“เล่าเรื่อง...คนดี” ที่ฉันได้พบ: ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช


การทำงานที่เป็นประโยน์ต่อบ้านเมือง ได้เห็นวิธีคิดที่ซับซ้อน เห็นความละเอียด ตรงไปตรงมา ซื่อสัตย์ ประหยัด ไม่ว่าจะได้เงินจาก ต่างชาติก็ตาม

            ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช   ท่านอายุ 64 ปี   ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.),    ที่ปรึกษาสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.), ประธานคณะกรรมการรางวัลนานาชาติ และ ประธานคณะกรรมการที่ปรึกษาทางวิชาการ มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ในพระบรมราชูปถัมภ์, member of  WHO Expert Advisory Panel on Human Genetics, และ อีกกว่า 20 แห่งที่ท่านได้รับเชิญเป็นกรรมการ ในภาคราชการ  ภาคการศึกษา และภาคเอกชน

            ท่านได้รับ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์สูงสุดคือ มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งนายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์  จากมหาวิทยาลัยมหิดล, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

            คุณูปการต่อบ้านเมืองของท่านมีมากมาย ที่สูงสุด  คือเรื่องการจัดการการวิจัย  ท่านดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) อยู่ 2 สมัย  ท่านได้รับเชิญจากทางสถาบันด้านการวิจัยจากประเทศแคนาดา “International Development Research Centre of Canada (IDRC) ให้บริหารจัดการโครงการ Asian Development Research Forum ซึ่งเป็นเวทีการสังเคราะห์งานวิจัยนโยบายในเอเชีย

            ความประทับใจ ที่ได้สัมผัสจากการเป็นผู้ใต้บังคับบัญชา  2 โครงการ ADRF  3 ปี และ สคส. ปีกว่า คือ ความตั้งใจของท่านในการทำงานที่เป็นประโยน์ต่อบ้านเมือง  ได้เห็นวิธีคิดที่ซับซ้อน  เห็นความละเอียด  ตรงไปตรงมา ซื่อสัตย์  ประหยัด  ไม่ว่าจะได้เงินจาก ต่างชาติก็ตาม เรียกได้ว่าเล่นตามกฎ กติกา มารยาท วิธีเจรจาต่อรอง ซึ่งสำคัญมากไม่ให้เสียเปรียบต่างชาติ   เรียกได้ว่า เป็น mutual collaboration จริงๆ 

            พอมาอยู่กับ สคส. อาจารย์มีวิธีให้คนทำงาน ทำงานได้ง่าย ไม่ติดขั้นตอน  เพราะจะได้เอาเวลาส่วนนั้นมาช่วยกันคิดช่วยกันทำ ให้ภารกิจลุล่วงและบรรลุเป้าหมาย

            อาจารย์เป็นนักฝึก ให้ลองทำ “no pain no gain”  (พยายามขุดศักยภาพของเรา) ทำแล้วดี.... ก็ชื่นชม  ถ้าไม่ดี...ก็ต้องมานั่งคุยกันเป็น “lesson  learned” นะ  แต่ถ้าความไม่สำเร็จนั้นมัน นอกเหนือที่เราจะควบคุมได้ ท่านก็จะพูดให้กำลังใจว่า  “อิทัปปัจจยตา” มันก็เป็นเช่นนี้แล  .... เราก็ได้แต่เดินเหี่ยวทำใจกันไป...

            นอกเหนือจากที่ท่านฝึกคนรอบข้างแล้วท่านก็เป็น "ยอดนักฝึกตนเอง" ตัวยง  แฟนๆ blog  “ชีวิตที่พอเพียง” ของอาจารย์คงจะทราบดีว่าท่านฝึกตนเองตั้งแต่ สมัยเด็ก ชีวิตแต่งงาน รวมถึงชีวิตที่เกี่ยวข้องกับงาน เช่นเรื่องเทคโนโลยี   เรื่องการเขียน  เราจะไม่เอ่ยถึงการเขียนงานด้านวิชาการที่ท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญ  แต่จะเป็นเรื่องการเขียนเล่าเรื่องที่ไปพบมา แล้วมาshare กับชาว gotoknow ช่วงแรกๆ ก็จะมีออกมาฝืดๆ  (ขอโทษนะคะอาจารย์...แฮ่)  แต่หลังๆ ขอโทษท่านพัฒนาฝีมือขึ้นเรื่อยๆ อ่านแล้วได้อารมณ์ ลองอ่านเรื่อง การเข้าสปาครั้งแรกของอาจารย์...โห..เห็นภาพ สนุกค่ะ เยี่ยมกู้ด! 

            ท่านที่มีโอกาสได้ทำงานและได้รู้จักกับ ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช คงเขียนเล่าได้อีกมากมาย หากแต่ที่เล่าในวันนี้เป็นเพียงความประทับใจจากช่วงเวลาที่ได้สัมผัส... 

หมายเลขบันทึก: 75824เขียนเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2007 20:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มิถุนายน 2012 14:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
ดีจังเลยค่ะ ได้รู้จักท่านโดยผ่านคนที่ได้ทำงานกับท่าน ถือเป็นโชคดีและโอกาสดีที่ต้องพยายามเก็บทุกสิ่งทุกอย่างเอาไว้ให้มากที่สุดนะคะ
วันนี้ได้ตามมาอ่านคนดีของแรกของบันทึกนี้แล้ว ซึ่งก็คือ ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช   ดิฉันได้รู้จักท่านจาก Gotoknow นี่ล่ะค่ะ
ขอบคุณที่ Share ผมจะได้ Shine ต่อไปครับ
   ผมเป็นอีกคนหนึ่งที่ศรัทธาท่าน ทั้งยังโยงใยไปยังคนในตระกูล พานิช อีกสองท่านคือ ท่านธรรมทาส และท่านพุทธทาส ที่ผมได้ใกล้ชิดและให้อะไรแก่ชีวิตผมมากมาย
   เรื่องงานเขียนของท่านผมก็เห็นตามที่กล่าวมาครับ เมื่อก่อน ศาสตร์ท่านแรง  ศิลป์ค่อนข้างน้อย หลังๆมานี่ ท่านคลุกกันได้อย่างลงตัว  แต่ก็ยังมีลักษณะ ศาสตร์นำ และตามด้วยศิลป์ ซึ่งผมว่าดีแล้ว  ศิลป์มากไป สาระก็จะน้อย สกัดมาใช้ลำบาก 
   นอกจากเรื่อง การเข้าสปาครั้งแรก ผมว่ามีอีกหลายเรื่องนะ  รวมทั้งเรื่องถ่ายภาพในวัด ที่มีควันไฟเสริมเป็น Background นั่นก็อีกเรื่องหนึ่งที่สะท้อนสุนทรียภาพในจิตใจท่าน  อ่านข้อความและดูภาพในเรื่องแล้ว รู้สึกได้ไม่ยากว่าท่านทำด้วยใจรัก  มิได้ฝืนๆทำเพื่อให้ดูดี
    ผมดูเหมือนอยู่ห่างออกมา แต่ก็ติดตามท่านด้วยศรัทธา  และไม่รู้สึกว่าอยู่ไกลเลย .. เรื่องราวของน้อง คือลูกชายท่านที่ชื่อ วิจักขณ์  ผมก็ติดตามตั้งแต่เขายังอยู่มหาวิทยาลัยในเมืองไทย ก่อนจะไปอยู่ Naropa  ข้อเขียนของเขาใน Web. ของเสมสิขาลัยก็ไปอ่าน ฯลฯ  อีกมากเลยล่ะครับ.
   อยากให้เราท่านทุกคนมาช่วยกันทำอะไรก็ได้ เพื่อช่วยกันแพร่เชื้อความดี แบบที่ท่านมี ท่านเป็น ให้แพร่กระจายไปทั่วแผ่นดินเร็วๆครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท