รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง


คำถามที่น่าสนใจคือ ระหว่างรู้เขา กับ รู้เรา อะไรสำคัญกว่ากัน
    

รู้เขา  รู้เรา   รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง

 

     ผมได้ยินคำพูดนี้ เมื่อตอนเรียนอยู่ ม.ศ.4 เมื่อกว่ายี่สิบปี ตอนนั้นไปอบรมเกี่ยวกับความมั่นคง ของ กอรมน. เนื้อหาของการอบรมเป็นการให้ความรู้เกี่ยวกับการต่อสู้กับขบวนการคอมมิวนิสต์ ซึ่งในขณะนั้นถือเป็นภัยร้ายหนึ่งของประเทศ

 

     แน่นอนครับ การรู้เขา เป็นการศึกษาคู่แข่งของเรา ว่าเขาเป็นอย่างไร ทำอะไรได้แค่ไหน มีแนวโน้มจะทำอะไรต่อไปในอนาคต เพื่อที่เราจะได้วางแผนการแข่งขัน ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง หรือต่อสู้ได้อย่างทันเกม การรู้เขา เป็นสิ่งที่ผมได้ใช้จริง เมื่อคราวที่ร่วมหุ้นกับเพื่อนๆในการจัดตั้งธุรกิจของตัวเอง เมื่อสองปีที่ผ่านมา

 

     การรู้เรา เป็นการรู้ว่า เราเองอยู่ในสถานการณ์ไหน ทำอะไรได้แค่ไหน อย่างไร มีข้อจำกัดด้านไหนบ้างที่เราต้องแก้ไข มีเรื่องอะไรที่เป็นจุดแข็ง สามารถใช้ในการแข่งขันได้ดี

 

     การประมวลในภาพรวม ระหว่างการรู้เขา และการรู้เรา ทำให้เกิดกลยุทธที่จะใช้ในการแข่งขันที่เหมาะสม ระหว่างนั้น เราก็ติดตามการเปลี่ยนแปลงในตลาดว่า ยุทธวิถีที่ใช้นั้น ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งต่อตัวเรา และคู่แข่งของเราอย่างไร เพื่อประเมินสถานการณ์ของเคมเปญที่ใช้ในการเสนอขาย

 

     คำถามที่น่าสนใจคือ ระหว่างรู้เขา  กับ รู้เรา  อะไรสำคัญกว่ากัน

 

     ในความเห็นส่วนตัว ผมเชื่อว่าการรู้เขา เป็นสิ่งสำคัญต่อการต่อสู้ครับ แต่การรู้เราน่าจะเป็นสิ่งที่สำคัญกว่า เพราะการรู้เรา จะกำหนดวิธีการต่อสู้ และรู้ว่าในสถานการณ์ใด เราควรต่อสู้อย่างไร ควรหลบ ควรหลีก หรือควรปะทะตรงๆ

      การที่จะรู้เขา เป็นสิ่งที่ไม่ยากเกินความพยายามครับ แต่การรู้จักตัวเราบางครั้งก็เป็นความยากเย็นเข็นใจ มีใครบ้างครับ ที่รู้จักตัวตนของตัวเองเป็นอย่างดี
คำสำคัญ (Tags): #ข้อคิด
หมายเลขบันทึก: 73713เขียนเมื่อ 21 มกราคม 2007 08:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 15:10 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (25)

สวัสดีค่ะคุณไมโต

  • รู้เขาไว้ก็ดีนะคะ  เผื่อว่า  จะได้ทำตัวได้ถูกต้องเหมาะสม
  • รู้เรา  ก็ดี  จะได้ทำตัวได้ถูกต้อง
  • รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง  ...ชอบมากค่ะ
  • อะไรที่แรงกว่า  เราก็หลบสิคะ  ไม่ปะทะแน่นอน
  • แต่อย่าเผลอ...ช้าง..ยังล้มเพราะมดได้เลย..อิอิ

ขอบคุณค่ะ  ข้อคิดเตือนใจในยามเจอศึกที่ใหญ่กว่า

สวัสดีตอนเช้าครับ ครูอ้อย
  • เคยมีผู้ประเมินไว้ว่า การไม่รู้เขา แม้จะสร้างความเสียหายต่อตัวเรา แต่การไม่รู้เรา สร้างความเสียหายได้มากกว่าครับ
  • วันนี้ไม่ไปเรียนเหรอครับ ครูอ้อย
  • รู้เขา เท่าๆ กับรู้เรา น่าจะดีกว่ารู้อะไรมากกว่ากัน
  • แต่ควรรู้เราก่อน ส่วนรู้เขา นั้นค่อยว่ากันทีหลังครับ
  • สวัสดีตอนเช้าครับ ทั้งครูอ้อย และคุณไมโต

สวัสดีค่ะคุณหมอ  และคุณไมโต

  • ครูอ้อยตามหลังคุณหมอมาจากห้องผ่าตัดค่ะ
  • ครูอ้อยไม่ได้ไปเรียนค่ะวันนี้  อาจารย์ให้เรียนใน GotoKnow ค่ะ..ยิ้มยิ้ม

คุณหมอรีบกลับไปดูคนไข้นะคะ

เดี๋ยวผมขอตามไปด้วยคนครับ
  • ผมว่าสำคัญทั้งสองอย่างแต่  รู้เรา 
  • น่าจะสำคัญกว่า การบังคับใจเป็นเรื่องลำบาก ถ้ารู้เราแล้วปฎิบัติไม่ได้ก็แย่เหมือนกัน
  • ขอบคุณครับผม
  • ทุกท่านครับ
  • ตอนนี้รู้แต่ว่า เว็บไม่ดีครับ
ใช่ครับ เช้าวันนี้ที่ มอ. ไฟฟ้าดับครับ ไม่รู้ว่าเกี่ยวกับ g2k หรือเปล่า
  • รายงานข่าวสั้น
  • ตอนนี้ดีแล้วครับ
  • สวัสดีตอนบ่ายค่ะ   วันนี้ก็ไร้สิ้นแววของลูกค้าค่ะ  เลยสบาย สบาย ชิว ชิว ค่ะ ก็ขายเกือบหมดแล้ว เหลือ 2 หลังเองค่ะ
  • ตอนนี้ที่ดิฉันต้องรู้เค้า และพยายามบอกให้เค้ารู้ คือ ดิฉันเบื่อมาก เมื่อไม่มี Product ให้ขายแล้วเนี่ย   เมื่อไหร่ หนังสือเลิกจ้างจะมาเสียที  ดิฉันอยากไป อยากไป แต่ก่อนอื่น ต้องจ่ายค่า commissions + ค่าเลิกจ้าง 3 เดือนมาก่อนค่ะ  ไม่อยากรอ Project ต่อไปอีกเลย  อยากพัก พัก และพัก สักเดือน
  • ดิฉันรู้ตัวเองดีว่า เป็นคนขี้เบื่อเอามากๆ หากต้องอยู่เฉยๆ ๆๆๆ  ไม่มีงานให้บริหาร ให้ทำ แต่ต้องแกร่วๆๆๆ มานั่งๆๆ รอรับเงินเดือน  แต่ไม่มียอดขายในอนาคตอีกแล้ว เพราะขายหมดแล้ว
  • บ่นเล็กๆๆ ค่ะ คุณไมโต  อยากไปเกิดที่อื่นอีกน่ะค่ะ เรื่องของเรือง อยากไปทำงานกับฝรั่ง (แม้จะค่อนข้างไม่รักฝรั่งเอาเสียเลย) เปลี่ยนบรรยากาศบ้างค่ะ
  • บ๊าย บาย
  • เห็นด้วยค่ะ ว่าสำคัญทั้งสอง รู้เรายิ่งสำคัญ
  • แต่รู้เรายากมากกว่า....บางทีเราดูคนอื่นออกว่าเขามีลักษณะอย่างไร นิสัยอย่างไร เก่งอะไร
  • แต่เรากลับไม่รู้ว่าเรามีลักษณะอย่างไร นิสัยอย่างไ เก่งอะไร....หลายคนจึงไปให้หมอดูบอก หรืออ่านจากดวง
  • แต่การรู้เขาก็ทำให้เราวางแผนการต่อสู้ได้ดี มีโอกาสชนะมากกว่า......

สวัสดีค่ะ คุณไมโต,

 

เป็นประเด็นที่น่าสนใจมากค่ะ  ขอร่วมคิดด้วยคนนะคะ

 

คิดว่าคนส่วนใหญ่ไม่ค่อยจะ "รู้เรา" น่ะค่ะ

 

เพราะถ้า "รู้เรา" จริง ๆ แล้ว  

 

บางทีก็ไม่ต้อง "รบ" ด้วยซ้ำไปค่ะ

 

แต่อันนี้ก็อาจจะเป็นเรื่องของปัจเจกเกินไป

 

 

ถ้าในเชิงธุรกิจ  คิดว่ายังไง win-win situation มันก็มี

 

มี Game Theory รองรับด้วยซ้ำ

 

นั่นก็คงต้องทั้งรู้เขา และ รู้เรา

 

 

แต่ในที่สุดแล้ว

 

ถ้าจะให้วนมาเข้าเรื่องถึงการรบจริง ๆ

 

เหมือนคุณไมโตเปิดประเด็นไว้ตอนแรกนั้น

 

ก็จะคิดว่าพระพุทธพจน์นี้น่าจะเหมาะนะคะ

 

                  "....ชนะศัตรู พันคน พันครั้ง

 

                  ก็ยังไม่จัดว่าเป็นยอดขุนพล

 

             ต่อเมื่อใดชนะใจตนเพียงหนึ่งคน

 

          จึงจัดว่าเป็นยอดขุนพลอย่างแท้จริง...." 

 

สวัสดีค่ะ,

 

ณัชร 

 

  • เน็ตไม่ดีจริงๆค่ะคุณไมโตและคุณหมอ  ครูอ้อยนั่งรอตั้งนานกว่าจะออกมา
  • คุณไมโตเรียน มศ.4   มีคอมมิวนิสต์  คงจะสมัยครูอ้อยเป็นครูหมาดๆ  อบรม  ก.อ.รมน.ค่ะ
  • ยังจำสำนวนว่า  " เสียเวลาปลูกพริก " ของคอมมิวนิสต์ได้เลยค่ะ
  • และขอเสริมเรื่อง  รู้  ว่า  หากเราเองยังไม่รู้ตัวเรา  อย่าหวังว่าจะไป  รู้คนอื่นหรอกค่ะ

เน็ตเริ่มคล่องแล้วค่ะ

คิดว่า รู้เรา สำคัญและยากกว่ามากเลยครับ

เห็นด้วยกับคุณณัชร ในเรื่องสุดยอดการรบ คือการไม่รบ ครับ

เคยอ่านเจอในหนังสือแมงกระพรุนถนัดซ้าย ของ พี่จิก (ประภาส ชลศรานนท์) และ Capture ความรู้เก็บไว้ เห็นว่าเข้ากันได้ เลยเอามาฝากครับ

ใน ตำราพิชัยสงครามของซุนวู โดย แกรี่ แกเกลียดิ ของบริษัท เออาร์ บิซิเนสเพรส จำกัด มีหลายประโยคจากตำราพิชัยสงคราม ที่พี่จิกนำเสนอ ที่โดนใจ เช่น
"รู้เขารู้เรา ร้อยรบมิรู้พ่าย"

"บุกต้องมิหวังคำยกย่อง ถอยต้องมิกลัวอับอาย"

"จุดอ่อนห้าประการของแม่ทัพคือ
สู้ตายอาจถูกฆ่า
กลัวตายอาจถูกจับ
ฉุนเฉียวอาจถูกยั่ว
เย่อหยิ่งอาจถูกหยาม
ขี้สงสารอาจถูกก่อกวน"


แต่ที่เป็นสุดยอดประโยคที่คมที่สุดในตำราสงครามเล่มนี้ คือ
"รบร้อยชนะร้อย ยังหาใช่ความยอดเยี่ยมไม่
มิต้องรบแต่ชนะได้ จึงเป็นความยอดเยี่ยม"


พีจิกแกบอกว่าซุนวูเป็นนักปรัชญามากกว่านักการทหารประมาณขงเบ้งนั้นเลย ท่าจะจริง

อาจารย์หมอสมบูรณ์ครับ

  • วันนี้เน็ต ดีบ้าง เสียบ้าง พอได้กวนอารมณ์บ้างครับ แต่ยังสบายๆ ชิว ชิวครับ

คุณอรครับ

  • งานของคุณอร เป็นลักษณะที่เรียกว่า เป็นโปรเจ็ก หรือเป็นจ๊อบๆ คือมีการ contact เป็นโครงการ พอเสร็จโครงการหนึ่งก็ว่างไปจนกว่าจะมีโครงการใหม่ ช่วงนี้พอขายโครงการหมด ก็เลยเหมือนไม่มีอะไรทำ น่าเห็นใจครับ การเดินไปเดินมาโดยไม่ต้องทำงาน แถมยังได้รับเงินเดือนนี่ ใครว่าสบายครับ ในส่วนตัวผมรู้สึกแปลกๆครับ
  • หวังว่าคุณอร คงได้พบกับงานที่ตัวเองชอบ และทำด้วยความสุขตลอดไปครับ อย่าได้ว่างงานเลย....

อาจารย์ paew ครับ

  • แม้ว่ารู้เขาจะยาก แต่การรู้จักเรากลับยากกว่า.....น่าแปลกใจครับที่คนบางคน กลับไปให้คนแปลกหน้าที่ไม่เคยรู้จักกันบอกให้รู้ว่า เราเป็นคนอย่างไร .....ถ้าดูกันสนุกๆ เพื่อเพิ่มรสชาดให้ชีวิตก็แล้วไป แต่บางคนเชื่อได้เป็นวรรคเป็นเวร เห็นแล้วน่าอนาจใจครับ

คุณ ณัชร ครับ

  • ผมเห็นด้วยกับคุณณัชรครับ ว่า การที่รู้เรา รู้เขาอย่างแท้จริงนั้น บางครั้งเราอาจชนะได้โดยไม่ต้องรบครับ

ครูอ้อยครับ

  • การรู้เรา และรู้เขา นี่เป็นศิลปครับ หมายถึงเรียนรู้กันได้จากการฝึกฝน ทุกคนสามารถทำได้ หากมีความพยายาม ส่วนจะทำได้ดีมากน้อยเพียงใด ขึ้นกับพรสวรรค์และความพยายามของแต่ละคน บางครั้งเราอาจจะบอกว่า เรารู้จักเขา บางครั้งเราอาจจะบอกว่าเรารู้จักเรา โดยที่แท้จริงแล้ว อาจเป็นเพียงความเข้าใจผิดของเราครับ ซึ่งเป็นสิ่งที่อันตรายในการวางแผนงานครับ
  • หลายครั้งกับหลายเหตุการณ์ ผมมักจะถามย้อนกลับไปว่า เหตุผลที่ได้รับฟังมา เป็นสาเหตุที่แท้จริงหรือเป็นเพียงข้ออ้าง เพราะถ้าเราเข้าใจผิดไปจากความเป็นจริง การตอบสนองก็จะเป็นคนละเรื่องทันที

 

คุณผู้ไม่ประสงค์ออกนามครับ

  • ขอบคุณครับที่ช่วยเติมเต็มความเห็นให้สมบูรณ์ขึ้น
  • สิ่งเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็นตำราพิชัยสงคราม หรือปรัชญาก็ตาม เป็นสิ่งที่ใช้เป็นหลักการในการพัฒนาตน และพัฒนางานได้ทั้งสิ้น ในความเป็นจริงเราไม่ได้ไปรบราฆ่าฟันกับใคร แต่การแข่งขันภายในองค์กร หรือนอกองค์กรก็ตาม เปรียบไปก็ไม่ต่างจากการทำสงครามสักเท่าใด เพียงแต่สงครามในที่นี้ เป็นการต่อสู้ทางสติปัญญาเพื่อให้งานของเราก้าวหน้าไปตามแผนงานที่วางไว้ มิใช่การฆ่าฟันให้บรรลัยกันไปข้างหนึ่งครับ

อรุณสวัสดิ์ค่ะ คุณไมโต

  • ไม่พบกันนานเลย...สบายดีนะคะ...คิดถึ้งงงง...คิดถึงงงงง....
  • เป็นไงบ้างคะ.....สบายดี ชิวๆ...ใช่ไหม...ดิฉันไม่อยู่ยิ่งสบายชิวๆใหญ่เลยละซี
  • ฮั่นแน่...รู้ด้วยว่าฉันทำน้ำเต้าหู้เป็น...ค่ะ.....เป็นเต้าหู้.....ยี้.......
  • ฉันว่า....."รู้ระหว่างเรา"....ดีที่สุดในโลกค่ะ
  • สมัยคุณมี ม.ศ.4ด้วยเรอะ..ต๊าย..ตาย...ฉันน่ะยังไม่เกิดเลย...ฮิ...ฮิ...
ปกตินิวไม่ค่อยรู้คนอื่นหรอกคะ รู้แค่เรื่องตัวเอง มองตัวเอง ว่าทำไมเราถึงคิดแบบนี้ ทำไมเราถึงไม่เห็นคิดเหมือนคนอื่น แค่นี้ก็สงสารคนอื่นแย่พอแล้วคะ ไม่อยากมีเรื่องทะเลาะกับใครเพราะเราคิดเหมือนใครไงคะ ฮือ ๆ
เพราะเราคิดไม่เหมือนใคร ไง พิมพ์ตกคะ

คุณไมโตค่ะ

     ตกลงวันนี้ที่ให้ไปเปิดได้รึเปล่าค่ะ  ถ้าเปิดไม่ได้บอกด้วยนะคะ ดิฉันจะได้ตามไปเปิดให้

    

สวัสดีอีกทีค่ะ คุณไมโต,

 

ขอบพระคุณค่ะ ที่กรุณาตอบข้อคิดเห็น

 

แต่สงสัยตัวเองจะเขียนไม่เคลียร์เอง

 

เพราะจริง ๆ สิ่งที่นำมาเสนอหนแรกทั้งหมด  ไม่ได้เกี่ยวกับการ "ชนะ" เลยสักอย่างค่ะ

 

ลองอ่านดี ๆ อีกครั้งนะคะ :)

 

จริง ๆ แล้ว  ตั้งใจจะบอกว่า

 

ตัวเองคิดว่า  การ รู้เรา นั้น น่าจะเป็นสิ่งที่เริ่มต้นทำก่อน

 

เพราะบางที  พอ "รู้เรา" แล้ว  อาจไม่ต้องรบ

 

มาถึงจุดนี้  ไม่ต้องรบ  ไม่จำเป็นว่า  ต้องแปลว่า ต้องมีการ "ชนะ" เกิดขึ้นน่ะค่ะ

 

เพราะมันอาจหมายถึง  การพัฒนาจากแค่การ

 

"รู้เรา"

 

ไปเป็น

 

"รู้"

 

เฉย ๆ 

 

ในแง่ของการ "ตื่นรู้" น่ะค่ะ

 

เพราะถ้าไม่มี "เรา" ได้เมื่อไหร่แล้ว......

 

" ........"

 

เติมคำในช่องว่างเอาเองก็แล้วกันนะคะ

 

สวัสดีค่ะ,

 

ณัชร

ใช่ค่ะ คุณไมโต "รู้เรา"  บางครั้งก็ยากนะ ไม่รู้เหมือนในบางครั้งว่าจะตัดสินใจอย่างไรจ๊ะ พ่อ Family Man
คุณกฤษณาครับ
  • เราก็เรียน ม.ศ. 4 กันมาไม่ใช่เหรอครับ ทำเป็นจำกันไม่ได้เสียแล้ว อย่างนี้ต้องหาน้ำมะพร้าวทานบ้างแล้วนะครับ
น้องนิวครับ
  • ตอนที่เราเรียน เราอาจจะไม่ค่อยมีสัมพันธ์ใกล้ชิดกับใครได้ เพราะมุ่งแต่ทำงานของเราให้เสร็จเรียบร้อยและงานของเราก็มักจะไม่ค่อยได้ติดต่อกับคนอื่น แต่ชีวิตการทำงาน มักต้องติดต่อกับคนอื่นๆ เพื่อให้งานของเราสำเร็จลงด้วยดี ดังนั้นการประสานงานกับคนอื่น เป็นเรื่องที่ใช้ศิลปะครับ การรู้เขา รู้เรา ช่วยให้การติดต่องานต่างๆกับบุคคลต่างๆ ง่ายขี้นและมีปัญหาลดลงครับ อาจไม่จำเป็นต้องรบกันครับ
  • การคิดไม่เหมือนคนอื่น เป็นเรื่องที่ดีครับ การมีมุมมองที่แตกต่างทำให้เรามองภาพต่างๆได้ละเอียดมากขึ้น แต่เมื่อแตกต่างแล้ว ต้องคำนึงถึงคนที่คิดไม่เหมือนเราด้วยครับ ในหลายๆครั้ง ผมเคยพบว่า เมื่อเสียงส่วนใหญ่มีความเห็นสอดคล้องกัน แล้วมักจะดูถูกเสียงที่แตกต่างออกไป ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสมครับในการประชุมร่วมกัน
  • การทำงานของเราให้สำเร็จ ส่วนหนึ่งคือต้องขายความคิดของเราให้ได้ครับ ไม่ว่าเราจะคิดเหมือนหรือแตกต่างจากคนอื่นก็ตาม หากเราไม่สามารถขายความคิดของเราให้คนอื่นคล้อยตามได้ เราก็จะไม่สามารถทำเป้าหมายของเราให้เป็นเป้าหมายขององค์กรได้ สุดท้ายเมื่อรวมกับเสียงส่วนใหญ่ เราก็จะเป็นเพียงผู้ตามครับ การที่เราสามารถขายความคิดของเราให้ผู้อื่นเห็นด้วย เราก็จะสามารถทำเป้าหมายของเราให้เป็นเป้าหมายของส่วนรวมได้ เราก็จะมีบทบาทมากขึ้นในองค์กรครับ
คุณรัตติยาครับ
  • ผมได้ลองดูแล้ว ปรากฎว่าในเว็บนั้น ล็อคไว้สำหรับการใช้ภายในคณะวิทย์ครับ การ access จากเครื่องคณะอื่นจะไม่สามารถ download ไฟล์ต่างๆ ในเว็บนั้นได้ครับ
คุณณัชรครับ
  • การแข่งขัน การต่อสู้ การรบ หรืออะไรก็ตามแต่ที่เราจะเรียกนั้น คงแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ครับ คือ การแข่งขันกับบุคคลอื่น และการแข่งขันกับตัวเอง
  • การแข่งขันกับคนอื่น การรู้เขา รู้เรา ช่วยให้เราประเมินสถานการณ์ต่างๆได้ใกล้เคียงกับความเป็นจริง ซึ่งทำให้เราชิงความได้เปรียบในการต่อสู้ได้ครับ
  • ส่วนการแข่งขันกับตนเอง เป็นการพัฒนาให้เรารู้เท่าทันใจตัวเองครับ โดยมีเป้าหมายเพื่อยกระดับจิตใจตัวเองให้สูงขี้น ซึ่งคงไม่ได้เน้นเรื่องการชนะหรือแพ้เป็นหลัก
พี่อัมพรครับ
  • การรู้เรา เป็นเรื่องยากครับ แม้ว่าเราจะอยู่กับตัวเองมานานมากแล้วก็ตาม เพียงแค่ถ้าเขียนบอกว่าตัวเองมีนิสัยอย่างไร อาจมีบางคนอยากส่งเพียงหน้ากระดาษเปล่าๆที่ไร้ร่องรอยของน้ำหมึก เพราะไม่รู้ว่าจะเขียนอะไรลงไปดี

คุณไมโต ค่ะ

     ยังไง พรุ่งนี้ จะ list รายชื่อหนังให้นะคะ  แล้วถ้าสนใจเรื่องไหน บอกมาได้เลย จะให้น้อง ๆ ฝึกงานช่วยโหลดให้ค่ะ

ขอบคุณมากครับ คุณรัตติยา
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท