อบต.แม่เหียะ จ.เชียงใหม่


อบต.แม่เหียะ จ.เชียงใหม่ สร้างแผนที่ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน
วันที่  26-27  มกราคม  2550  อบต.แม่เหียะ จ.เชียงใหม่ รวมพลังชุมชน  10  หมู่บ้าน ในพื้นที่ วิเคราะห์สถานการณ์การพัฒนาระบบสุขภาพในพื้นที่ เพื่อกำหนดจุดหมายปลายทางและแผนที่ยุทธศาสตร์ชุมชนในการพัฒนาสุขภาพของประชาชนพื้นที่  โดยการสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพชุมชน  พบว่า การพัฒนาสุขภาพชุมชน ต.แม่เหียะ จ.เชียงใหม่  มีสิ่งที่ได้ดำเนินการสำคัญๆ  เช่น           ส่งเสริมการออกกำลังกายให้กับชุมชน ประชาชน          สร้างพื้นฐานการสร้างสุขภาพ อาหารนมฟรีสำหรับเด็ก          ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ได้รับการดูแลด้านสวัสดิการสุขภาพ 400 คน (เดือนละ 500 ต่อคน)          ส่งเสริมให้ออกกำลังกาย กินดี อยู่ดีให้ทั่วถึง ให้บริการด้านสุขภาพ          ส่งเสริม กระตุ้นคนในชุมชนให้เข้าใจในการรักษาสุขภาพให้ทั่วถึง          ประสานงานระหว่างชุมชนกับสถานีอนามัย โรงพยาบาลที่เกี่ยวข้อง          รณรงค์ให้ดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง          ปลูกพืชผักปลอดสารพิษในครัวเรือน โดยเฉพาะผู้สูงอายุ          ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีกิจกรรมในเวลาว่าง ตอนเย็น รณรงค์การเดิน การขี่จักรยานในหมู่บ้านเพื่อส่งเสริมสุขภาพให้ทั่วถึง โดยให้ผู้นำหมู่บ้านเป็นผู้ริเริ่มและสนับสนุนส่งเสริม          ทำบทบาทให้เป็นสถานศึกษาส่งเสริมสุขภาพ ร่วมมือกับ อสม.กองทุนสุขภาพในการส่งเสริมสนับสนุน รณรงค์การฟ้อนเจิงเพื่อสุขภาพ โดยร่วมกับชมรมผู้สูงอายุ การแข่งขันกีฬาสีภายใน โครงการคนดีศรีเชียงใหม่            ปัจจุบันสุขภาพคนในชุมชนอยู่ในระดับที่น่าพอใจ แต่ยังไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่ ต้องมีการรณรงค์ต่อไป ตรวจสุขภาพ คัดกรองคนในชุมชน          ร่วม อสม. อบต.บริการให้กับทุกหมู่บ้าน ทุกครัวเรือน ให้ประชาชนให้ความสนใจในการดูแลสุขภาพให้มากขึ้น ทั่วถึง ดูแลเรื่อง การป้องกันโรคต่างๆ ร่วมมือกับโรงพยาบาลเซ็นทรัล          การฟื้นฟู โดยการเยี่ยมบ้านตามที่จำเป็น ขณะเดียวกันก็พบว่ามี ปัญหา/อุปสรรคการพัฒนาสุขภาพที่พบได้แก่          คนในชุมชนลืมเรื่องการสร้างสุขภาพ อาจเพราะปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม          พบปัญหาประชาชนให้ความสนใจในโรคต่างๆ สนใจสุขภาพตนเองในระดับน้อย ชุมชนให้ความสำคัญ ความร่วมมือในภาพรวมทั้งตำบลในระดับน้อย พฤติกรรมแบบเดิม          ผู้ที่เกี่ยวข้องให้ความสำคัญ ดูแล อสม.ให้มากขึ้น ทั้งทางด้านสุขภาพจิต กำลังใจให้ดีกว่าเดิม          พฤติกรรมให้ความสำคัญกับตนเองในด้านการตรวจสุขภาพตนเองประจำปี พฤติกรรมการดำรงชีวิตในด้านการรับประทานอาหารของประชาชนไม่ปรับเปลี่ยน          ด้านการส่งเสริมสุขภาพโดยการฝึกอบรมครู นักเรียนให้ทำหน้าที่ด้านสุขภาพ ซึ่งไม่สามารถบรรลุได้เท่าที่ควร บุคลากรมีภาระงานมาก          การอบรมผู้นำนักเรียนไม่ต่อเนื่องในปีต่อๆ มา ควรอบรมให้ต่อเนื่อง          พฤติกรรมให้ความสำคัญกับตนเองในด้านการตรวจสุขภาพตนเองประจำปี พฤติกรรมการดำรงชีวิตในด้านการรับประทานอาหารของประชาชนไม่ปรับเปลี่ยน          ด้านการส่งเสริมสุขภาพโดยการฝึกอบรมครู นักเรียนให้ทำหน้าที่ด้านสุขภาพ ซึ่งไม่สามารถบรรลุได้เท่าที่ควร บุคลากรมีภาระงานมาก          การอบรมผู้นำนักเรียนไม่ต่อเนื่องในปีต่อๆ มา ควรอบรมให้ต่อเนื่องข้อเสนอแนะจากชุมชนที่ได้นำเสนอผ่านเวที  ดังนี้          ร่วมกันทำแผนปฏิบัติการให้เกิดขึ้นจริงและใช้ได้จริงในท้องถิ่น          เสนอให้ผู้นำหมู่บ้าน ผู้เกี่ยวข้องปรับปรุงแก้ไขในการทิ้งขยะให้เป็นที่          เยาวชนให้ความร่วมมือมาโดยตลอด ต่อเนื่อง          ดำเนินการส่งเสริมสุขภาพอย่างต่อเนื่อง ทั่วถึงทุกชมรม          สร้างจิตสำนึกให้กับประชาชนในการรักษ์สิ่งแวดล้อม          ส่งเสริมการมีส่วนร่วมให้กับทุกภาคส่วนในการรณรงค์ให้ภาคประชาชนนำเสนอกิจกรรมที่ทำให้ประชาชนมีสุขภาพดีขึ้นในการจัดทำแผนงาน โครงการ จากนั้นชุมชนได้ร่วมกันกำหนดจุดหมายปลายทางการพัฒนาระบบสุขภาพ ภายในระยะเวลา  2  ปี จะต้องพัฒนาสิ่งเหล่านี้ให้เกิดขึ้นชุมชน ดังนี้ระดับประชาชน/ชุมชน(มุมมองเชิงคุณค่า)       มีโครงการของชุมชนโดยชุมชนและเพื่อชุมชน(ที่เป็นรูปธรรม ต่อเนื่องเห็นผลทันที เช่น ผู้สูงอายุ/เด็กและเยาวชน/การจัดการขยะ/ออกกำลังกาย/ผู้ป่วยเรื้อรัง/สหกรณ์ชุมชน/ป้องกันโรค/แก้ไขปัญหายาเสพติด)       มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นในการพัฒนา       ได้รับบริการสุขภาพที่ดี(ตรวจสุขภาพ/สถานที่ออกกำลังกาย/วัสดุอุปกรณ์ ฯลฯ)       มีสุขภาพ/สุขภาวะที่ดีตามวิถีชุมชนและพอเพียง(มีพฤติกรรมและจิตสำนึกด้านสุขภาพที่ดี)ระดับภาคี(มุมมองเชิงผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย)       องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และองค์กรในชุมชนมีส่วนร่วมในการสนับสนุนทรัพยากรและร่วมดำเนินงานด้านสุขภาพอย่างต่อเนื่อง       องค์กรภาครัฐและเอกชน สนับสนุนและเข้าร่วมดำเนินงานกิจกรรมด้านสุขภาพอย่างต่อเนื่อง       สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด/โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป ให้การสนับสนุนด้านวิชาการอย่างต่อเนื่อง       เครือข่ายโรงเรียนและวัด มีส่วนร่วมในการส่งเสริมสุขภาพชุมชน ระดับกระบวนการ (มุมมองเชิงบริหารจัดการ)       มีระบบการประสานงานและการสื่อสารที่ดีทั้ง  ภายในและภายนอกองค์กร       มีการประสานแผนระหว่างองค์กร       มีการบูรณาการแผนยุทธศาสตร์ในการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพเชิงรุก       มีการพัฒนานวตกรรมสุขภาพในท้องถิ่น       มีระบบนิเทศ ติดตาม ประเมินผลที่ดีระดับพื้นฐาน(มุมมองเชิงการเรียนรู้และพัฒนา)       มีการจัดทำฐานข้อมูลด้านสุขภาพ       มีศูนย์การดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง       มีสถานบริการสาธารณสุขของรัฐผ่านเกณฑ์มาตรฐาน(HA/HPH/PCU ฯลฯ)ทุกแห่ง       บุคลากรสาธารณสุข/แกนนำด้านสุขภาพ/ผู้นำชุมชน/อาสาสมัครสาธารณสุข        มีการพัฒนาความรู้ ทักษะ ความสามารถในการดูแลสุขภาพของประชาชน       มีวัฒนธรรมองค์กรที่ดี       มีศูนย์การเรียนรู้ด้านสุขภาพของชุมชน ................................................................................... 
คำสำคัญ (Tags): #ศอสส
หมายเลขบันทึก: 75329เขียนเมื่อ 30 มกราคม 2007 16:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 12:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
ศอสส. นี่ ทำงาน "สุดยอด" จริงๆ นะคะ

ขอบคุณคำชมคุณหมอนนทนะครับ

เรากำัลังพยายามกันเต็มที่ในการทำให้พื้นที่ริเริ่ม เรื่องสุขภาพในความมหมายกว้างที่ชูสโลแกนตอนนี้ว่าอยู่เย็นเป็นสุข 

ไม่อยากทำโดยให้ชาวบ้านมาช่วยกันทำงานเฉพาะเรื่องสาธารณสุขแต่เพียงด้านเดียว เพราะจะกลายเป็นการยัดเยียด หรืออาจทำเพราะเกรงใจเรา

อีกอย่างเราเชื่อว่า การที่ชาวบ้านทำเรื่องที่ใกล้ตัวเขา ส่วนใหญ่แล้วก็จะนำไปสู่การมีสุขภาพดีอยู่ดีครับ อีกสักพักคงมีเรื่องดีๆจากทีมใน ศอสส มาเล่าเรื่องที่เป็นการริเริ่มและกำหนดโดยชาวบ้านและเขาเป็นเจ้าของเรื่องทำงานต่อเนื่องมากขึ้นเรือยๆครับ 

พอดีเป็นวิทยากรฟ้อนเจิงเพื่อสุขภาพ อยู่ในกลุ่มเครือข่ายหมอเมืองเชียงใหม่และชมรมรักษ์สมุนไพรทุ่งต้อม มีความตั้งใจที่จะเผยแผ่ฟ้อนเจิงเพื่อสุขภาพ

สนใจติดต่อ 086-9125209

หทัยชนก โพธิวงค์

357/1 ม.14 ต.ยุหว่า อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ 50120

ประหยัด จตุพรพิทักษ์กุล

คุณสิทธิพงษ์

สิ่งที่คุณเสนอคือภาพลวง นะ ของจริงมีแต่การสร้างภาพ แผนที่ยุทธศาสตร์ที่สร้างไว้เป็นภาพลวง ในทางปฎิบัติอำนาจการตัดสินใจอยู่ที่นายก เน้นแต่การสร้างภาพ มิใช่การสร้างเสริมสุขภาพที่แท้จริง ตอนทาง สตงกำลังตวจสอบการใช้งบประมาณกองทุนสุขภาพคำบลผอดวัตถุประสงค์ ผิดหลักเกณฑ์ นี่แหละท่านหรือคนจากส่วนกลางมักจะไม่เข้าใจข้อเท็จจริงของชุมชนท้องถิ่น ทำไม่สถานีอนามัยแม่เหียะไม่ยอมโอนไปอยู่ภายใต้เทศบาลตำบลแม่เหียะ....ก็เพราะไม่ต้องการอยู่ภายใต้อำนาจกับวิสัยทัศน์งานสุขภาพที่มีเป้าหมายการสร้างภาพเพื่อรักษาอำนาจทางการเมืองนี่แหละ...ไม่ทราบคุณสิทธิพงษ์ทำงานอยู่องค์กรไหนครับ..พอจะแนะนำให้องค์กรที่มีหน้าที่มาตรวจสอบการทำงานของคณะกรรมการกองทุนสุขภาพตำบลแม่เหียะด้วยครับ....เพื่อดูภาพลวงและจัดการกับความไม่ถูกต้องด้วย

ผ่านมาหลายปีท่านนาย ก แม่(ง)เหี้ยะก็ยังสร้างภาพได้อย่างสม่ำเสมอรับปากไปงั้นๆ แล้วก็เหมือนเดิมเอาพอผ่าน

เจ้าของกระทู้ครับ พอมีคนจริงจังหน่อยเงียบเลยนะ

ทำเหอะเพื่อบ้านเราจะได้เจริญๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท