โครงการวิจัยการมีส่วนร่วมของเจ้าหน้าที่


เป้าหมาย : ต้องการพัฒรูปแบบการมีส่วนร่วมของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาล ในการคุ้มครองสุขภาพผู้ไม่สูบบุหรี่ที่เข้ามารับบริการในโรงพยาบาล โดยเน้นการสร้างกลุ่มอาสาสมัคร (ไม่ได้รับค่าตอบแทน) ที่จะเข้ามาช่วยทำงานด้านการรณรงค์ให้เกิดการงดสูบบุหรี่ในพื้นที่โรงพยาบาล
 

โครงการวิจัยการมีส่วนร่วมของเจ้าหน้าที่

ในการคุ้มครองสุขภาพผู้ไม่สูบบุหรี่

 

1.      คำสำคัญ        : บุหรี่, การรณรงค์, โรงพยาบาล, จิตอาสา, อาสาสมัคร, การเฝ้าระวัง

 

2.      จังหวัด : ชลบุรี

 

3.      กลุ่มเป้าหมาย  : บุคลากรของโรงพยาบาลชลบุรีทุกระดับ

 

4.   เป้าหมาย        : ต้องการพัฒรูปแบบการมีส่วนร่วมของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาล ในการคุ้มครองสุขภาพผู้ไม่สูบบุหรี่ที่เข้ามารับบริการในโรงพยาบาล โดยเน้นการสร้างกลุ่มอาสาสมัคร (ไม่ได้รับค่าตอบแทน) ที่จะเข้ามาช่วยทำงานด้านการรณรงค์ให้เกิดการงดสูบบุหรี่ในพื้นที่โรงพยาบาล

 

5.   สาระสำคัญของโครงการ  : หัวหน้าโครงการทำงานด้านบุหรี่มาตลอดตั้งแต่ปี 2537 โดยก่อนหน้าจะทำโครงการ เป็นการทำงานแบบหากลุ่มอาสาสมัครที่ต้องการเลิกบุหรี่ เพื่อมาทำกิจกรรมที่นำไปสู่การเลิกบุหรี่ แต่ในปี 2546 เมื่อจะขอทุนจาก สสส. เพื่อทำโครงการ จึงได้ขยายขอบเขตของการทำงานออกไปที่การแสวงหาบุคลากรที่มีจิตอาสา ทำงานเป็นอาสาสมัครรณรงค์ให้เกิดการงดสูบบุหรี่ในโรงพยาบาล ซึ่งมีที่มาจากการที่เห็นว่ามีบุคลากรของโรงพยาบาล ผู้ป่วย และญาติผู้ป่วยสูบบุหรี่มากขึ้น ในแต่ละวันที่เข้ามาในเตดรงพยาบาล อีกทั้งมีกระแสรณรงค์เรื่องการไม่สูบบุหรี่ และการเป็นดรงพยาบาลปลอดบุหรี่ จึงเห็นว่าเป็นโอกาสดีที่จะขยายการทำงานจากการช่วยให้ผู้สูบบุหรี่เลิกสูบบุหรี่ได้ เป็นการลดพื้นที่การสูบบุหรี่ในที่สาธารณะอย่างโรงพยาบาล นอกจากนี้ยังก่อให้เกิดกระบวนการพัฒนาการมีส่วนร่วมของเจ้าหน้าที่ในการรณรงค์ดังกล่าว อย่างไรก็ตาม เรื่องของการช่วยให้ผู้ต้องการเลิกบุหรี่สามารถเลิกบุหรี่ได้ก็ยังทำอยู่ด้วย โดยเป็น 1 ในกิจกรรมของโครงการ เรียกว่ากิจกรรม 5 วัน 5 ชั่วโมง ซึ่งเป็นอีกทางหนึ่งที่จะช่วยเสริมการลดการสูบบุหรี่ในพื้นที่โรงพยาบาลด้วย

 

6.   เครื่องมือที่ใช้ : กิจกรรมหลักมี 4 อย่าง คือ (1) การรับอาสาสมัครเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลทุกระดับที่มีจิตอาสามาช่วยกันทำงานด้านการรณรงค์ให้เกิดการงดสูบบุหรี่ในโรงพยาบาล (2) การจัดกระบวนการ AIC กับอาสาสมัครทุกคน โดยเน้นกิจกรรม 3 อย่าง ให้อาสาสมัครมีส่วนร่วมทุกกิจกรรม ได้แก่ (2.1) การสร้างความรู้ (Appreciation) คือติดตั้งความรู้ และเทคนิคการรณรงค์ เช่น การอบรมการพูดเตือนให้อาสาสมัคร (2.2) การสร้างแนวทางการทำงาน (Influence) - เปิดโอกาสให้อาสาสมัครทุกคนร่วมกันคิดและเลือกวิธีการที่จะก่อให้เกิดผลจากการณรงค์ให้คนงดสูบบุหรี่ในโรงพยาบาล และ (2.3) ขั้นปฏิบัติการ (Control) เป็นการลงมือทำหลังจากอบรมและเลือกกิจกรรมแล้ว (3) การรณรงค์ เป็นกิจกรรมที่อาสาสมัครช่วยกันระดมความคิดในขั้นที่ 2.2 เช่น การจัดบอร์ด เสียงตามสาย การทำป้ายห้ามสูบบุหรี่หลายขนาด การเข้าไปเตือนผู้สูบบุหรี่ กิจกรรมวันงดสูบบุหรี่โลก การส่งข่าวประชาสัมพันธ์ไปยังเคเบิลท้องถิ่น และ (4) กิจกรรมสำหรับผู้ต้องการเลิกบุหรี่ (5 วัน 5 ชั่วโมง)

 

7.   การจัดระบบ โครงสร้าง กระบวนการทำงาน  : เมื่อได้กลุ่มอสาสมัครก็มีการจัดประชุม เพื่อระดมความคิดเห็น ไม่ว่าจะเป็นสถานการณ์ของปัญหา จำนวนคนสูบบุหรี่มีการนับจำนวนผู้สูบก่อนและหลังจากที่มีอาสาสมัครแล้วเพื่อเปรียบเทียบปริมาณ ให้อาสาสมัครช่วยกันคิดวิธีการที่จะทำให้เกิดผลได้จริง ในการรณรงค์และตรงไหนที่อาสาสมัครขาดทักษะ ก็มีการอบรมเสริม เช่น เทคนิคการพูดจูงใจ โดยการถ่ายทำวิดีโออาสาสมัครในขณะทำงานแล้วมาเปิดให้ดู เพื่อสร้างความมั่นใจและภูมิใจให้กับอาสาสมัคร กิจกรรมที่อาสาสมัครช่วยกันคิด จะช่วยกันดำเนินการ ไม่ว่าจะเป็นการทำแผ่นพับประชาสัมพันธ์ จัดทำป้ายห้ามสูบบุหรี่  จัดบอร์ด และจัดเสียงตามสาย และการเดินเข้าไปเตือนเมื่อเห็นผู้สูบบุหรี่ในพื้นที่ โดยให้อาสาสมัครแต่ละตึก แต่ละสถานที่ดูแลพื้นที่ของตนเอง และยังคงมีการพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และเทคนิคการจูงใจของอาสาสมัครแต่ละคนด้วย

 

8.   ขอบเขตและระยะเวลาดำเนินโครงการ  : ดำเนินการ 10 เดือน (15 ตุลาคม  2546 ถึง 31 สิงหาคม 2547) โดยมีอาสาสมัครเข้าร่วมกิจกรรมทั้งหมด 120 คน จากเกือบทุกหน่วยงาน ทุกระดับการศึกษา

 

9.   การประเมินผลและผลกระทบ  : ทีมงานมีการประเมินผล 2 ส่วน คือ (1) อัตราผู้สูบบุหรี่ในโรงพยาบาล พบว่า จำนวนผู้สูบบุหรี่ในโรงพยาบาลลดลงหลังมีอาสาสมัครจาก 185 คน เหลือ 91 คน แต่บริเวณทางเข้ากลับมีผู้สูบมากยึ้น ซึ่งทีมงานวิเคราะห์กันว่า เพราะในโรงพยาบาลมีการรณรงค์และห้ามอย่างเข้มข้น ผู้ที่ยังสูบจึงต้องไปสูบบริเวณทางเข้าแทน (2) ประเมินความพอใจของอาสาสมัครที่ได้ร่วมโครงการพบว่าส่วนใหญ่พอใจมาก แม้ว่าหลายคนจะน้อยใจที่ไม่ได้รับคำชมจากผู้บริหาร แต่ก็ยังยืนยันที่จะเป็นอาสาสมัครต่อไป ซึ่งทำให้หัวหน้าโครงการทราบว่า น่าจะมีการประชาสัมพันธ์ให้ผู้บริหารแต่ละหน่วยมีการชมเชยเพื่อให้อาสาสมัครเพื่อเป็นการสร้างกำลังใจ เพราะส่วนใหญ่ทราบว่ามีการทำงานของอาสาสมัคร และสนับสนุนการทำงานเป็นอย่างดี โดยเฉพาะผู้อำนวยการโรงพยาบาลที่มีการสนับสนุนอย่างจริงจัง และช่วยทำสื่อประชาสัมพันธ์ เช่น หมวกรณรงค์ การร่วมกิจกรรมวันงดสูบบุหรี่โลก เป็นต้น

 

10. ความยั่งยืน     : โรงพยาบาลสามารถลดพื้นที่สูบบุหรี่ให้น้อยลง เพราะปัจจุบันยังคงมีอาสาสมัครที่ทำงานอยู่ แม้หมดโครงการไปแล้ว และความยั่งยืนของอาสาสมัครที่ยังคงมีการรวมตัวกันไปดูงาน ช่วยเหลือกิจกรรมต่าง ๆ ได้รู้จักและคุ้นเคยกันระหว่างเจ้าหน้าที่ มีสัมพันธภาพที่ดีและทำงานร่วมกันอย่างช่วยเหลือเกื้อกูล มีการร่วมทำงานนอกพื้นที่ด้วยกัน เช่น การรณรงค์ไม่สูบบุหรี่ให้กับโรงเรียน โรงงาน และชุมชน ซึ่งเป็นความยั่งยืนในการสร้างบุคลากรที่มีคุณภาพให้กับโรงพยาบาล

 

11. จุดแข็ง และ อุปสรรค  : หัวหน้าโครงการเป็นจุดแข็งสำคัญที่สามารถจัดกระบวนการที่สร้างอาสาสมัครที่มีคุณภาพ และมีส่วนร่วมได้อย่างจริงจัง คือกระบวนการ AIC กลยุทธ์ที่ใช้คือการเฝ้าระวังก็สามารถลดพื้นที่การสูบบุหรี่ในโรงพยาบาลอย่างได้ผล เป็นการขยายการทำงานจากอดีตที่เน้นการลดปริมาณผู้สูบ เป็นการเพิ่มพื้นที่การงดสูบบุหรี่ อีกทั้งยังเป็นการสร้างบุคลากรที่มีประสิทธิภาพ นอกจากนี้การที่ผู้บริหารสนับสนุน ก็เป็นจุดแข็งที่ทำให้งานเคลื่อนไปได้อย่างไม่ติดขัด แม้จะมีอุปสรรคอยู่บ้างตรงที่บางจุดที่เป็นจุดลับตายังมีคนแอบสูบ และการที่โรงพยาบาลเป็นพื้นที่เปิดมีคนเปลี่ยนหน้ามาทุกวัน จึงทำให้ยังไม่ได้ผล 100% นอกจากนี้ทีมงานยังอยากให้มีอาสาสมัครเพิ่มขึ้นอีกด้วย

 

12.  ที่ติดต่อ   :  โรงพยาบาลชลบุรี หมู่ 2 ต.บ้านสวน อ.เมือง จ.ชลบุรี               038-931-000

พญ.มาลินี บุญยรัตพันธุ์ หัวหน้ากลุ่มงานอาชีวเวชกรรม      089-544-4155

หมายเลขบันทึก: 72099เขียนเมื่อ 11 มกราคม 2007 13:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 พฤษภาคม 2012 22:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท