R & D (2) : Development


R & D ย่อมาจาก Research (R)& Development(D)  เกี่ยวกับ R ผมได้บันทึกไว้มากแล้ว  ต่อไปนี้จะได้บันทึกเกี่ยวกับ D บ้าง

D : Development มี "นัย"ว่า "เปลี่ยนแปลง"  จึงมาลองพิจจารณาดูว่า  เปลี่ยนแปลงอย่างไร ?

ถ้าเด็ก  ๑ ขวบ โตขึ้นเมือ่อายุ ๒ ขวบ  และโตขึ้นเรื่อยๆ เมือ่อายุ ๓ ขวบ  ๔ ขวบ ........  เรียกว่า "มีการเปลี่ยนแปลง"  และเปลี่ยนแปลงไปในทางที่มากขึ้น  เพิ่มขึ้น

การเปลี่ยนแปลงเช่นนี้เรียกว่า "พัฒนา"

สิ่งมีชีวิตทั้งหลายจะ"พัฒนา"ลักษณะนี้   นั้นคือ  "ถ้าพัฒนาก็จะมีการเปลี่ยนแปลง  ถ้าไม่มีการเปลี่ยนแปลงก็จะไม่มีการพัฒนา" 

การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวของสิ่งมีชีวิตจะเกิดขึ้น "ภายใน" ของสิ่งมีชีวิตนั้นๆ เช่น การแบ่งเซลล์จาก ๑ เป็น ๒  จาก ๒ เป็น ๔ ...............เป็นการเปลี่ยนแปลงในลักษณะที่เพิ่มขึ้น

การพัฒนาดังกล่าวเป็นไปตาม"ธรรมชาติ"  ถ้าเราวิจัยเพื่อ "ค้นหา"ความรู้จากกระบวนการเปลี่ยนแปลงนี้เป็นสำคัญ  ก็เรียกว่า "การวิจัยบริสุทธิ์" (Pure Research)  ผู้วิจัยก็เรียกว่า "นักวิจัยบริสุทธิ์"  (Pure Researcher / Pure Scientist)

แต่ถ้านักวิทยาศาสตร์"คนเดียวกันนั้น" คิดว่า เราน่าจะเอาSperm ของคนผู้ชายไปใส่ไว้ในไข่ของผู้หญิง  แล้วนำไปใส่ไว้ในท้องวัว  เพื่อจะดูว่าลูกจะออกมาเป็นอย่างไร  เขาก็ทำหน้าที่เป็น "Applied Scientist / Technologist" ไป  เขาจึงเป็นทั้ง "นักวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์และนักวิทยาศาสตร์ประยุกต์" ไปในเวลาเดียวกัน

และถ้าเขาได้เด็กดังกลาวมาคนหนึ่ง ออกมา  สมมุติว่า มีรูปร่างเป็นคน แต่ค่อนข้างมีขนมากกว่าปกติ  เขาจึงปรับปรุง  และ"วิจัย"ต่อไป  ทำเช่นนี้เรื่อยไปหลายครั้ง จนได้"คนที่ดีที่สุดตามท่เขาต้องการ" ก็เรียกการวิจัยเช่นนั้นว่า "การวิจัยและพัฒนา" หรือ Research & Development

.ในระบบมหาวิทยาลัยทั่วโลก  เราจะพบว่า มีทั้งคณะวิชาที่ "สร้างคนเพื่อค้นหาความรู้บริสุทธิ์"  เช่น คณะวิทยาศาสตร์  คณะจิตวิทยา ฯลฯ และคณะที่ "สร้างคนเพื่อนำความรู้บริสุทธิ์ไปใช้"  เช่น  คณะวิศวกรรมศาสตร์  คณะแพทยศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ ฯลฯ

คิดว่าคณะวิชาเหล่านั้นต่างก็ได้ทำหน้าที่ของตนเองอย่างเต็มที่นะครับ

คำสำคัญ (Tags): #applied#scientist#technologist
หมายเลขบันทึก: 75073เขียนเมื่อ 29 มกราคม 2007 12:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 10:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

อาจารย์ ดร.ไสว

เข้ามาอ่าน ครับ

อาจารย์น่าจะมีความเห็นเกี่ยวกับจริยธรรมของนักวิจัยบ้างนะครับ...

เจริญพร

นมัสการพระคุณเจ้า

ประเด็นจิรยธรรมของการวิจัยจากบันทึกนี้คงจะเนื่องมาจากตัวอย่างการทดลองปลูกคนในท้องวัว เรื่องนี้ขอเรียนดังนี้ครับ

(๑) ตัวอย่างนั้นเป็นตัวอย่างประเด็นเพื่อ"ความเข้าใจ" เรื่องของ R & D  ไม่ได้ปฏิบัติจริง

(๒) นักวิทยาศาสตร์ทั้งสาขาวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ  และสาขาวิทยาศาสตร์สังคม  หรือพฤติกรรมศาสตร์  มีเป้าหมายสำคัญเพื่อค้นหาความรู้บริสุทธิ์ คือเพื่อ "รู้" อย่างเดียว (ซึ่งเป็นพวก นักวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์)  กับเพื่อ "รู้ และนำไปพัฒนา" (คือพวก R & D)  และพวกที่ "นำไปพัฒนาอย่างเดียว" (คือพวก นักวิทยาศาสตร์ประยุกต์)   ซึ่งการกระทำของนักวิทยาศาสตร์เหล่านี้  อาจะไปกระทบกับ "ความเชื่อ" ของคนกลุ่มต่างๆเข้า   ทำให้มีคำถามเกี่ยวกับ "การกระทำ"(จริยธรรม)ของพวกนักวิทยาศาสตร์เหล่านี้

ถ้าไปกระทบกับความเชื่อทางศาสนาบางศาสนาที่สอนว่าพระเจ้าเป็นผู้สร้างโลก  สร้างมนุษย์  ถ้าใครคิดจะสร้างมนุษย์ขึ้นมา เช่นการโคลนนิ่งมนุษย์  หรือสร้างมนุษย์หุ่นยนต์ขึ้นมา  ก็จะถูกตั้งคำถาม  และต่อต้าน  ดังเช่นการต่อต้าน ชาร์ลส ดาร์วิน ในอดีต ที่เสนอว่า "มนุษย์วิวิฒนาการมาจากลิง" เป็นต้น

ถ้าไปกระทบกับความเชื่อของนักปรัชญาบางพวก ที่เชื่อเรื่อง "Freedom" ของมนุษย์  เขาก็จะตั้งคำถามเกี่ยวกับ"การล่วงล้ำอธิปไตย"ของผู้รับการทดลอง เช่นไปทดสอบความโง่ความฉลาดของเขา ก็ไม่ได้ ไปขอข้อมูลส่วนตัวของเขา ก็ไม่ได้ ฯลฯ

ถ้าเอาสัตว์มาทดลองโดยตัดสมองออกทีละส่วนเพื่อดูว่า อะไรจะเกิดขึ้นถ้าตัดส่วนนั้นออกไป  ก็จะไปกระทบกับคำส่งสอนทางศาสนาที่สอนไม่ให้ทรมานสัตว์ คนกลุ่มนี้ก็จะตั้งคำถาม ฯลฯ

ก็น่าเห็นใจกันทั้งสองฝ่ายแหละครับ  แต่ความคิดเกี่ยวกับเรื่องนี้จะพัฒนาไปตาม "การศึกษา" และ "ระยะเวลา" ครับ

ดร.ไสว เลี่ยมแก้ว

ผม ทำงาน R&D มาร่วม 4 ปี ก็เพิ่งจะเห็นความต่างแง่ของความคิดก็ครั้งนี้ล่ะคับ

ท่าน ดร.ไสว เลี่ยมแก้ว คับ ขอบคุณที่เปิดตาอีกข้างของผมคับ

ชนินทร์ ปิ่นแก้ว

Research and development manager

ขอบคุณค่ะ

เพิ่งเข้าใจ

ขอบคุณค่ะ

สวัสดีครับ คุณชนินทร์ ปิ่นแก้ว และคุณ ต้อยติ่ง

ขอบคุณทั้งสองท่านมากที่เข้ามาอ่าน และแสดงความรู้สึกตอบสนอง อ้อ คิดว่าผมแปลถูกนะ Toiting = ต้อยติ่ง

ดร.ไสว เลี่ยมแก้ว

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท