้มาก ข้อนี้กำลังตั้งประเด็นอยู่ว่า ปี ๆ หนึ่งเราใช้งบประมาณออกไปต่างจังหวัดเท่าไหร่ ทั้ง ๆ นี้ จังหวัดพัทลุง ไม่ค่อยได้รับการไหลเข้าจากที่อื่นนัก (ไหลเข้าน้อยมากเพราะเป็นแค่จังหวัดทางผ่าน) และเหมาะสมว่าไม่ใกล้ที่ทำงานมากนัก เพราะหากใกล้ก็จะทำให้ทีมฯ ขาดสมาธิในการยกร่างยุทธศาสตร์ฯ ครั้งนี้

     พี่ดีได้มาปรึกษาหารือ 2 ครั้งแล้ว คือวันที่ 16 พ.ย.2548 (เย็น) และวันที่ 18 พ.ย.2548 (เช้า) ว่าจะต้องเตรียมการอะไรบ้าง ที่นอกเหนือจากเชิงธุรการ ซึ่งพี่ดีจัดการไปเรียบร้อยแล้ว ซึ่งก็ได้พูดคุยกันและสรุปได้ดังนี้ครับ

          1. เตรียมตัวด้านผู้เข้าร่วมทำ OD ให้ทำตัวให้ว่างที่สุด และหากต้องอยู่ต่อจนเสร็จ (เย็น ๆ หน่อย) ก็ให้เตรียมด้านครอบครัวไว้ด้วย เดี่ยวเขาจะคอย และขอให้แต่งตัวตามสบาย (ไม่ควรนุ่งกระโปรง หรือกางเกงฟิต ๆ)

          2. เตรียมใจด้านผู้เข้าร่วมทำ OD ให้ทำใจให้ว่าง ทำให้สมองปลอดโปร่ง (ว่าง ๆ) ไม่ต้องเครียดว่าจะเตรียมปัญหา เตรียมความรู้เรื่องยุทธศาสตร์ หรือเตรียมข้อมูลอะไรไปเลย ซึ่งผมจับประเด็นได้จากการพูดคุยกันว่าหลาย ๆ คนคิดจะนำแฟ้มข้อมูล หรือหนังสือการทำยุทธศาสตร์ไปด้วย

          3. เตรียมตัวด้านผู้จัดฯ ในเรื่องเครื่องมือ/อุปกรณ์ เช่นเครื่องฉายแผ่นใส กระดาษปรู๊บ แผ่นใส ปากกา projector จอฉายภาพ Projector (ใช้กระดาษขาว – เทา แทนก็ได้) กระดาษกาว 2 หน้า กระดาษกาวย่น กล้องถ่ายรูป จะบันทึกเสียงไว้ด้วยก็ดี (Digital MP3)

          4. เตรียมใจด้านผู้จัดฯ เพื่อรองรับกับความไม่แน่นอนที่จะเกิดขึ้น จะได้ไม่เครียด ให้เชื่อว่าทุกอย่างแก้ไขได้โดยใช้สติ และการไปคราวนี้ยังต้องกลับมาทำต่อ ไม่ใช่ได้ (ร่าง) มาแล้วใช้ได้เลย ยังมีกระบวนการย่อย ๆ อีกหลายขั้นตอนซึ่งทีมนำฯ ต้องกลับมาทำต่ออีก และในครั้งหลังสุดที่จะพิจารณาความเห็นชอบร่วมกันนั้น จะได้ทำการถอดบทเรียนที่ดำเนินการมาทั้งหมด เรียกว่าทำก่อน เรียนรู้ไปพลาง ๆ จากนั้นค่อยสรุปแล้วบันทึกลงสมอง จะจำได้ดีกว่ามาก เพราะเป็นการเรียนรู้จากการลงมือทำ

          5. เตรียมแผนสำรองหากมีฝนตก โดยขอให้ประสานกับอุทยานฯ เพื่อขอใช้ห้องพักที่เป็นห้องโถงเพื่อดำเนินการในส่วนที่เป็นกิจกรรมกลุ่ม

หมายเลขบันทึก: 7597เขียนเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2005 13:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2015 08:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท