ทองสุก
นางสาว เพ็ญประภา เพ็ญ ทองสุก

คุณรู้จักโรคฟันผุรึยัง?


โรคฟันผุ

โรคฟันผุ 

การเกิดโรคฟันผุ มาจากปัจจัย 4 ประการ ซึ่งมีความสัมพันธ์กัน ได้แก่  

   1. แผ่นคราบจุลินทรีย์

   2. อาหารประเภทแป้งน้ำตาล

   3. ตัวฟัน

   4. เวลา

    โดยแบคทีเรียที่มีอยู่ตามปกติในช่องปากจะทำปฏิกิริยากับคราบ (Plaque) ที่ติดค้างอยู่ตามซอกฟัน และผิวเคลือบฟัน  ซึ่งเราขจัดออกไปได้ไม่หมด  เกิดเป็นกรดขึ้น  ซึ่งกรดสามารถทำลายผิวเคลือบฟัน ก่อให้เกิดโรคฟันผุขึ้นได้

อาการของโรคฟันผุ

 การผุของฟันจะแบ่งออกเป็นระยะ ดังนี้

     1.  จะเริ่มขึ้นที่ชั้นผิวเคลือบฟันก่อน โดยจะเห็นเป็นจุดดำเล็ก ๆ หรือเป็นเส้นดำตามร่องฟันด้านบดเคี้ยว  หรือเนื้อฟันมีสีขาวขุ่นผิดปกติ  ระยะนี้มักไม่พบอาการเสียวฟันหรือปวดฟันแต่อย่างใด  ซึ่งการทำความสะอาดฟันที่ดี สามารถชลอการลุกลามของโรคฟันผุได้ 

     2.หากเราปล่อยไว้ไม่ดูแล ฟันผุลุกลามไปถึงขั้นเนื้อฟัน จะมีอาการเสียวฟันเมื่อเคี้ยวอาหาร หรือเมื่อกระทบของเย็น ระระนี้เราสามารถไปพบทันตแพทย์เพื่ออุดฟันได้

     3.หากเรายังปล่อยทิ้งไว้จนฟันผุลุกลามไปถึงขั้นโพรงประสาทฟัน ซึ่งมีเส้นเลือดและเส้นประสาท จะทำให้อาการปวดรุนแรงมากขึ้น อาจถึงขั้นกินไม่ได้นอนไม่หลับก็มี แม้ได้รับยาแก้ปวด บางครั้งก็อาจไม่ทุเลาอาการปวดได้  แลถ้าผุลุกลามมากอาจทำให้รากฟันอักเสบและเป็นหนอง เงือกบวม หรือแก้มบวมได้ ซึ่งระยะนี้ไม่สามารถอุดฟันด้วยวิธีปกติทั่วไปได้  ต้องรักษาครองรากฟัน ซึ่งเป็นวิธีที่ใช้เวลารักษานาน และสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย บางครั้งอาจต้องสูยเสียฟัน เพราะไม่สามารถเก็บรักษาฟันซี่นั้นไว้ได้  


การป้องกัน

       โรคฟันผุ เป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาและป้องกันได้โดยวิธีการกินยา เมื่อมีฟันผุก็ต้องรักษาด้วยการอุดฟัน หรือถอนฟันเท่านั้น  ดังนั้นเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคฟันผุเรามีวิธีปฏิบัติได้ด้วยตนเองอย่างง่าย ๆ ดังนี้
    
     1. รักษาสุขภาพอนามัยช่องปากให้สะอาดด้วยการแปรงฟันอย่างถูกวิธี ร่วมกับการใช้ไหมขัดฟัน ควรแหรงฟันหลังรับประทานอาหารเสร็จทุกครั้ง  หรือถ้าทำได้ไม่สะดวก ก็ใช้วิธีบ้วนน้ำแรง ๆ หลาย ๆ ครั้ง

     2. รับประทานอาหารที่ดี และมีประโยชน์ต่อฟัน เช่น อาหารจำพวกเนื้อสัตว์ ผักและผลไม้ หลีกเลี่ยงอาหารจำพวกแป้งและน้ำตาล ซึ่งเป็นอาหารที่ส่งเสริมให้ฟันผุได้ง่าย

     3. ไปพบทันตแพทย์เพื่อตรวจฟันทุก ๆ 6 เดือน หรืออย่างน้อยปีละครั้ง

     4. ใช้ฟลูออไรด์เพื่อป้องกันฟันผุ และทำให้ฟันแข็งแรง ซึ่งสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การใช้ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ร่วมกับการรับประทานยาน้ำ/ยาเม็ดฟลูออไรด์ (ในเด็ก) การอมน้ำยาฟลูออไรด์ทั้งนี้ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้


คำสำคัญ (Tags): #ยิ้มใส#ฟันสวย
หมายเลขบันทึก: 72578เขียนเมื่อ 14 มกราคม 2007 11:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 พฤษภาคม 2012 17:13 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
อยากถามว่า ตัวดิฉัน ปวดเสียวฟันกรามบนมากเวลาทานอาหารเคี้ยวไปถูกในบางครั้งจะเสียวและปวดมากๆ จนไม่อยากทานอะไรเลย เคยให้ทันตาที่อนามัยตรวจดู ก็ไม่พบอะไร ได้เคลือบหลุมร่องฟันให้แต่อาการก็เหมือนเดิม ขอคำแนะนำหน่อยค่ะ

         อาการเสียวฟัน

            อาการเสียวฟันเป็นอาการที่พบได้บ่อย และเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ฟันผุ,มีคราบหินปูนอยู่เยอะ, ฟันสึก, เหงือกร่น.โรคเหงือก ฯลฯ ทั้งนี้อาการสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น เสียวฟันเมื่อดื่มน้ำเย็นจัด, เสียวฟันเมื่อรับประทานของหวานๆ  แต่ถ้าอาการเหล่านี้เกิดในระยะสั้นๆ หรือนานๆ ครั้ง ก็เป็นเรื่องปกติของร่างกายครับ ไม่ถือว่าเป็นสิ่งผิดปกติ แต่อย่างใดแต่ถ้าเมื่อใดเกิดการเสียวฟันอย่างผิดปกติ หรือเสียวทุกครั้งที่ดื่มน้ำร้อน, น้ำเย็น, รับประทานของหวาน , ขณะเคี้ยวอาหารทุกครั้ง แล้วก็เป็นนานไม่ยอมหายหรือไม่ยอมทุเลาขึ้น ควรมาพบทันตแพทย์เพื่อหาสาเหตุของอาการ เสียวฟันนั้นและทำการรักษาหรือกำจัดสาเหตุ นั้นๆให้หมดไป 

           การรักษาอาการเสียวฟันจะรักษาตามสาเหตุที่ทำให้ เสียวฟันนั้นๆ ซึ่งทันตแพทย์จะเป็นผู้ตรวจ อาจจะต้องตรวจหลายๆอย่างรวมถึงการถ่ายถ่าพรังสีที่ตัวฟัน เพราะการเสียวฟันสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุมาก หรือบางครั้งมีมากกว่า 1 สาเหตุร่วมกัน ตัวอย่างการรักษา เช่น  อุดฟันที่ผุหรือสึก, ขูดหินปูน, การแก้ไขการสบฟัน การรักษารากฟัน  ฯลฯ แต่ถ้าเป็นภาวะเสียวฟันที่เป็นภาวะปกติของร่างกายเรา อย่างที่กล่าวข้างต้น  ทันตแพทย์ก็ไม่สามารถจะกำจัดให้หายได้ครับ 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท