IBNUFUAD
อับดุรเราะฮ์มาน ฟูอัด อาลมูฮัมมัดอามีน

การเดินทาง+การตัดสินใจ=การเปลี่ยนแปลง


เพิ่งกลับจากการเดินทางไกล รวมระยะทางกว่า 3,000 กม.ร่างกายระบมไปทั้งตัว แต่สมองกลับดูกระปรี้กระเปร่า

ผมรู้สึกกระปรี้กระเปร่าตั้งแต่อยู่ระหว่างการเดินทาง (กลับไปรับคุณแม่มาเที่ยวปัตตานี)ครั้งก่อน เมื่อทราบว่าใบสมัคร KM extern.ที่ส่งไปนั้นได้รับการตอบรับแล้ว และนัดให้ผมไปพูดคุยเช้าวันจันทร์ที่ 8 มค.50 (เช้ามากๆด้วย 7 นาฬิกา) แต่สำหรับผมในยามนั้น การเดินทางดูจะเป็นกิจวัตรประจำไปเสีย เพราะเรา(ครอบครัวของผม)มีโปรแกรมในช่วงสิ้นปี ซึ่งตรงกับเทศกาลสำคัญของทั้งอิสลามและคริสต์ ซึ่งเลยกลายเป็นประเพณีสากลไป นั่นคือ ช่วงหยุดปีใหม่ และเป็นช่วงหยุดยาวต่อเนื่อง ของครูในสามจังหวัดชายแดนใต้ที่ไม่เกี่ยวข้องอะไรกับเหตุการณ์ความไม่สงบ เพราะเป็นช่วงเทศกาลฮารีรายออีดิ้ลอัฎฮา ซึ่งเป็นเทศกาลสำคัญ เพียง 1 ใน 2 เทศกาลสำคัญเท่านั้นของมุสลิม ซึ่งอีกหนึ่งเทศกาล ก็คือ ฮารีรายออิดิ้ลฟิฏรีย์(เสร็จสิ้นการถือศีลอด)แต่ปัจจุบันมุสลิมล้วนโชคดี เพราะเราสามารถหยุดและร่วมเทศกาลกับเพื่อนๆได้อยู่ทุกเทศกาลไป โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม ตาม พรบ.ประเภท 15(1)ที่เดิมเป็นปอเนาะและได้แปลงสภาพตามพระราชบัญญัติการศึกษา ที่ต้องการยกมาตรฐานการศึกษาของลูกหลานชาวมลายูมุสลิมในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย ให้ทัดเทียมกับส่วนต่างๆของประเทศ ซึ่งปัจจุบันเราก็ยังนิยมเรียนกกันว่า "ปอเนาะ" ถึงแม้ปัจจุบันคำว่า "ปอเนาะ"ของทางการจะจำกัดแต่เพียงเฉพาะ 15(2)เท่านั้น โรงเรียน"ปอเนาะ" ทั่วทั้งปัตตานีประกาศหยุดโดยมิได้นัดหมาย หลังจากที่ท่านจุฬาราชมนตรี ประกาศวันตรุษอีดิ้ลอัฏฮา ให้ตรงกับวันอาทิตย์ ที่ 31 ธค.2549

Penang Bridge 

โรงเรียนน้อยใหญ่ก็พา กันปิดโรงเรียนเพื่อเฉลิมฉลอง เทศกาลแห่งความรื่นเริงนี้  บางโรงเรียนหยุดหลังจากวันฮารีรายอไปอีก 3-4 วัน เนื่องจากเทศกาลอีดิ้ลอัฎฮานี้ มุสลิมจะเชือดสัตว์(ที่นิยมคือ โค)เพื่อเป็นทานพลี ตามแบบอย่างของท่านศาสดา และแจกจ่ายเนื้อนั้นไปยังพี่น้องทั่วไปให้ได้รับอานิสงค์ เรียกว่า "กุรบาน"

ช่วงเทศกาลฮารีรายออีดิ้ลอัฎฮา หรือมักเรียกกันสั้นว่า "อีดกุรบาน หรือ อีดฮัจญี" นั้นตรงกับช่วงเวลาที่ผู้แสวงบุญ(ฮุญาจ)จากทั่วทุกมุมโลกได้มุ่งหน้าไปยัง มหานครมักกะฮฺ(Megga) ซึ่งนับเป็นเสาหลักที่สำคัญประการหนึ่งของมุสลิมผู้มีความสามารถทางด้านร่างกายและการเงิน ที่พร้อมจะออกเดินทางมุ่งหน้าไปสู่หนทางของพระองค์

การเดินทางซึ่งนับว่าเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตจากท่านศาสดา สะท้อนให้ผู้ที่เคยสัมผัสอยู่เป็นเนืองๆ ทราบได้ดีถึง ความรู้สึก และความลำบาก ทุกข์ยากต่างๆ ที่เกิดมีแด่คนเดินทาง ถึงแม้การเดินทางในปัจจุบันจะแสนสะดวกสะบาย กว่าในอดีตอย่างมากมาย

กำหนดการช่วงเวลาแห่งการหยุดยาวช่วงปลายปีของผม ดูจะเริ่มตั้นตั้งแต่การเดินทางกลับไปรับมารดาผู้เป็นที่รัก ผู้ซึ่งกำลังป่วยเป็นโรคลิ้นหัวใจรั่ว ที่ใครต่อใครก็พากันไม่เชื่อเพราะท่านดูสุขภาพจิตดีมากๆ ผมและภรรยาเดินทางไปรับท่าน เพื่อหวังให้ท่านไปพักผ่อนช่วงวันหยุดกับเรา เราเดินทางกับรถโดยสารปรับอากาศ จากหาดใหญ่(เนื่องจากผมต้องเรียนก่อนในวันนั้น ภรรยาจึงตามมาจากปัตตานี-มาขึ้นรถที่หาดใหญ่)

เราถึงหนองจอก ในรุ่งเช้าของอีกวัน และแวะทักทายพี่ป้าน้าอา เนื่องว่าในช่วงวันสำคัญนี้เราจะไม่ได้มีโอกาสมาพบกัน และเดินทางกลับโดยรถไฟ ในบ่ายของอีกวันหนึ่ง ในช่วงที่ผู้คนยังไม่มากนัก แต่ก็เต็มทุกที่นั่ง สำหรับการเดินทางทริปนี้เป็นการวางแผนมาก่อนล่วงหน้า เราจึงได้ถือตั๋วก่อนการเดินทาง เพื่อความสบายใจ

เราเดินทางถึงปัตตานีช่วงเช้าของวันที่ 28 ธ.ค. 49 เมื่อถึงบ้านเราก็ต่างแยกย้ายกันไปโรงเรียน ให้แม่พักอยู่ที่บ้าน อากาศที่กรุงเทพฯ ก่อนมาเย็น แต่พอมาถึงปัตตานีกลับมีฝนตก ทำให้แม่ปรับตัวไม่ทัน ต้องพึ่งยาอยู่เหมือนกัน รวมทั้งเราด้วยเหมือนกัน

ทุกเส้นทางการเดินทางของเราจะต้องมีการตัดสินใจที่รอบคอบ บ้างครั้งก็ต้องเด็ดขาด แต่บางครั้งก็ทำให้เด็ดขาดมิได้ หลังจากที่พ่อตาทราบว่าลูกทุกคนจะได้กลับมาพร้อมหน้ากัน และมีญาติผู้ใหญ่มาร่วมฉลอง(เทศกาลฮารีรายอ)กับครอบครัวเราด้วย จึงเตรียมแผนการเดินทางไปเยี่ยมญาติที่กางัรฺ(Gangar),เคอร์ดะห์ (Kedah) มาเลเซีย และท่องเที่ยว เนื่องจากนานทีปีหน เพราะตั้งแต่น้องภรรยาโตก็เดินทางไปศึกษาที่นครราชสีมา จบก็ทำงานอยู่ที่กรุงเทพฯ จึงไม่บ่อยนักที่จะได้มีโอกาสได้กลับมาร่วมฮารีรายอกันครบทุกคนแบบนี้ เรา plan ว่าจะไปปีนังกัน ซึ่งนับว่าเป็นครั้งแรกของใครหลายคน ในครอบครัวของเรา

แต่ไม่ง่ายอย่างนั้นเพราะการเดินทาง ในครั้งนี้ยังมีอุปสรรครออยู่อีกมาก

นับตั้งแต่การเริ่มต้นการตระเตรียมเอกสารผ่านแดน ของทุกๆคน และรวมทั้งผู้ที่ไม่มีหนังสือเดินทาง ซึ่งสำหรับผู้ที่มีถิ่นพำนักในสามจังหวัดชายแดนใต้ ทางการอนุญาตให้ถือหนังสือผ่านแดนชั่วคราว(border pass) ได้  ทั้งนี้จะเดินทางในประเทศมาเลเซียได้ห่างจากชายแดนประเทศไทยไม่เกิน 20 กม. (ซึ่งนับว่าเพียงพอกับการเดินทางของคณะของเรา) เพราะจุดหมายเราอยู่ที่กัมปงโต๊ะปูเลา{กัมปง=หมู่บ้าน,โต๊ะ=คำที่เรียกขานผู้ใหญ่ที่เคารพ,ปูเลา=เกาะ(Islands)} ไกลออกไปจากพรหมแดนไทยด้าน อ.สะเดา ประมาณ 10 กม.

เราต่างเตรียมความพร้อมของเอกสารและ

หมายเลขบันทึก: 72256เขียนเมื่อ 12 มกราคม 2007 11:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท