beeman 吴联乐
นาย สมลักษณ์ (ลักษณวงศ์) วงศ์สมาโนดน์

ทิศทางการจัดการความรู้ในชุมชน (2)


วปอ.ย่อมาจาก วิทยากรเพื่อการเปลี่ยนแปลงพึ่งพาตนเองและกันเอง

    ในบันทึกที่ผ่านมา (130) เขียนเล่าถึงวิทยากรท่านแรกคือ ศ.นพ.วิจารณ์ พานิชไปแล้ว วันนี้ขอต่อด้วยวิทยากรท่านที่ 2 คุณสุรเดช เดชคุ้มวงศ์  ซึ่งพยายามจะสื่อว่า "พิจิตรทำอะไรกันบ้าง"  (การจัดการความรู้ในชุมชน)

    คุณสุรเดช เริ่มต้นด้วย"ทุกข์"ครับ "อยู่ร้อน นอนทุกข์" เพราะ 2 ปี ทำนา 7 ครั้ง สารพิษเต็มไปหมด (การใช้สารเคมีติดอันดับ 1-5 ของประเทศ) ต้องการทำให้เป็น "อยู่เย็น เป็นสุข" ครับ เปลี่ยน Concept (มโนทัศน์) จาก "หาเงินหาตลาด --> พึ่งพาตนเอง" และอย่าคิดเรื่องเงินมากเกินไป

   จากพิจิตร ต้องไปดูงานทางภาคอีสาน ที่นั่นมีหลักสูตร "วปอ.ภาคประชาชน" (ไป ตามหา Tacit Knowledge ชื่อนี้น่าจะไปตั้งเป็นชื่อหนังสือเรื่อง "ตามหา Tacit Knowledge") ไปทำ "Human Mapping" ถอดบทเรียน มาตั้งโรงเรียน วปอ. ที่พิจิตร (หมายเหตุ วปอ. เป็นคำย่อเลียนแบบ หลักสูตร วปอ. ของรัฐ ซึ่งย่อมาจาก วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร แต่ วปอ.ในที่นี้ ย่อมาจากคำว่า "วิทยากรเพื่อการเปลี่ยนแปลงพึ่งพาตนเองและกันเอง" ครับ)

    ต่อไปนี้เป็นข้อมูลที่น่าจะเป็นปัจจุบัน ที่พิจิตรมี

  • ปราชญ์ชาวบ้าน   1-6  คน
  • ผู้นำแถว 2           20  คน
  • เกษตรกรต้นแบบ 200  คน (ผู้นำแถว 3)
  • แหล่งเรียนรู้        100 แห่ง

    ต้องการขยายผลให้มีสมาชิกประมาณ 3,000 คน ปลดหนี้สินลงได้

     โรงเรียน "วปอ.ภาคประชาชน" สร้างไปแล้ว 12 รุ่น เริ่มเรียนรู้กันที่วัด-->เจาะเลือดตรวจ-->นอนในสวนลุงสมพงษ์ (ไม่มีไฟฟ้า)  หัวข้อบทเรียน น่าจะมีดังนี้

  • เรียนรู้จากของจริง บ้านลุงจวน (ที่ 6 งาน ไม่มีหนี้)
  • ภูมิปัญญาไม่รู้จบ ลุงสมพงษ์ ธูปอ้น
  • ทำข้าวปลอดสารพิษ (บ้านคุณบำรุง วรรณชาติ)
  • คัดพันธุ์ข้าว (ไปเรียนรู้ที่สุพรรณบุรี)
  • กระบวนการแห่งพลังและศรัทธา
  • กลับไปวางแผนชีวิต

     CoP (Community of Practice : ชุมชนแนวปฏิบัติ) ที่ตั้งไปแล้วน่าจะมี

  • CoP ข้าวสะอาด
  • CoP ผักคุณกิจ
  • CoP เกษตรรวมมิตร (ไร่นาสวนผสม)
  • CoP โรงเรียนทายาทเกษตร หรือ วปอ.น้อย

     วิธีการคือ คัดสุดยอดฝึมือ (ในศาสตร์ต่าง ๆ) มา 100 คน สกัดเอาขุมความรู้ (ถอดองค์ความรู้) แล้วเอาย้อนเอาความรู้เหล่านั้นย้อนกลับไปให้เกษตรกร (เรียกว่า "วงจรความรู้") สิ่งที่ขาดไม่ได้คือ ต้องมี "หน่วยงานพันธมิตร" เช่น หน่วยงานท้องถิ่น, นักการเมืองท้องถิ่น, นายกอบจ. เป็นต้น

    สุดท้าย ถ้าไม่มีก็ทำไม่ได้ คือทรัพยากรบุคคลที่เรียกว่า "ปราชญ์ชาวบ้าน" ครับ..

     

หมายเลขบันทึก: 7566เขียนเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2005 17:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 กรกฎาคม 2013 15:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท