การพัฒนาสื่อ Interactive Multimedia ตอนที่ 2


กว่าจะออกมาเป็นสื่อเพื่อการเรียนรู้แต่ละเรื่องต้องใช้ความพยายาม และความสามารถพอสมควร

   หลังจากทดลองทำสื่อตอนสั้นๆ พอมีประสบการณ์แล้ว ก็เริ่มทดลองทำแบบเต็มรูปแบบโดยต้องอาศัยการระดมความคิดร่วมกันว่าน่าจะทำอย่างไร โดยเนื้อหาที่หยิบมาทำคือ หลักสูตรการศึกษานอกโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายวิชาทักษะชีวิต 1 การทำในครั้งนี้เริ่มซับซ้อนขึ้น เพราะมีเนื้อหาวิชาทั้งหมด 123 เรื่อง ที่ผ่านมาลองทดลองทำเพียงเรื่องเดียว

   ขั้นตอนการทำ
     การวิเคราะห์เนื้อหา ตอนนี้ ไม่ต้องวิเคราะห์เนื้อหากันแล้ว เพราะให้เดินตามเนื้อหาในแบบเรียนเพราะเป็นแบบเรียนที่สำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียนพัฒนาขึ้นตาม ตามหลักสูตรการศึกษานอกโรงเรียน
    ออกแบบโครงสร้างสื่อ ต้องนั่งจินตนาการกันว่า เมื่อผู้เรียนเข้ามาเรียนสิ่งแรกจะให้เขาพบอะไร หรือทำอะไร และต่อไปทำอะไร จนกระทั่งเรียนรู้จบเนื้อหาทั้ง 123 เรื่องแล้วจะไปไหน แล้วเขียนออกมาเป็นเหมือนเส้นทางของการเรียนรู้ในวิชามักษะชีวิต 1 ถ้าเป็นภาษาการเขียน webpage ก็คือ การสร้าง Navigation แล้วสร้าง site map
     เขียนแผนภูมิการเชื่อมโยงเนื้อหา หรือ Flow Chart โดยดูจาก โครงสร้างของสื่อเป็นหลัก แล้วมาพิจารณาร่วมกับเนื้อหาของแต่ละเรื่อง แล้วเขียนเส้นทางการเรียน ว่า ผู้เรียนจะเข้ามาเรียนอย่างไร ต้องเรียนเรื่องอะไร ก่อน-หลัง หรือสามารถเลือกเรียนอย่างไรก็ได้  เขียนออกมาอย่างละเอียด
      สร้าง Story board โดยนำมาจากแผนภูมิที่สร้างไว้ มากำหนดภายละเอียดแต่ละหน้า ถึงขั้นตอนนี้ต้องใช้จินตนาการกันอย่างมากอีกครั้ง ว่า แต่ละเนื้อหา จะให้ผู้เรียนเข้ามาเรียนรู้อย่างไร จะนำเสนอเนื้อหาอย่างไร มี Multimedia อย่างไรบ้าง ซึ่งแต่ละคนได้ฝึกทำ และเอาไปคิดเป็นการบ้าน  

คำสำคัญ (Tags): #multimedia
หมายเลขบันทึก: 73482เขียนเมื่อ 19 มกราคม 2007 16:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 พฤษภาคม 2012 09:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

อาจารย์ศรีเชาว์ ค่ะ

หนูขออนุญาตเพิ่มเติมนิดนึงค่ะ ในการทำสื่อ Multimedia ถือได้ว่าทำได้ยากนะค่ะ ที่ว่ายากคือ ยากในส่วนของการสื่อความให้ผู้เรียนเข้าใจได้อย่างไร ไม่ว่าจะเป็นสีสัน รูปภาพ หรือคำบรรยาย ซึ่งตรงนี้ก็มาเกี่ยวข้องกับโครงสร้างของสื่อด้วยเช่นกัน และเราจะรู้ได้อย่างไรว่าผู้เรียนจะเข้าใจในสื่อที่เสนอ หนูคิดว่าเบื้องต้นหลังจากที่อาจารย์ได้ทำ Flow Chart แล้วก็น่าที่จะทำการทดสอบโดยการใช้กลุ่มเป้าหมาย (ผู้เรียน) มาทดสอบความเข้าใจของโครงสร้างสื่อ เพื่อหาประเด็นที่ควรปรับปรุงและเพื่อให้อาจารย์เข้าใจมุมมองของผู้เรียนเพิ่มขึ้นด้วยคะ

   ขอบคุณ หนูมะปรางเปรี้ยวมาครับ ที่แนะนำ และเป็นเรื่องที่ถูกต้องอย่างมากด้วย ขอน้อมรับข้อเสนอแนะ ด้วยความขอบคุณครับ และไม่ใช่รับอย่างเดียว จะนำไปปฏิบัติทันที ตามคำแนะนำ โดยจะทำเป็น 2 ขั้นตอน ดังนี้

  1. ให้ข้อเสนอแนะโดยผู้เชื่ยวชาญสื่อ โดย หลังจากร่าง Story Board เรียบร้อยแล้ว  จะประชุมปฏิบัติการ แล้วให้ผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อมาช่วยกันพิจารณา แล้วปรับแก้ไข (ความจริง ผู้ร่าง Story Board ครั้งนี้ ทำงานร่วงมกัน ระหว่าง ผู้เชี่ยวชาญด้านการทำสื่อ และนักศึกษาฝึกงานระดับปริญญาตรี จึงเป็น Story Board ที่เป็นมุมมองของผู้ผลิตสื่อและผู้เรียน แต่ถึงอย่างไรก็ไม่สมบูรณ์แน่ๆ ตามที่หนูมะปรางเปรี้ยวแนะนำ)
  2. ทดลองสร้างสือต้นแบบ จำนวนหนึ่ง ไปทดลองใช้กํบผู้เรียน ตามที่หนูแนะนำ

   ต้องขอขอบคุณมากสำหรับคำแนะนำดีๆ และถ้ามีอะไรอีก ก็แนะนำมาได้ตลอดเวลานะครับ

ยินดีเป็นอย่างยิ่งค่ะ อ.ศรีเชาว์

สำหรับขั้นตอนดังกล่าวเป็นขั้นตอนที่ดีค่ะ การที่ผู้เชี่ยวชาญซึ่งมีความรู้เข้ามาช่วยดู จะทำให้การเก็บรายละเอียดได้ดียิ่งขึ้น นะค่ะ หลังจากนั้นก็คงต้องหาจุดที่ต้องปรับปรุง  

ส่วนขั้นที่ 2 ที่ทำการทดสอบกับผู้เรียน ถ้าจะให้ดีระหว่างทำการทดสอบให้ผู้เรียนอธิบายเกี่ยวกับความเข้าใจระหว่างการใช้สื่อไปด้วย อันนี้เน้นเรื่องเกี่ยวกับโครงสร้างของสื่อนะค่ะ เพื่อทดสอบดูว่าผู้เรียนเข้าใจมากน้อยแค่ไหน เพื่อสื่อการเรียนที่สมบูรณ์ที่สุดค่ะ

ปล.หนูตอบไปในคำถามแล้วด้วยนะค่ะ ข้อความเดียวกันค่ะ

แวะมาลงชื่อ รออ่านบันทึกต่อไปค่ะ  อยากรู้ว่าอ.ศรีเชาว์ ดำเนินการไปถึงไหนแล้ว

ตอนนี้ติดภาระกิจอื่นๆ วุ่นวายไปหมด ส่วนเรื่องทำสื่อ ก็กำลังร่าง Storyboard กันยังไม่เสร็จ เพราะเนื้อหาเยอะมากดูคร่าวๆแล้วประมาณ 500 page ดังนั้น ในตอนนี้ ยังไม่ถึงขั้นตอนออกไปทดลองให้ผู้อื่นดู แต่ใกล้จะเสร็จแล้ว ทีมงานก็ทำกันเต็มที่ แต่มีงานหลายด้าน ตอนนี้ก็กำลังจะเปิดอบรม ก็ต้องเตรียมหลักสูตรการอบรมอีก คืบหน้าอย่างไรจะบันทึกต่อครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท