ครูคือนวัตกร


 

สถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับอาเซียน มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดย รศ. ดร. ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ จัดการประชุม “การเปิดชั้นเรียนระดับชาติ” ครั้งที่ 17 (The 17th National Open Class: TLSOA) ระหว่างวันที่ 23 – 24 มีนาคม 2567 ในรูปแบบ Hybrid    และเชิญผมไปบรรยายเรื่อง การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมกับระบบการพัฒนาวิชาชีพของประเทศไทย ในเวลา ๓๐ นาที 

ในฐานะคนนอกวง    ผมเตรียมไปเสนอให้เห็นว่า หัวข้อนี้บอกเราว่า ครูคือนวัตกร (innovator)    เป็นนวัตกรสังคม ที่ทำงานสร้างนวัตกรรม (innovation) ให้แก่วิชาชีพครู   

กล่าวใหม่ว่า มองจากมุมของสภาพสังคมปัจจุบัน วิชาชีพครูต้องมี L&D – Learning and Development ต่อเนื่อง ไม่หยุดยั้ง   และในความเป็นจริง ผู้มีส่วนสำคัญที่สุดคือครู   L&D ของวิชาชีพครูดำเนินการผ่านกิจกรรม ว&น - วิจัยและนวัตกรรม ของตัวครู เป็นหลัก   มีน้ำหนักมากกว่าบทบาทขององค์กรวิชาชีพครู มากกว่าบทบาทของกลไกควบคุมหรือกำกับดูแลระบบการศึกษา    คิดอย่างนี้ถูกหรือผิดก็ไม่ทราบ      

แต่คิดแบบนี้ จะ empower ครู    ให้มุ่งทำงานไปพัฒนาตนเองไป   ผ่านการร่วมกันสร้าง “ชาลาปฏิบัติงาน” (working platform) ของครู  ให้ทำงานหนุนการเรียนรู้ของศิษย์ ไปพร้อมๆ กันกับทำงานวิจัยและพัฒนาวิธีหนุน (หรือโค้ช) การเรียนรู้ของศิษย์ให้มีคุณภาพสูงขึ้น   โดยโจทย์อยู่ที่ศิษย์แต่ละรุ่น เป็นรายคน 

หากครูคิดโจทย์เป็น  ชีวิตครูจะสนุกสนาน ท้าทาย มีชีวิตชีวา  และมีความก้าวหน้า โดยไม่ยาก    การบรรยายนี้เน้นเสนอแนวทางคิดโจทย์ ว&น ของครู    เพื่อครูเป็นนวัตกร และมีวิธีบ่มเพาะความเป็นนวัตกรให้แก่ศิษย์   เพื่อประเทศไทยในอนาคตมีพลเมืองทุกคนเป็นนวัตกร    ชมวิดีทัศน์ (ที่บันทึกเมื่อวันที่ ๑๔ มีนาคม ๒๕๖๗  สำหรับนำไปเปิดเสนอในการประชุมวันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๖๗  ที่ผมติดงานนัดอื่นเสียก่อนแล้ว) ได้ที่  (๑) 

วิจารณ์ พานิช

๑๔ มี.ค. ๖๗

 

หมายเลขบันทึก: 717892เขียนเมื่อ 15 เมษายน 2024 17:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2024 17:29 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท