การประเมินตามสภาพจริง (15)


การเรียนรู้ตามสภาพจริง (Authentic Learning) เป็นเรื่องเกี่ยวกับความสามารถของผู้เรียน ในการประยุกต์ใช้ทักษะที่เรียนรู้มาให้เข้ากับชีวิตจริงและสภาพแวดล้อมที่เป็นบริบท

บันทึกฉบับที่แล้วครูอ้อยเขียนเรื่อง  การวัดผลการเรียนรู้ด้านความเจตคติ  ท่านผู้อ่านสนใจและอ่านได้ที่ การประเมินตามสภาพจริง (14)  ส่วนในฉบับนี้  ครูอ้อยจะเขียนเรื่อง  การสำรวจ   

การสำรวจผู้สอนอาจใช้เครื่องมือที่เรียกว่า....แบบสำรวจร่องรอย ซึ่งคล้ายแบบสำรวจรายการ  เพียงแต่เน้นการมองภาพรวมจากร่องรอยของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเรื่อยๆ  ตามที่ได้วิเคราะห์  กำหนดชุดของพฤติกรรมหรือเหตุการณ์ที่บ่งชี้ในลักษณะของพัฒนาการ  ซึ่งเป็นจุดเด่น  หรือเป็นตัวแทน  เหมาะกับการประเมินผลปลายทาง  ซึ่งแสดงพฤติกรรมพึงประสงค์ 

เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินสภาพจริง  จึงมีหลากหลายให้ครูผู้สอนเลือกมาใช้ให้สอดคล้องเหมาะสม  เพื่อชี้ให้เห็นภาพที่ชัดเจน  เกี่ยวกับความสามารถที่แท้จริงของนักเรียน ตามพัฒนาการทั้ง3 ด้าน  ที่เป็นสาระสำคัญในวิชาต่างๆ 

นอกจากนี้ยังช่วยกระตุ้น  ให้นักเรียนเกิดแรงจูงใจในการทำงาน  ทั้งช่วยให้เกิดความเข้าใจถึงแก่นสาระสำคัญต่างๆ  และกระบวนการเรียนรู้ที่ได้เรียนรู้ไปมากขึ้น 

แนวทางการประเมินผล  และเครื่องมือประเมินผล  ที่ได้นำเสนอมาทั้งหมดนี้  เป็นเพียงหลักการ  และแนวทางเบื้องต้น 

ในการพิจารณาเลือกใช้เครื่องมือให้เหมาะสม  รายละเอียดในการสร้างและพัฒนาการวัดผลประเมินผลที่ดี  จะพบได้จากร่องรอยการสังเกตและการวิเคราะห์  พฤติกรรมการแสดงออกของนักเรียน 

ซึ่งเป็นข้อมูลเกี่ยวกับประสบการณ์เฉพาะตัวของนักเรียนแต่ละคน 

การประเมินผลที่หลากหลายเหล่านี้  เป็นการนำเสนอวิธีการเฝ้าระวังพฤติกรรม  การเรียนรู้ของนักเรียนในแนวที่กว้างขึ้น  ซึ่งช่วยกระตุ้นให้มองเห็นนักเรียนในภาพรวม  จากพฤติกรรมการแสดงออกของนักเรียนในการเรียนรู้  อันจะทำให้ครูผู้สอนสามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้  ในการวางแผนที่จะช่วยเหลือนักเรียนตามความต้องการตามความจำเป็น 

นอกจากนี้ยังทำให้ครูผู้สอนมีความสนใจ  เอาใจใส่ต่อประสบการณ์ของนักเรียนอย่างละเอียดลึกซึ้งมากขึ้น  มีจุดอ้างอิงที่สามารถระบุความต้องการจำเป็นและจุดแข็งของนักเรียนได้อย่างเป็นรูปธรรม  ซึ่งจะช่วยให้นักเรียนสามารถสะท้อนการพัฒนาของตนเองได้ 

ข้อมูลที่สะท้อนออกมาเหล่านี้มีความหมายต่อตัวนักเรียนเอง  ซึ่งแตกต่างไปจากคะแนนร้อยละ  หรือการให้เป็นระดับคะแนน  

การประเมินและการพิจารณาตรวจสอบคุณลักษณะของนักเรียนจึงควรผสมผสานกันไปในระหว่างการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับการวัดผลประเมินผล  ที่กำหนดไว้ในมาตรา 26  ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542  และหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2544 

ครูอ้อยก็จะขบบันทึกเรื่อง  การประเมินผลตามสภาพจริง  แต่เพียงเท่านี้ 

บันทึกฉบับหน้า  คงจะเป็นเรื่อง.....การประเมินทักษะทางภาษา  ซึ่งท่านผู้สนใจติดตามอ่านได้นะคะ..ขอบคุณค่ะ

 

หมายเลขบันทึก: 74269เขียนเมื่อ 25 มกราคม 2007 06:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 พฤษภาคม 2014 15:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีค่ะ ครูอ้อย

  • ขอตอบคำถามครูอ้อยว่าดู Blogger ของม.อ แล้วหน้าตาเด็กๆ ครูอ้อยอาจเห็นภาพลวงตาบางรูปนะ
  • มีผู้สูงอายุบางคนในบันทึกคุณไมโต มีผ้าคลุมไหล่สี้หลืองนะ อายุมากแล้วนะ มากกว่าครูอ้อยนะ ขอยืนยัน นั่งยันและนอนยัน ให้ดูประวัติได้นะ
  • แต่อายุไม่สำคัญเราเป็นเพื่อนกันนะคะ.....คุณครูขา
  • ชื่นใจอ่านบันทึกครูหลาย มีครูดีในเมืองไทยอีกหลาย
  • และขอให้พวกเราส่งใจถึงครูใต้ด้วยนะคะ

สวัสดีค่ะ  นาง อัมพร อรุณศรี

  • ครูอ้อยประเมินโดยรวมค่ะ 
  • แต่ครูอ้อยก็ไม่ค่อยสนใจหรอกค่ะ เวลามีใครมาทักว่า  ครูอ้อยยังสาวกว่าวัย..ว้าว....หลงตัวเองด้วยค่ะ
  • ตกลง  เรา  เป็นเพื่อนกันนะคะ  แล้วครูอ้อยก็จะแวะไปคุยในบันทึกของชาว มอ.นะคะ
  • ขอบคุณแทนครูไทย  ที่เป็นแรงกำลังใจกันค่ะ

กรุงเทพฯ เย็นสบายค่ะวันนี้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท