มหาวิทยาลัยกับงานวิจัย การปรับเปลี่ยนเพื่อภารกิจสร้างสรรค์ปัญญา ตอนจบ (1)


ที่สำคัญคือ อาจารย์จะต้องมี “กิจกรรมวิชาการ” อยู่อย่างสม่ำเสมอ อันได้แก่ การวิจัย วารสาร สโมสรวิจัย การจัดประชุมวิชาการ เป็นต้น และเปิดโอกาสให้นิสิตนักศึกษาได้เข้าร่วม “สร้างสรรค์” ใน “สภาพจริง” ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ไม่ใช่เรียนจากสภาพจำลองเพียงอย่างเดียว

         < เมนูหลัก >

         ตอนจบ (1)

         ปรับเปลี่ยนเชิงโครงสร้างมหาวิทยาลัย ภารกิจหลักสร้างสรรค์ปัญญา

         นวัตกรรมการเรียนรู้

         รูปแบบการเรียนรู้ในมหาวิทยาลัยควรเปลี่ยนแปลงในระดับที่เรียกว่า “ยกเครื่อง” (re-engineering)โดยยึดหลักว่าจะต้องเป็นการเรียนรู้ ที่ส่งเสริมความงอกงามทางปัญญา ทั้งของศิษย์และอาจารย์ เป็นการเรียนรู้ที่ก่อความสุขความปีติ เป็นการเรียนรู้ที่สร้างสรรค์หรือเปิดจินตนาการที่กว้างไกล และเป็นการเรียนรู้ที่ยึดสภาพความเป็นจริง ในธรรมชาติและในสังคมเป็นฐาน

         การสอนแบบบรรยายบอกเนื้อหาวิชาควรเหลือน้อยที่สุด ทดแทนด้วยตำราและสื่ออย่างอื่น โดยมีเวลาสำหรับแลกเปลี่ยนระหว่างนักศึกษากับอาจารย์ นักศึกษากับนักศึกษาด้วยกันเองมีมากขึ้น สร้างรูปแบบของการเรียนรู้ที่จะทำให้เกิดความงอกงามในทุก ๆ ด้านอย่างสูงสุด ให้มีความยืดหยุ่นเฉพาะตัวสูง

         ที่สำคัญคือ อาจารย์จะต้องมี “กิจกรรมวิชาการ” อยู่อย่างสม่ำเสมอ อันได้แก่ การวิจัย วารสาร สโมสรวิจัย การจัดประชุมวิชาการ เป็นต้น และเปิดโอกาสให้นิสิตนักศึกษาได้เข้าร่วม “สร้างสรรค์” ใน “สภาพจริง” ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ไม่ใช่เรียนจากสภาพจำลองเพียงอย่างเดียว

         นิสิตนักศึกษาที่แสดงอัจฉริยภาพในด้านใดด้านหนึ่ง ควรได้รับการส่งเสริมในรูปแบบต่าง ๆ คนที่แสดงอัจฉริยภาพด้านการวิจัย อาจส่งเสริมให้เข้าโครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษา ให้ไปทำงานวิจัยกับศาสตราจารย์ที่เก่งที่สุดในเรื่องที่นักศึกษาผู้นั้นสนใจ เป็นระยะเวลาหนึ่ง เช่น 3 หรือ 6 เดือน

         โดยมุ่งหวังว่า อาจเป็นกลไกสร้าง “อัจฉริยะผู้สร้างสรรค์วิชาการ” ให้แก่สังคม กระบวนการเช่นนี้ทำ 10 ครั้ง 100 ครั้ง ได้ผลสร้างอัจฉริยะเพียงครั้งเดียว ก็เกินคุ้มแล้ว หากมองในเชิงผลต่อสังคมระยะยาว

         บทความพิเศษ ตอนจบ (1) นี้ได้ จากหนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ ปีที่ 9 ฉบับที่ 2823 (109) 13 มิ.ย. 39 พิเศษ 6 (บทความไอที)

         เขียนโดย ศ.นพ.วิจารณ์  พานิช

         วิบูลย์ วัฒนาธร

 

หมายเลขบันทึก: 7411เขียนเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2005 13:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท