มหาวิทยาลัยกับงานวิจัย การปรับเปลี่ยนเพื่อภารกิจสร้างสรรค์ปัญญา ตอน 5 (4)


การจ้างงานแบบทำสัญญาเป็นช่วงเวลา และกำหนดพันธกิจไว้อย่างชัดเจน ประเมินผลงานตามที่กำหนด เป็นวิธีการที่นิยมขึ้นเรื่อย ๆ

         < เมนูหลัก >

         ตอน 5 (4)

         ปรับเปลี่ยนเชิงโครงสร้างมหาวิทยาลัย ภารกิจหลักสร้างสรรค์ปัญญา

         การจ้างงาน

         ยิ่งนับวันการจ้างงานแบบถาวรในมหาวิทยาลัยก็ยิ่งเป็นรูปแบบที่ล้าสมัยมากขึ้นเรื่อย ๆ เพราะมหาวิทยาลัยเป็น “องค์กรเพื่อการพัฒนา” ต้องการความสามารถในการปรับตัวสูงและต้องมีกลไกป้องกัน “การต่อต้านการเปลี่ยนแปลง”

         การจ้างงานแบบทำสัญญาเป็นช่วงเวลา และกำหนดพันธกิจไว้อย่างชัดเจน ประเมินผลงานตามที่กำหนด เป็นวิธีการที่นิยมขึ้นเรื่อย ๆ วิธีนี้จะทำให้สามารถจำกัดจำนวนบุคลากรให้มีน้อยเท่าที่จำเป็นเท่านั้นได้ซึ่งจะมีผลให้สามารถตั้งค่าตอบแทนได้สูง

         ค่าตอบแทน

         เงินเดือนของอาจารย์มหาวิทยาลัยที่มีความสามารถสูง ควรประมาณ 3 เท่าของอัตราเงินเดือนปัจจุบันเพื่อดึงดูดผู้มีสมองชั้นเลิศมาเป็นอาจารย์ แต่ไม่ควรกำหนดให้เงินเดือนประจำสูงขึ้น 3 เท่า ควรใช้วิธีเพิ่มให้อีก 2 เท่า โดยผูกเงินที่จะเพิ่มไว้กับภารกิจที่ทำ เช่น มากับทุนสนับสนุนการวิจัย มากับค่าบริการวิชาการ หรือมากับงานด้านการเรียนการสอน การคุมวิทยานิพนธ์

         อัตราค่าตอบแทนความเป็นเรื่องของแต่ละคนที่จะต่อรองได้ตามความสามารถในการสร้างสรรค์ผลงานรวมทั้งตามการ “สร้างรายได้” ให้แก่หน่วยงานด้วย

         การออกจากงาน

         คนที่ไม่เหมาะสมกับงาน จะต้องมีกลไกให้ต้องออกไป โดยหน่วยงานอาจต้องยอมเสียค่าชดเชยไปบ้าง แลกเปลี่ยนกับผลเสียต่อหน่วยงานที่จะถูกถ่วงความเจริญ โดยคนที่อยู่ผิดที่ หรือไม่มีความสามารถ

         บทความพิเศษ ตอน 5 (4) นี้ได้ จากหนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ ปีที่ 9 ฉบับที่ 2809 (107) 30 พ.ค. 39 พิเศษ 6 (บทความไอที)

         เขียนโดย ศ.นพ.วิจารณ์  พานิช

         วิบูลย์ วัฒนาธร

 

หมายเลขบันทึก: 7230เขียนเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2005 17:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท