สวยๆงามๆ


" AHA " และ "BHA" สารนี้วิเศษแค่ใหน

สารเคมีกลุ่ม เอเอชเอ และ บีเอชเอ หรือเรียกชื่อเต็มโดยทั่วไปว่า แอลฟ่าไฮดรอกซี่แอซิด ( alpha-hydroxy acid ) ได้รับความนิยมนำมาผสมในเครื่องสำอางบำรุงผิวตั้งแต่ปี พ.ศ 2533เป็นต้นมาจวบจนถึงปัจจุบัน

สารทั้งสองนี้มีผสมอยู่ในเครื่องสำอางสารพัดรูปแบบ เช่น ครีมทาหน้าขาว ครีมลดริ้วรอย ครีมพอกและลอกหน้า รวมทั้งผสมในแชมพูสระผม สบู่อาบน้ำและอื่น ๆ มีทั้งชนิดที่เป็นเคมีสังเคราะห์ และชนิดที่สกัดได้จากผลไม้ เช่น มะขามป้อม แอปเปิ้ล ส้ม สาลี่ ฝรั่ง อ้อย ฯลฯ มีรายงานว่า ในปี พ.ศ.2543 ยอดจำหน่ายของเครื่องสำอางที่ผสมสารดังกล่าว ในประเทศสหรัฐอเมริกานั้น สูงถึง 6 ล้านล้านเหรียญ

กลไกการออกฤทธิ์ ของสารทั้งสองชนิดคล้ายคลึงกันคือ เร่งการหลุดลอกของเซลล์ผิวเก่าที่ตายแล้วหรือเสื่อมสภาพแล้วให้ออกจากผิวหน้า เพื่อให้ผิวหนังสร้างเซลล์ผิวใหม่ ทำให้ผิวหน้าแลดู ขาว เนียน และสดใสขึ้น ผิวหนังใหม่จะหนาขึ้นทำให้ริ้วรอยแลดูจางลง สารทั้งสองชนิสามารถแทรกซึมเข้าสู่ผิวหน้าในชั้นที่ลึกลงไปได้ดี ทำให้มีการนำมาใช้ในเครื่องสำอางแก้สิวเสี้ยน เนื่องจากกลไกการหลุดลอกหัวสิว ทำให้รูขุมขนเปิดกว้าง การชะล้างสิ่งสกปรกทำได้ง่ายขึ้น

ประสิทธิภาพของเครื่องสำอางเหล่านี้จะขึ้นอยู่กับความเข้มข้นและพีเอช หรือความเป็นกรด ด่างของผลิตภัณฑ์ จะได้ผลดีถ้าผลิตภัณฑ์มี พีเอชระหว่าง 3.0-3.5 หากมีความเข้มข้นสูงเกินไป จะทำให้ผู้ใช้เกิดอาการแพ้ ผิวไหม้ อักเสบ แสบคัน และระคายเคือง แต่ถ้าผลิตภัณฑ์มี พีเอชสูงกว่าที่กำหนด ประสิทธิภาพจะต่ำหรือไม่ได้ผลเลย เนื่องจากสารทั้งสองชนิดมีคุณสมบัติสามารถแทรกซึมเข้าสู่ผิวหนังชั้นที่ลึกลงไปได้ดี เมื่อใช้ไปนานหรือใช้ประจำการสะสมใต้ผิวหนังจะก่อให้เกิดอาการแพ้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีรายงานการวิจัยทางการแพทย์แล้วว่าจะทำให้ผิวหนังไวต่อรังสีดวงอาทิตย์ ผิวหนังอาจไหม้ เป็นผื่นอักเสบ

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของประเทศสหรัฐอเมริกา จึงได้ออกคำเตือนว่าผู้ที่ใช้เครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของ AHAและ BHAจำเป็นต้องทาครีมกันแดดทับแทบทุกครั้ง และเมื่อหยุดใช้ ยังต้องทาครีมกันแดดต่ออีกอย่างน้อย 1 สัปดาห์ เพื่อป้องกันผิวหน้าจากรังสีดวงอาทิตย์

มีรายงานการวิจัยที่น่าสนใจ พบว่าผู้ที่ใช้เครื่องสำอางผสม AHAและBHA เป็นประจำเป็นเวลานานเพื่อหวังผลไม่ให้ผิวหน้าเหี่ยวย่น หรือหน้าขาว อาจจะส่งผลในทางตรงกันข้าม เพระธรรมชาติของผิวหนังที่ได้รับการกระตุ้นบ่อยเกินไปเป็นประจำ จะทำให้เซลล์ผิวชะงักและชะลอการสร้างเซลล์ใหม่ เช่นเดียวกับต้นไม้ที่ชะงักการเจริญเติบโคจะไม่ผลิใบใหม่ หรือผลิลดลงอย่างผิดปกติ นอกจากนั้นยังมีรายงานการวิจัยว่าสารทั้งสองกลุ่ม ไม่เหมาะสำหรับใช้กับผิวหนังคนอเชีย และคนผิวคล้ำดำ เพราะอาจทำให้ผิวเกิดรอยด่างดำ ความไม่สม่ำเสมอของสีผิวหน้าได้( Hyperpigmentation )

คำสำคัญ (Tags): #สม.4
หมายเลขบันทึก: 75966เขียนเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2007 16:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท