แรงผลักดันของ 3 เด็กตลาดโต้รุ่งกาฬสินธุ์กับการนำ KM มาพัฒนาตนเองในชีวิตประจำวัน


เหมือนการเขียนบันทึก ถ้ามีเป้าหมายที่มองเห็น ย่อมสามารถแบ่งปันความรู้ และประเมินตนเองได้เรื่อยๆ
KM คืออะไร เป็นคำถามแรกสำหรับหลายท่าน ใน gotoknow มาก่อน
จากคำถามแรก ตามมาด้วยคำตอบ จากผู้รู้ จากการอ่าน ค้นคว้า นำมาสู่การเขียนบันทึกใน gotoknow จนถึงการจัดการความรู้ของตัวเอง...

..แต่หลายคน ยังคงตั้งคำถามหลังจากได้รับคำอธิบายของคำจำกัดความ KM แล้ว
บางคนสามารถจัดการความรู้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่อง
บางคนก็ลืมๆกันไป

นั่นคือกลุ่มผู้อ่าน ผู้เขียนใน gotoknow ที่มีความรู้ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ ความชำนาญ ความใฝ่รู้กันทั้งนั้น

แล้วเด็กจากตลาดโต้รุ่ง 3 คน ที่จัดว่า ด้อยในหลายๆสิ่งเมื่อเทียบกับชาว gotoknow ล่ะครับ
จะทำอย่างไนในการนำ KM มาพัฒนาตนเอง

ต้องมองต่างมุมครับ

จากบรรทัดแรกของบันทึกนี้
... เมื่อมีผู้มาให้ความรู้ แนะนำการทำ KM
ให้แนวทาง หลักการ วิธีปฏิบัติ ...
บางท่าน สามารถทำได้ บางท่าน อบรมเสร็จ ก็ลืมไปเลย
... ขนาดให้คำแนะนำ ทั้งทฤษฎี ทั้งเอกสาร ข้อมูล ฝึกปฏิบัติอย่างครบถ้วนแล้วนะครับ

มองอีกมุม คนสอนมักจะให้คำแนะนำ แนวทางของตัวเอง ปูแนวทางตามประสบการณ์ และความคิดของคนสอนเอง

..ไม่ใช่ความคิด และความต้องการของคนปฏิบัติ....

ในกรณีที่ตลาดโต้รุ่ง ไม่เคยบอกว่า KM คืออะไร

เริ่มต้นจากความต้องการของพวกเขา จุดสนใจคือ เรื่องปากท้องของพวกเขานั่นเอง
เขาอยากรู้เรื่องวัตถุดิบ การซื้อสินค้า เช่น น้ำปลา น้ำตาล พริก ผัก ผลไม้ จะสังเกตอย่างไร จะได้ของดี มีคุณภาพ ราคาสมเหตุสมผล

ต้องมีการสังเกต การบันทึก
เมื่อไปซื้อของ จะเริ่มจดบันทึก ทดลองซื้อจากพ่อค้า แม่ค้าหลายๆคน ถามรายละเอียด บันทึกตามช่วงเวลานั้นๆ
เมื่อพบปะกับผู้คนมากขึ้น เกิดการเปรียบเทียบ การสังเกต เห็นรายละเอียดปลีกย่อยที่บันทึกไว้

สามารถแยกแยะ กลยุทธการโฆษณา กับคุณภาพสินค้าได้ รู้ว่า ช่วงเวลาไหนจะต้องเลือกซื้อของอย่างไร
คำพูดเชิญชวนซื้อฟังดูไพเราะ แต่เมื่อทั้ง 3 คน เอาข้อมูลมาแลกเปลี่ยนกัน สามารถจับผิดข้อมูลหลายอย่างได้

เมื่อนายบอนแนะนำให้มาอ่านบันทึกใน gotoknow เริ่มจากชี้ไปที่บันทึกที่เขียนอธิบายเรื่องเกี่ยวกับ KM
จากข้อความที่เขาได้อ่าน หยิบเอามาโยงกับสิ่งที่เขาได้สัมผัส....

... อ๋อ KM คือแบบนี้นี่เอง..
... การเขียนบันทึกมีประโยชน์แบบนี้นี่เอง
... KM สามารถพัฒนาตนเองได้อย่างนี้นี่เอง...
....
เอาสิ่งที่พวกเขารับรู้ มาเชื่อมเข้ากับหลักการ ความหมายของ KM
ถ้านำคำอธิบายเรื่อง KM ที่หลากหลายใน gotoknow ให้เขาอ่าน
อ่านแล้ว เขาก็คงจะลืม เพราะมันไกลตัวพวกเขา.....


การพัฒนาตนเองของเด็ก 3 คน คือการลงมือทำในสิ่งที่พวกเขาสนใจแล้วมาประเมินตัวเองว่า

- ได้เรียนรู้อะไรมาบ้าง

- สิ่งที่ได้รับรู้ เปลี่ยนแปลงความคิด ชีวิตไปอย่างไร

- ดีขึ้น เลวลง หรือเหมือนเดิม

- ประเมินตนเองแล้ว ทำให้มีเป้าหมายที่จะเดินต่อไปได้


เหมือนการเขียนบันทึก ถ้ามีเป้าหมายที่มองเห็น ย่อมสามารถแบ่งปันความรู้ และประเมินตนเองได้เรื่อยๆ

+++++++ อ่านข้อความแล้ว กลับมาถึงเรื่องที่หลายคนคุ้นเคยจากบันทึกที่นายบอนชอบจัดทำ

การรวบรวม รายงานสถิติต่างๆนั่นเอง

เมื่อคุณอ่านบันทึกเกี่ยวกับเด็กตลาดโต้รุ่งทั้ง 3 คนข้างต้น แนวทางเหมือนกับที่นายบอนรายงานสถิติ

สรุปสถิติเพื่อการประเมินตนเอง ว่า ที่ผ่านมา ทำอะไรมากน้อยเพียงใด..
มองเห็นภาพ เห็นความพยายาม ความทุ่มเท เกิดแรงผลักดัน..

เติมกำลังใจ

การผลักดันที่จะได้ผล คือ บรรยากาศที่เป็นทีม
ทำอยู่คนเดียว จะเกิดแรงผลักดันน้อยกว่า ทำหลายๆคน อยู่ในหมู่คนที่ทำเรื่องเดียวกัน...
.... จับในส่วนที่ตรงกับความสนใจของผู้ปฏิบัติ...

การลงมือทำในรูปแบบที่กล่าวนี้ เป็นสิ่งที่ละเอียด พิถีพิถัน ใช้เวลาพอสมควร
แต่ได้เกิดการเรียนรู้ ได้อะไรมากมายกว่าที่คิด....

ถ้าไปถามเด็กทั้ง 3 คนว่า KM คืออะไร พวกเขาคงไม่มีคำตอบให้
... แต่เขาจะถามว่า คุณต้องการอะไร เหมือนกับการสั่งอาหาร ว่าคุณอยากทานอะไร...
... แล้วก็ทำในสิ่งที่คุณต้องการให้โดยเฉพาะ....
.... ถ้าจะแนะนำ KM  ให้เขา ก็ต้องให้ในสิ่งที่พวกเขาต้องการ.....



หมายเลขบันทึก: 72985เขียนเมื่อ 16 มกราคม 2007 22:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:03 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • การเขียนบันทึก ไม่ใช่ KM ครับ เป็นการบันทึกความรู้ หรือบันทึกประสบการณ์
  • แต่กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากการต่อยอดความคิดผ่านทางการแสดงความเห็น เป็น KM ครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท