beeman 吴联乐
นาย สมลักษณ์ (ลักษณวงศ์) วงศ์สมาโนดน์

พฤติกรรมที่น่าจะเปลี่ยนไปเมื่อผึ้งมิ้มมาอยู่บ้านผึ้งพันธุ์


ในธรรมชาติรังของผึ้งมิ้มเขามีรวงเดียว ไม่เคยมี Bee Space เลย แล้วครั้งนี้เมื่อเข้ามาอยู่ในรังผึ้งพันธุ์ เขาตัองเกาะอยู่ในช่อง Bee Space โดยเกาะคอนคนละด้านเอาหลังชนกัน

    ก่อนอื่นต้องปูพื้นคนที่เข้ามาอ่านบันทึกนี้ โปรดกลับไปอ่าน การเลี้ยงผึ้ง 2 ชนิดในรังเดียวกัน, การทำให้ผึ้ง 2 ชนิดอยู่ด้วยกัน และ ข้อคิดจากการเลี้ยงผึ้ง (ผึ้งไทย คนไทย) ก่อนนะครับ แต่ถ้าขี้คร้าน (ขี้เกียจนั่นแหละ) จะไม่กลับไปอ่านก็ไม่ว่ากันนะครับ คราวนี้เป็นวิชาการนิด ๆ แต่ก็พยายามจะเขียนให้รู้สึกสนุกไปด้วย และพยายามเล่าด้วยภาพและการบรรยายภาพ ซึ่งเป็นเทคนิกการเรียนรู้ที่เรียกว่า depict (describe+picture)

     
รวงผึ้งมิ้มหอยโข่ง รังผึ้งมิ้ม   

    ผึ้งมิ้มมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Apis florea เป็นผึ้งตัวเล็ก สร้างรังเป็นรวงเดี่ยวในที่โล่ง มีสิ่งปกปิดเล็กน้อย เวลาเริ่มมาสร้างรังจะเห็นภาพแบบนี้ และสังเกตว่าตัวรวงยังไม่หุ้มกิ่งไม้

   เมื่อเวลาผ่านไปสภาพของรังก็จะเป็นแบบภาพนี้ สังเกตว่าตัวรวงรังจะหุ้มกิ่งไม้ การสร้างรังจะอาศัยแรงดึงดูดของโลก (sense of Gravity) ผึ้งรังนี้น่าจะมีประชากรเกิน 10,000 ตัวครับ (ตัวเขาเล็ก)

 
     
       
   
 

  พฤติกรรมบริเวณรวงรัง จะเห็นผึ้งงานคลอเคลียรุมล้อมผึ้งนางพญาของผึ้งมิ้มที่อยู่ตรงกลาง สังเกตว่าผึ้งมิ้มมีแถบสีส้มอยู่บริเวณปล้องท้องที่ติดกับอก

 

    ผึ้งนางพญาของผึ้งมิ้มมีขนาดตัวใหญ่เมื่อเทียบกับผึ้งงาน ในภาพนี้จะเห็นว่า ผึ้งงานบางตัวกำลังป้อนอาหารให้ผึ้งนางพญา

       
     
 

   ถ้าผึ้งมิ้มถูกตี/ล่า (Bee hunting) หรือไล่ตัวออกไปแล้ว สภาพของรวงรังก็จะเป็นแบบภาพนี้  ส่วนที่หุ้มกิ่งไม้เป็นบริเวณของน้ำผึ้ง ถ้าน้ำผึ้งสุกแล้วก็จะปิดรวงด้วยไขผึ้ง ถัดจากบริเวณน้ำผึ้งลงมาจะเป็นบริเวณตัวอ่อน (Brood) ซึ่งในภาพจะเป็นหลอดปิด (Sealed brood) ซึ่งก็คือดักแด้ (pupa) ของผึ้งมิ้ม ส่วนสุดท้ายสังเกตเป็นหลอดรวง(Cell) ขนาดใหญ่ดูเหมือนมีไขผึ้งบิดนี้นก็คือหลอดรวงผึ้งตัวผู้ (Drone cell) ครับ  ส่วนที่วงไว้ด้วยสีแดงคือหลอดรวงผึ้งนางพญา (Queen cell) ของผึ้งมิ้มครับ

 
     
   
 

     ผึ้งพันธุ์ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Apis mellifera บางครั้งเราก็เลี้ยงว่าผึ้งเลี้ยง ผึ้งพันธุ์เป็นผึ้งพื้นเมืองของยุโรปและอาฟริกา เป็นผึ้งที่อยู่ในโพรงคล้ายผึ้งโพรงบ้านเรา บางครั้งเราก็เรียกว่าผึ้งโพรงฝรั่ง เป็นผึ้งที่ทำรังในที่มืด สร้างรังหลายรวง (comb)  ระหว่างรวงจะมีช่องว่างระหว่างรวง ซึ่งเป็นช่องที่มีขนาดที่ผึ้งงาน 2 ตัว (เกาะรวงผึ้งคนละด้าน) เดินสวนกันได้พอดี (ตรงที่นิ้วชี้) ฝรั่งเขาเรียกว่า "Bee Space" คนไทยแปลว่า "ช่องว่างระหว่างรวง" (แต่นิสิตของผมเขาเรียกว่า ช่องว่างแห่งความสุขครับ)

 
     
   
 

    ภาพตัวอย่างผึ้งพันธุ์หรือผึ้งโพรงฝรั่ง ทำรังในเพดานบ้านเรือน ในภาพมีรวง (comb) อยู่ 8 รวง และมี Bee Space 7 ช่อง ผึ้งงานส่วนหนึ่งถูกไล่ออกมาจากรวงแล้ว จึงเห็นผึ้งงานเกาะปกคลุมรังไม่มิด

 
     
      ต่อไปนี้ก็เป็นเรื่องราวของพฤติกรรมบางอย่างที่ผมได้เห็นมา จากการที่ได้เอาผึ้งมิ้มไปใส่ไว้ในรังผึ้งพันธุ์ คือเอาผึ้งมิ้มไปเยือนผึ้งพันธุ์ จากภาพข้างล่าง ที่วงไว้ด้วยสีแดงคือผึ้งงานของผึ้งมิ้มในดงผึ้งงานของผึ้งพันธุ์ครับ แล้วที่วงด้วยสีเขียวคือผึ้งนางพญาของผึ้งพันธุ์ครับ มีใครคิดว่าภาพนี้แปลกบ้าง ช่วยแสดงความคิดเห็นเข้ามานะครับ  
 

 
     
     
 

 
 

     บางคนดูแล้วบอกธรรมดา เหมือนคนไทยไปอยู่บ้านฝรั่ง คนนั้นไม่ว่าชาติไหนก็เป็นสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกัน (ผสมพันธุ์กันได้)  เรียกว่า Homo sapiens แต่ผึ้งที่เห็นนี้มันเป็นคนละชนิดกันนะครับ (ผสมพันธุ์กันไม่ได้) 

     ในภาพส่วนใหญ่เป็นผึ้งงานของผึ้งพันธุ์ และเราก็ได้เห็นผึ้งตัวผู้ของผึ้งพันธุ์ด้วย ส่วนที่อยู่ในวงสีเขียวคือผึ้งนางพญาของผึ้งพันธุ์ และในวงสีแดงคือผึ้งงานของผึ้งมิ้ม

     มีคำถามว่า ถ้าผึ้งมิ้มป้อนอาหารให้ผึ้งนางพญา (ของผึ้งพันธุ์) ผึ้งนางพญาจะกินไหม ส่วนนิสิตที่เรียนผึ้งกับผม (ไพลิน) ถามว่า ในรังนี้ถ้าผึ้งมิ้ม (ผึ้งงาน) ตายไปแล้วจะมีผึ้งมิ้มตัวใหม่ (ลูก) จากผึ้งนางพญาเกิดขึ้นไหม ใครทราบช่วยตอบที

 
     
     
   
 

    ส่วนภาพนี้ แสดงให้เห็นพฤติกรรมของผึ้งมิ้มในรังผึ้งพันธุ์ครับ โดยผึ้งมิ้มเกาะบนสันคอนเช่นเดียวกับผึ้งพันธุ์ วงสีแดงแสดงผึ้งงานของผึ้งมิ้ม วงสีน้ำเงินคือผึ้งงานของผึ้งพันธุ์ ส่วนวงสีเขียวคือผึ้งตัวผู้ของผึ้งพันธุ์ครับ (ลืมบอกไปว่าในครอบครัวของผึ้งมี 3 วรรณะครับ คือ ผึ้งนางพญา ผึ้งงานและผึ้งตัวผู้)  โดยธรรมชาติของผึ้งมิ้มก็สามารถเกาะบนสันคอนได้ไม่แปลกอะไร แต่ทำไมผึ้งสองชนิดไม่ผิดกลิ่นและกัดกันตายบ้างครับ

 
     

 

 
    ภาพนี้แสดงให้เห็นความแตกต่างขนาดตัวของผึ้งมิ้มกับผึ้งพันธุ์ ซ้ายมือวงสีเขียว ผึ้งมิ้มกับผึ้งพันธุ์น่าจะป้อนอาหารกันอยู่ ตรงกลางวงสีแดงต้องการเน้นให้เห็นขนาดตัวของผึ้งพันธุ์และผึ้งมิ้ม (เทียบขนาดของผึ้งงาน)
    ส่วนขวามมือสุดในวงสี่เหลี่ยมสีน้ำเงินครับ ส่วนนี้ผมว่าแปลกที่สุดเลย เพราะว่าในธรรมชาติรังของผึ้งมิ้มเขามีรวงเดียว ไม่เคยมี Bee Space เลย แล้วครั้งนี้เมื่อมาอยู่ในรังผึ้งพันธุ์ ตัองเกาะอยู่ในช่อง Bee Space โดยเกาะคอนคนละด้านเอาหลังชนกัน (แต่หลังจะไม่ชนกันเพราะขนาดตัวเขา 2 ตัว เล็กกว่า ผึ้งพันธุ์ 2 ตัว ครับ)

 

   

 

     ภาพสุดท้ายแสดงพฤติกรรมที่สังเกตได้บางประการ คือ ผึ้งมิ้มจะชอบเกาะอยู่บริเวณส่วนที่เป็นน้ำหวานหรือน้ำผึ้งด้านบนสุดของคอน (วงสีแดง)  ส่วนผึ้งพันธุ์จะเกาะอยู่บริเวณที่เป็น Brood หรือตัวอ่อนผึ้ง (วงสีเขียว)  ท่านคิดว่าทำไมจึงเห็นเป็นเช่นนี้

 
   

 

หมายเลขบันทึก: 7592เขียนเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2005 14:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

ธรรมชาตินี่สร้างสรรค์มาได้อย่างลงตัวและสวยงามมากเลยนะคะ :)

Hello - do you have information on Apis Florea - in English? - Thanks Tony [email protected]
  • I have not information on Apis florea in English.

สุดยอดแห่งความเป็น beeman เลย เยี่ยม

  • สำนวนนี้ ต้องเป็น 1/25 ของนิสิต Apiculture1-51 แน่ๆ เลย..อิอิ
  • แต่ว่าตอบคำถามได้หรือเปล่า

ถ้าผึ้งมิ้ม (ผึ้งงาน) ตายไปแล้วจะมีผึ้งมิ้มตัวใหม่ (ลูก) จากผึ้งนางพญาเกิดขึ้นไหม ใครทราบช่วยตอบที?

...ไม่มีทางอยู่แล้วครับ เพราะมิ้มไม่ได้เอาควีนมาอยู่ด้วย ตายแล้วคือตายเลย

ภาพสุดท้ายแสดงพฤติกรรมที่สังเกตได้บางประการ คือ ผึ้งมิ้มจะชอบเกาะอยู่บริเวณส่วนที่เป็นน้ำหวานหรือน้ำผึ้งด้านบนสุดของคอน (วงสีแดง) ส่วนผึ้งพันธุ์จะเกาะอยู่บริเวณที่เป็น Brood หรือตัวอ่อนผึ้ง (วงสีเขียว) ท่านคิดว่าทำไมจึงเห็นเป็นเช่นนี้

...มันอาจจะเป็นกาฝากคอยกินน้ำหวานลูกเดียว แต่ไม่ช่วยทำงานเลย(เพราะไม่มีนางพญาพันธุ์เดียวกับมันคอยสั่ง)หรือเปล่าครับ?

ปล.เคยเห็นรูปเปรียบเทียบนางพญามิ้ม แม้จะโตกว่าผึ้งงานในรังตัวเองมาก แต่ก็ยังเล็กกว่าผึ้งงานผึ้งหลวง..แต่นางพญาผึ้งหลวงเองกลับมีขนาดโตกว่าผึ้งงานในรังตัวเองไม่มากนัก

  • นับว่า บองหลาดง มีความรู้เรื่องผึ้งมากทีเดียว
  • คำตอบเรื่องผึ้งมิ้ม ไม่ช่วยทำงานก็มีส่วนถูกมากทีเดียว..เพราะว่าผึ้งมิ้มไม่มีหน้าที่ในรังผึ้งพันธุ์นั่นเอง..จะนับว่ามันเป็นกาฝากก็ได้ แต่มันไม่ได้มาเอง (คนเอาไปใส่)
  • ส่วนผึ้งพันธุ์มีหน้าที่หลายอย่าง ส่วนหนึ่งคือต้องช่วยกันเลี้ยงดูน้องๆ จึงต้องคอยให้ความอบอุ่นที่บริเวณรวงตัวอ่อนครับ..

อยากสอบถามอาจาร์ยว่าตัวต่อหัวเสือมีพฤติกรรมผิดกลิ่นหรือเปล่าครับ

หมายถึงถ้ามีกลิ่นผิดปกติติดไปกับต่อตัวหนึ่ง ต่อที่อยู่ที่รังจะทำลายตัวต่อที่ผิดกลิ่น

หรือเปล่าครับ ขอบคุณครับ

สวัสดีครับคุณแจ๊ค

  • พอดีว่าผมไม่ได้ศึกษาเรื่องต่อ
  • กลัวว่าตอบไปแล้วจะผิด..ต้องขออภัยด้วย

กำลังเริ่มเลี้ยงผึ้งโพรงครับ อยากถามว่าทำไมคนไทยไม่จะกัดให้นางพญาอยู่ชั้นล่างและเอาคอนเฉพาะน้ำผึ้งไว้ชั้นบนเหมือนฝรั่งครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท