ไก่ไข่ ห่างไกลวิถีชาวบ้านจริงหรือ


          จากที่ได้เข้าร่วมประชุมเสวนา การจัดการความรู้เรื่องไก่ไข่ในวิถีชีวิตชุมชน ที่สวนป่าครูบาสุทธินันท์ เมื่อวันที่  14 มกราคม 2550  ที่ผ่านมาตามโครงการวิจัยปรับปรุงพันธุ์ไก่ไข่เพื่อทดแทนการนำเข้าของกรมปศุสัตว์         

          หลายท่านอาจจะยังงงว่า แล้วโครงการนี้จะมาเกี่ยวข้องกับชาวบ้านได้อย่างไร         

          สมัยก่อนคงไม่เกี่ยวกับชาวบ้านแน่นอน เพราะงานวิจัยของหน่วยงานราชการเป็นงานที่ดูจะเป็นความลับ ลึกลับจนยากที่ชาวบ้านจะติดตามทัน  และหลายคนก็ไม่อยากตามเนื่องจากผลงานวิจัยต่าง ๆ ของหน่วยงานที่่มีความชำนาญเฉพาะเป็นผู้วิจัยนั้น ยังไม่ถึงมือชาวบ้านหรือไม่ได้ทำเพื่อชาวบ้านจริง                 

          แต่ ณ วันนี้ ฟ้าเริ่มเปิด  เปิดโอกาสให้ชาวบ้านได้พบปะพูดคุยร่วมกันกับนักวิชาการที่เป็นนักทดลองในห้องปฏิบัติ  โดยให้ชาวบ้านทำการวิจัยหรือเป็นผู้ปฏิบัติเองและมีนักวิชาการเป็นผู้ต่อยอดความรู้ คอยให้คำแนะนำเมื่อเกิดปัญหา ไม่ลอยแพชาวบ้านให้คิดเอง ทำเอง ขาดทุนเองเหมือนที่แล้ว ๆ มา                       

          ชาวบ้านจะไปไม่รอดถ้าจะเลี้ยงไก่ตามระบบฟาร์มขนาดใหญ่ เพราะไม่ทันเทคโนโลยี อีกทั้งสายป่านก็ไม่ยาวพอ  และการเลี้ยงในเชิงธุรกิจก็จะไปส่งเสริมแต่อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ซึ่งไม่สามารถเอาเกษตรกรรายย่อยไปผูกพันกับระบบธุรกิจขนาดใหญ่ได้ รวมทั้งมีข้อท้วงติงได้ว่าถ้าเกษตรกรรายย่อยทำแล้วไม่คุ้มทุน  รวมทั้งราคาไข่ไก่ในท้องตลาดก็ราคาสูง แม่พันธุ์ไก่ของบริษัทยักษ์ใหญ่ก็ราคาแพง

          จึงต้องพัฒนาสายพันธุ์ให้เหมาะสมกับชาวบ้าน ประเภทเลี้ยงง่าย ตายยาก เพียงแต่ต้องให้ชาวบ้านมีกระบวนการเรียนรู้ และเชื่อมความรู้ทั้งการปฏิบัติของตนเอง และสมาชิกในกลุ่ม ให้ได้ชุดความรู้ที่เหมาะสมกับตนเอง รวมทั้งผลิตอาหารเลี้ยงไก่ได้  อาชีพการเลี้ยงไก่ไข่ที่เป็นระบบจะไม่ไกลจากชาวบ้านอีกต่อไป แต่จะสร้างอาชีพที่หลากหลาย สร้างรายได้ที่มั่งคง เป็นสั่งคมที่มั่นคั่งและต้องพึ่งพาตนเองได้ในที่สุด

          ดังกรณีของพ่อทองที่เลี้ยงไก่บ้าน ประมาณ 20 ตัว ไว้บริโภคเนื้อและไข่ ที่ท่านได้ใส่ความรู้ความตั้งใจลงไปในไก่ด้วยอย่างเต็มที่ เพราะเล้าไก่ของพ่อทองนั้นน้ำท่วม อีกทั้งถ้าทำรังให้ไก่ไข่อยู่ต่ำมาก ก็จะทำให้ไข่สกปรก ซึ่งท่านบอกเห็นตัวอย่างจากฟาร์มขนาดใหญ่ที่ให้ไก่อยู่สูงจากพื้นดิน

         ปกติทั่วไปเราจะเห็นเล้าไก่มีชั้นเดียว แต่พ่อทองมีเล้าไก่สองชั้นเหมือนตู้นอนบนรถไฟก็ไม่ปาน หรืออาจยกระดับเป็นโรงแรมไก่ห้าดาวได้ไม่น้อยหน้าโรงแรมหมูของพ่อวิจิตร  ชั้นล่างเป็นพื้นดินมีไว้สำหรับไก่ลูกทุ่งคลุกดินคลุกทราย  ชั้นบนเป็นพื้นไม้ไผ่ แถมยังมีบันไดให้ไก่ที่ขี้เกียจบินปีนป่ายขึ้นได้สะดวก  มีรังให้ไก่ไข่ มีพื้นที่ให้ไก่นอนพัก ไม่ต้องนอนคลุกขีhไก่อีกต่อไป  วิธีการเหล่านี้อาจเป็นรูปแบบหนึ่งที่สามารถนำไปปรับใช้กับคนเลี้ยงไก่รายอื่นได้ ไม่ว่ากัน

          ไม่ต่างอะไรกับการเลี้ยงโค ที่ผู้เลี้ยงต้องการมากที่สุด คือ การพึ่งตนเอง โดยเฉพาะในเรื่องของอาหารถ้าหากผู้เลี้ยงโคสามารถผลิตอาหารที่ดีและมีคุณภาพที่เหมาะสมกับตนเองสำหรับเลี้ยงโคได้ตลอดปี ซึ่งจะส่งผลต่อราคาของโคให้สูงขึ้น  เกษตรกรก็จะรายได้สูงขึ้นและสามารถพึ่งตนเองได้ในที่สุด

          แต่ไม่ได้หมายความว่าจะเลี้ยงเฉพาะโคอย่างเดียวเท่านั้น เพราะการเลี้ยงโคจะต้องเชื่อมสัมพันธ์ไปถึงอาชีพทางการเกษตรอื่น ๆ ด้วยทั้งการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ควบคู่ไปด้วยกัน

หมายเลขบันทึก: 73169เขียนเมื่อ 17 มกราคม 2007 23:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

เขียนได้คมชัดขึ้น

แต่ควรพิจารณาในส่วนย่อหน้า เน้นข้อความ

ขอบคุณค่ะพ่อครู

         แก้ไขย่อหน้าและมีภาพประกอบเรียบร้อยแล้วค่ะ

ไปถ่ายภาพ คอกไก่โกโรโกโสมาจากที่ไหน
เป็นคอกไก่ของพ่อทอง ที่สร้างตามมีตามเกิดเพื่อหนีน้ำค่ะพ่อครู
รูปที่เป็นธรรมชาติ มีเสน่ห์ ถ้ามีภาพน่าสนใจ อยากให้ย่อเล็กลงแล้วส่งมาหน้าบทความ จะช่วยอธิบายงานได้เยอะเลย
 อ้าว! คอกโกโรโกโส หายไปไหน ภาพนี้แหละเด็ดนัก มันอธิบายว่า นักสารสนเทศมีมุมมองอย่างไร ไม่ใช่ไปมองแต่สิ่งสวยงามดีๆ สิ่งที่ไม่สวยงามมันก็มีค่าเท่าเทียมกัน บางทีจะมากด้วยซ้ำในแง่ของนักจัดการความรู้

ภาพเด็ดกลับมาแล้วค่ะ  จริงๆ แล้วพ่อทองมีคอกไก่ 2 หลัง หลังที่เห็นให้ไก่อาศัย

ส่วนอีกหลังให้ปรับใช้เป็นคอกเป็ด เพราะไก่เดินทางมาช้า เป็ดเลยยึดพื้นที่แทนเพราะถ้าปล่อยไว้จะเป็นการสูญเปล่าทางเศรษฐกิจ

ขอบคุณค่ะ

ครูดาอย่าลืมแวะไปถ่ายรูปคอกไก่แบบถูลู่ถูกัง ของผมไปลงบ้างเด้อ..สิบอกไห่

อีกไม่นานเกินรอค่ะพี่พงษ์  รอไข่ไก่ติดไม้ติดมือเป็นของฝาก แซว...  ค่ะ

คิดว่าคงได้ภาพเด็ด ๆ มาฝากพี่น้องชาว gotoknow  อย่างแน่นอน ก็ทั้งคอกและทั้งไก่ได้มาแบบโจรสลัดลักไก่ยามวิกาล พิสดารเกินใครเขาอยู่แล้ว

แต่ไก่ของพี่พงษ์คงไข่ดกเป็นพิเศษ เพราะฟังเทศน์ฟังธรรมบ่อย (ใกล้วัด) จริงหรือเปล่าค่ะ 

ผมกำลังเลี้ยงไก่ไข่อินทรีย์แบบปล่อยเพื่อเอาไว้บริโภคเอง รุ่นแรกซื้อมาให้คนสวน เป็นลูกเจี๊ยบเข้าใจว่าเป็นไก่ไข่ ซีพีบราวน์ จำนวน 5 ตัว ซื้อที่ร้านที่ตลาดอ.หนองไผ่ จ.เพชรบูรณ์ ตัวละ 47 บาท ต้องจอง นานหลายเดือนกว่าจะได้ และได้ไม่ครบตามที่จองไว้ ต่อมาชาวบ้านใกล้เคียงฝากจองด้วย ผู้ขาย (แม่ค้า มิใช่ร้านของซีพีโดยตรง) ปิดร้านหนี เชิดเงินมัดจำไป ไก่รุ่นแรกตอนนี้เริ่มไข่แล้ว ตอนเล็กให้อาหารสำเร็จ ตอนโตปล่อยให้หากินตามธรรมชาติ ที่สวนผมมีต้นไม้มาก ปลวกมาก

เมื่อวานผมไปซื้อไก่สาวซีพีบราวน์ที่ร้านเกษตรภัณฑ์ อ.บึงสามพัน จ.เพชรบูรณ์ มา 8 ตัว ราคาตัวละ 240 บาท ไก่ซีพีบราวน์อายุเดือนเศษอีก 4 ตัว ราคาตัวละ 95 บาท กำลังจะทำเล้าให้แบบยกพื้น จะทำด้วยไม้สัก (ปลูกเอง) เพื่อป้องกันปลวกกิน มุงด้วยแฝกเพื่อให้เย็น 

หากรัฐผลิตพันธุ์ไก่ไข่ ไก่เนื้อจำหน่ายให้เกษตรกรและผู้สนใจเลี้ยงในราคาที่เหมาะสม มีแหล่งจำหน่ายทุกอำเภอ ให้สะดวกซื้อ พร้อมเอกสารแนะนำการเลี้ยงไก่ไข่ อินทรีย์แบบปล่อย และเอกสารการเลี้ยงไก่เนื้ออินทรีย์แบบปล่อยจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งครับ 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท