การจัดการความรู้ที่สอดคล้องกับสุขภาวะชุมชน


การจัดการความรู้ที่สอดคล้องกับสุขภาวะชุมชน

         หมอสุวัฒน์  วิริยะพงษ์สุกิจ   ผอ. รพ.เทพา  จ.สงขลา   ส่งเอกสารสรุปผลการดำเนินงานปี 2547 ของ "แผนงานจัดการความรู้ที่สอดคล้องกับสุขภาวะชุมชน  ปี 2547 - 2549"   ดำเนินการโดย สวสช. (สถาบันวิชาการเพื่อการพัฒนาเครือข่ายสุขภาพชุมชน)  ภายใต้มูลนิธิแพทย์ชนบท  สนับสนุนการเงินโดย สสส.    เอกสารดังกล่าว 1 ชุดมี 5 เล่ม

     เล่ม 1   รายงานภาพรวม
     เล่ม 2   ภาคเหนือ
      เล่ม 3   ภาคอีสานตอนบน
      เล่ม 4   ภาคอีสานตอนล่าง
      เล่ม 5   ภาคใต้

ผมอ่านดูคร่าว ๆ จับความได้ว่าโครงการนี้มีลักษณะสำคัญคือ
      (1) เป็นเครือข่ายสุขภาพชุมชน   มีความร่วมมือกันระหว่างชุมชน,  สถานีอนามัย,  และโรงพยาบาลชุมชน   เพื่อส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชน   เพื่อการบรรลุ "สุขภาวะ" ที่ยั่งยืน
      (2) มีการดำเนินการเป็นสหวิชาชีพ
      (3) ดำเนินการสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้   โดยใช้ KM เป็นเครื่องมือ

         คุณหมอสุวัฒน์ต้องการปรึกษาว่าจะใช้ KM หนุนโครงการ (เครือข่าย) สุขภาวะชุมชนนี้ได้อย่างไร   ซึ่งผมขอให้คำแนะนำ (ไม่รู้ว่าเหมาะสมหรือไม่) ดังนี้
 1. ทีมแกนนำของโครงการนี้มาคุยกับผมที่ สคส. สัก 1 - 2 ชม.   เพื่อทำความเข้าใจการดำเนินการตามข้อ 2
 2. จัดตลาดนัดความรู้เพื่อสุขภาพชุมชน   นำเอาผลสำเร็จของโครงการในเครือข่าย (อาจเป็นความสำเร็จเล็ก) มาเล่าเรื่อง (storytelling) และช่วยกันจับ Knowledge Assets ในการดำเนินการส่งเสริมสุขภาพชุมชน   จดบันทึกไว้   เป็นตัวอย่างของการ "ถอด" ความรู้  จดบันทึก  และเผยแพร่เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้
     คนที่มาร่วมตลาดนัดฯ น่าจะมีทั้งผู้ทำงานในทีมสุขภาพและแกนนำของชุมชนที่เป็น "คุณกิจ" เพื่อการสร้างเสริมสุขภาพชุมชนตัวจริง   เสียงจริง
     การจัดตลาดนัดความรู้ฯ นี้   มีเป้าหมายหลักเพื่อฝึกอบรมทีมงานให้รู้จัก KM และวิธีการทำ KM   ให้ทีมงานเอาไปดำเนินการต่อได้เอง
 3. จัดการประชุมปฏิบัติการเพื่อฝึกอบรมวิทยากร KM และ "คุณอำนวย" ของเครือข่าย   สำหรับไปเป็นวิทยากรฝึกอบรม KM และดำเนินการ KM ในเครือข่ายต่อไปได้
 4. ฝึกอบรมการเขียนบล็อกให้แก่ทีมงานหรือแกนนำของทุก node ในเครือข่าย   ให้รู้จักใช้ Weblog เป็นเครื่องมือของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้   ประสบการณ์ดำเนินการส่งเสริมสุขภาวะชุมชน   คนที่จะรับหน้าที่นี้ควรเป็นคนช่างเขียนช่างบันทึก

         โดยสุรปคือ   เครือข่ายนี้ควรมีกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (ลปรร.) ระหว่างกันมากกว่าที่ผ่านมา   มีเครื่องมือสำหรับการ ลปรร. ทั้งที่เป็นการ ลปรร. F2F (Face to Face)  และการ ลปรร. ผ่าน ICT คือ B2B (Blog to Blog)   โดยการ ลปรร. นั้นควรทำแบบวงเปิด   คือเปิดให้คนนอกเครือข่ายได้เรียนรู้ด้วย   และให้คนนอกเครือข่ายเข้ามาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของเขาด้วย

วิจารณ์  พานิช
 15 พ.ย.48

หมายเลขบันทึก: 7268เขียนเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2005 09:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 พฤษภาคม 2012 15:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท