รัชนี 7


วันเพ็ญเดือน 12

สวัสดีค่ะ...ขอบคุณค่ะสำหรับข้อคิดเห็น ขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วยค่ะ นู๋จะแก้ไขในสิ่งที่บกพร่องนะค่ะ ส่วนที่บันทึกของนู๋ไม่เท่าเพื่อนก็เพราะหนูลาไปแข่งกีฬามหาวิทยาลัยที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์รังสิตค่ะ เลยจะช้ากว่าเพื่อนๆค่ะ วันนี้เข้างานเวลา 7.50 น. พอเวลา 9. 00 น. อาจารย์วิจิตรก็ทำการสอนในหลายๆเรื่อง

16 พ.ย.2548

เรื่องแรก การต่อสาย In-Out

                                  

                                          

@..สาย RCA สายนี้พวกนู๋ก็พอจะรู้กันอยู่แล้วเพราะที่มหาวิทยาลัยก็ใช้อยู่เสมอ แต่สำหรับความรู้ที่ได้เพิ่มเติมนั่นก็คือสาย สาย USB มีข้อจำกัดของการส่ง DATA และภาพนิ่ง ส่ง VDO ได้แต่จะกระตุก

 

เรื่องที่สอง เทป VDO ที่สสวท.ใช้

                                                

                                         

1.BETACAM เป็นเทปที่มีความละเอียดสูง ใช้ถ่ายกับเครื่องที่มีขนาดใหญ่

2.DVCAM เป็น Digital ใช้กับมืออาชีพ

3.DVPRO ใช้กับเครื่อง PANASONIC

4.MINIDV ใช้กับเครื่อง Handycam

เรื่องที่สาม การถ่ายภาพ VDO

@..พื้นฐานของการถ่ายภาพจะต้องถ่ายจาก LS-MS-CU หรือ CU-MS-LS การถ่ายภาพเช่นนี้จะทำให้ภาพที่ถ่าย สื่อออกมาเกิดการเข้าใจมากขึ้น และเป็นเรื่องเป็นราว

จากนั้นอาจารย์ก็นำภาพ VDO ที่มอบหมายให้พวกนู๋ไปถ่าย มาเปิดให้ดูพร้อมกันและก็ช่วยกันหาจุดบกพร่องของแต่ละคน โดยรวมแล้วส่วนมากจะบกพร่องกันตรง ภาพกระโดด ภาพที่ถ่ายมาไม่ได้สื่อเรื่องราวให้ชัดเจน

วิธีแก้ไข

- การแก้ไขภาพที่ถ่ายออกมาแล้วโดด คือ เราจะต้องขยายขนาดภาพออกมาประมาณ 30 องศา

- การที่จะ PAN กล้อง หรือเคลื่อนไหวกล้องเราต้องหยุดที่ภาพนั้นให้นิ่งไว้ประมาณ 30 วินาที่เพื่อจะได้รู้ว่าเราต้องการสื่อให้เค้ารู้อะไร

- เราควรกำหนดเส้นขึ้นมาเพื่อง่ายต่อการตั้งกล้องและเพื่อความถูกต้องของมุมภาพในขนาด 180 องศา

 

ทิศทางการเคลื่อนที่ของวัตถุกับกล้อง มีอยู่ 3 แบบคือ

- ทิศทางการเคลื่อนที่ของวัตถุแบบทางเดียว  เช่นภาพที่เป็นคนเดินไปทำงานและเดินกลับในทางเดิม แต่คนละเวลา

- ทิศทางการเคลื่อนที่แบบสองทาง  เช่นหนังสงคราม

- การเคลื่อนที่ออกหรือเข้าหากล้อง

 

เรื่องที่สี่ การใช้กล้อง BATACAM

                                   

 

@.. Filter ควรปรับเวลากลางคืนเป็น 3,400 k - กลางวัน 5,600 k

                 

                                    @@@@@....พักกินข้าว....@@@@@

ช่วงบ่าย

อาจารย์ก็พาพวกนู๋ออกนอกสถานที่ไม่ไกลหรอกค่ะ อยู่ตรงหน้าระเบียงหน้าห้องฝ่ายนี่เอง และอาจารย์ก็ให้เอากล้อง BATA ออกมาลองถ่ายกันด้วยค่ะ นู๋ลองถือแล้วหนักค่ะ ดีนะที่นู๋มีพละกำลังเหมือนนักยกน้ำหนักทีมชาติ เริ่มเข้าบทเรียนกันเลยดีกว่าค่ะ อาจารย์วิจิตรสอนว่า

1.การนำกล้องใส่ขาตั้งกล้องเราจะต้องเช็ค White Balance เสียก่อน โดยที่เพื่อนใช้เสื้อที่นู๋ใส่เช็คนั่นเอง จากนั้นก็ปรับโฟกัสให้ชัด

2.Color Bar เพื่อเป็นการปรับสภาพสีของม้วนเทป จะอยู่ด้านซ้ายของกล้องและกดบันทึกประมาณ 30 วินาที

3.การ ZOOM เราจะต้อง ZOOM วัตถุนั้นเข้าไปใกล้ที่สุดและทำการโฟกัสให้ภาพชัดและ ค่อยZOOM ออก เพื่อการถ่ายภาพต่อไปจะได้ไม่เบลอ

เริ่มปฏิบัติงาน

 

                                   

                                      เหมือนจะยิงปืนเลยค่ะ..เพื่อนบอก

ห้องตัดต่อ

@... BLUE SCREEN  คือ การซ้อนภาพบุคคลและวัตถุการเจาะสีพื้นหลังแล้วใส่ฉากใหม่แทน เมื่อก่อนเรามักจะใช้ฉากสีน้ำเงินและเขียว แต่ปัจจุบันใช้สีอะไรก็ได้

                                   

ห้องสตูดิโอ                          

@...ต่อจากนั้นก็ลงไปที่ห้องสตูเพื่อลงไปดูเครื่องมือและกล้อง กล้องก็จะเหมือนตัวที่เรียนไปตอนเช้า แต่การซูมหรือปุ่มบางปุ่มจะอยู่ที่มือ คล้ายแฮนด์มอเตอร์ไซด์

                                  

                                                                                                    

ต่อจากนั้นก็ขึ้นมาข้างบนห้องตัดต่ออีกครั้ง อาจารย์วิจิตร ก็สอนเรื่องการตัดต่อ

โดยใช้โปรแกรม DPS Velocity ค่ะ ซึ่งนู๋ไม่เคยใช้มาก่อนเลย อาจารย์ก็ให้ลองทำดู โดยที่นู๋ยืนใกล้อาจารย์ที่สุด อาจารย์ก็เลยให้นู๋เป็นคนเข้าโปรแกรมตั้งแต่เริ่มจนจบ 

ขั้นตอนการทำ

- ก่อนที่เราจะเปิดโปรแกรมเราจะต้องทำการเช็ค Disk ก่อน

- ลากเมาส์ไปคลิกที่ DPS Hardware 

- มาคลิกที่ SCSI Tab แล้วก็เลือก Volume 1 จะมีหน้าต่างขึ้นมา

- คลิกที่ Speed Test ต่อจากนั้นเครื่องก็จะทำการเช็คเองโดยอัตโนมัติ

- กด OK

- เข้าโปรแกรมเลือก New Project จะมีหน้าต่างให้เรา Save ชื่อ โดยที่นู๋ตั้งชื่อว่าเทคโนฯ14  เสร็จเรียบร้อย

- ทำการ Capture งานมาไว้ในช่อง Gallery

- ลากงานมาไว้ในช่อง Time Line

- เริ่มตัดต่องาน

ทำกันจนเวลาเลิกงาน แล้วนู๋ก็รีบกลับ พี่ที่ทำงานถามว่าจะไปไหนคืน นู๋ก็เลยตอบว่าต้องรีบไปประกวดนางนพมาศค่ะ พี่ก็ขำกันยกใหญ่เลยค่ะ นู๋รู้สึกว่ามีความสุขดีค่ะที่ทำให้คนอื่นหัวเราะได้ นู๋หวังว่าคงจะทำได้ดีกว่าเดิมนะคะ

             

          

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 7521เขียนเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2005 23:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท