ปฏิรูปตำรวจอย่างไรให้ทุกคนได้ประโยชน์ (How to reform police for all)


วันศุกร์ที่แล้วผมออกราย การ ‘นพพรชวนคุย’ ในช่องยูทูปอุบลทีวี ซึ่งในวันนั้นเราคุยกันเรื่อง ‘ปฏิรูปตำรวจอย่างไร ประชาชนได้ประโยชน์’ โดยฐานคิดที่ว่าไหนๆ ก็เมื่อประเด็นการปฏิรูปองค์กรตำรวจอยู่ในวาระความสนใจกันอยู่แล้วในปัจจุบัน และเราในฐานะเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียก็ควรได้มีส่วนในการปฏิรูปดังกล่าวด้วย 

เราพูดคุยกันหลายเรื่องวันนั้น แต่ ก็ยังมีหลายมิติที่ยังไม่ได้กล่าวถึง ก็เลยถือโอกาสนำเสนอและขยายความกันในบทเขียนนี้อีกที ครับ

ฐานคิดของบทเขียนก็คือเราจะปฏิรูปตำตรวจอย่างไรที่จะทำให้ทุกฝ่ายได้ประโยชน์ คือได้ประโยชน์ทั้งองค์การตำรวจ และประชาชน ซึ่งถ้าเรามีฐานคิดอย่างนี้เราคงต้องตั้งคำถามแรกว่า ‘อะไรคือจุดมุ่งหมาย (purpose) ของการมีตำรวจ’ และก็ควรเป็นคำถามแรกในการปฏิรูปหน่วยงานราชการทุกกระทรวง และทุกหน่วยงาน เพราะข้าราชการรับเงินเดือนจากภาษีของประชาชน ดังนั้นการมีหน่วยงานราชการและข้าราชการทำหน้าที่ในหน่วยงานดังกล่าวก็ควรมีจะมุ่งหมายเพื่อประโยชน์ของประชาชนเป็นที่ตั้ง และแน่นอนครับข้าราชการที่ปฏิบัติหน้าที่ในหน่วยงานราชการเหล่านั้นก็ควรได้รับประโยชน์ตอบแทนที่เหมาะสมเช่นกัน 

แต่ไม่ใช่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งรับผลประโยชน์ หรือมีอำนาจในการแสวงหาผลประโยชน์เพื่อตนเองและพวกพร้องเป้นหลัก 

ที่นี้เรามาดูพระราชบัญญัติ และระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการจัดตั้งหรือปฏิรูปหน่วยงานราชการของไทยที่ผ่านมาจะเน้นการปรับระบบงานและองค์การของหน่วยงานเหล่านั้นเป็นหลัก โดยไม่ค่อยกล่าวถึงว่าประชาชนจะได้อะไร และถ้าประชาชนจะได้ประโยชน์ตามจุดมุ่งหมายของการมีหน่วยงานราชการแล้ว หน่วยงานราชการและข้าราชการเหล่านั้นควรปฏิบัติหน้าที่อะไรและอย่างไร 

หลักการบริหารคือ Form follows function หรือ รูปแบบเป็นไปตามหน้าที่  ตอนนี้มาดูสาระสำคัญในพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 ดูว่ากล่าวถึงเรื่องเหล่านี้ว่าอย่างไร 

         หลักการและเหตุผลในการตรากฎหมายนี้คือเพื่อจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลตามพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 ให้การบริหารงานบุคคลของข้าราชการตำรวจเป็นไปตามระบบคุณธรม มีมาตรการป้เองกันมิให้ผู้ใดใช้อำนาจหรือกระทำการโดยมิชอบ และให้ข้าราชการตำรวจประพฤติปฎิบัติตนเหมาะสมแก่เกียรติของตำรวจ และอยู่ในจริยธรรมและจรรยาบรรณของตำรวจ และให้เป็นไปตามแนวทางปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรม และเป็นตามบทบ้ญญัติของรัฐธรรมนูญ

          แล้วผลเป็นอย่างไร ซึ่งเป็นที่เห็นและรับรู้กันอยู่ทั้งในอดีต และปัจจุบัน ทั้งนี้เพราะพระราชบัญญัติดังกล่าวตราขึ้นเพื่อการบริหารองค์กรตำรวจ ไม่ใช่่การบริหารกิจการตำรวจ ดังนั้นถ้าจะมีการปฏิรูปตำรวจจริงๆ ต้องตราพระราชบัญญัติการบริหารกิจการตำรวจ โดยเริ่มต้นว่าเรามีตำรวจไว้ทำหน้าที่อะไร แล้วจึงออกแบบระบบงานเพื่อทำหน้าที่ดังกล่าว พร้อมกำหนดบทบาทหน้าที่ อำนาจ และความรับผิดรับชอบตามหน้าที่ดังกล่าว ดังจะได้นำเสนอต่อไป

            ถ้าจะถามว่า พ.ร.บ. ตำรวจแห่งชาติกำหนดหน้าที่ของตำรวจไว้ไหม คำตอบก็คือ ‘มี’ ซึ่งเขียนไว้ในหมวดที่ว่าด้วยการจัดระเบียบราชการในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เป็นการจัดโครงสร้างงาน และอำนาจหน้าที่ของแต่ละหน่วยงานตามโครสร้างสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ดูรายละเอียดในมาตรา 10-13) แต่ไม่กล่าวถึงหน้าที่และความรับผิดชอบขององค์การตำรวจว่า 'เรามีตำรวจไว้เพื่ออะไร และเพื่อให้งานเป็นไปตามหน้าที่ที่กำหนดไว้ แล้วเราจะจัดองค์การกันอย่างไร แต่ละองค์การย่อยทำหน้าที่อะไร มีขอบเขตอำนาจแค่ไหน และต้องรับผิดรับชอบอะไร อย่างไร (ย้ำหลักการ form follows function)

จากการศึกษาหน้าที่ของตำรวจ และการจัดองค์การตำรวจในต่างประเทศที่เขามีตำรวจไว้รับใช้ประชาชน และผลประโยชน์ของประเทศชาตินั้นเขาทำกันอย่างไร พบว่าโดยส่วนใหญ่แล้วกำหนดหน้าที่เขาตำรวจไว้ 4 ลักษณะคือ 

         1. หน้าที่ในการบังคับใช้กฎหมาย เพื่อให้ทุกคนปฏิบัติตามกฎหมาย รักษาความเป็นระบบระเบียบของสังคม อำนวยความสะดวกและดำเนินการเพื่อคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพส่วนบุคคล กลุ่มบุคคล และสังคมตามบทบัญญัติของกฎหมาย และศิลธรรมของสังคม ทั้งที่ได้รับแจ้งจากผู้เสียหาย หรือพบเห็นซึ่งหน้า ไม่ปฏิบัติตามนี้ผิดกฎหมายเลือก หรือระเว้นการปฏิบ้ติ

          2. หน้าที่่เป็นกลไกส่วนหนึ่งของกระบวนการยุติธรรม โดยเพราะการับแจ้งความ การสืบสวน จับกุมตามอำนาจที่กำหนด (เช่น จับตามหมายศาล หรือจับด้วยเหตุเฉพาะหน้า)  สอบสวน และนำสำนวนเสนอกัยการเพื่อฟ้องศาล 

           3. หน้าที่ให้ความรู้แก่ประชาชน โดยเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวข้องกับบทบาทและหน้าที่ของตำรวจ และงานการศึกษาในพื้นที่เสี่ยงและกันดาน 

           4. งานบริการและสนับสนุนการอยู่ร่วมกันของคนในสังคม เช่น การท่องเที่ยว การจราจร และบริการอื่นๆ ที่ประชาชนร้องขอ 

             ส่วนการแบ่งอำนาจ หน้าที่ และความรับผิดรับชอบกันอย่างไรก็ขึ้นอยู่กับรูปแบบการบริหารราชการของประเทศ และองค์การบร้หารกิจการของตำรวจตามหน้าที่ อำนาจ และความรับผิดรับชอบ แต่โดยทั่วไปจะแบ่งองค์​การตรวจออกเป็น 2 หน่วย คือ องค์การตำรวส่วนกลาง (เช่น FBI ของประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นต้น) และองค์การตำรวจส่วนท้องถิ่น (ตำรวจภูธรของประเทศไทย ไม่ใช่ตรวจท้องถิ่นนะครับ แต่เป็นตำรวจระด้บชาติ ที่ตั้งอยู่ในภูธร เท่านั้น ระตรวจระดับชาตินี้ก็ไม่ใช่ตำรวจส่วนกลางด้วย)

            ตำรวจส่วนกลาง เป็นองค์การตำรวจที่มีหน้าที่ตามที่มอบหมายตามพระราชบัญญัคิที่มีกำหนดการดูแลงานตำรวจได้ทั้งประเทศ โดยจะดำเนินการในกรณีที่ว่าตำรวจท้องถิ่นไม่ได้ทำหน้าที่ ที่ควรเป็น หรือที่องค์​การบริหารระดับท้องถิ่น หรือประชาชนร้องขอ ส่วนตำรวจท้องถิ่นเป็นองค์การตำรวจในสังกัดหน่วยงานราชการท้องถิ่น ซึ่งอาจจะเป็นท้องถิ่นแบบจังหวัดจัดการตนเอง (คล้ายกับองค์การบริหารส่วนจังหวัด หรือ อบจ ในปัจจุบัน) หรือเทศบาลแบบต่างๆ แต่เทศบาล หรือองค์กรบริหารส่วนตำบล (อบต) หรือ แม้แต่กรุงเทพมหานครในปัจจุบันของไทย ก็ไม่ใช่ส่วนท้องถิ่นตามความหมายนี้ แม้จะเรียกว่า  ‘ท้องถิ่น’ ก็ตาม หากเราจัดองค์การตำรวจแบบนี้ ตำรวจก็จะไม่เป็นองค์การขนาดใหญ่เหมือนสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน และตำรวจท้องถิ่นก็จะรับใช้ประขาชนมากขึ้น แทนที่จะรับใช้ต้นสังกัดอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ส่วนพื้นที่ใดที่ยังไม่มีองค์การส่วนท้องถิ่น ก็เป็นหน้าที่ของตำรวจส่วนกลางในการทำหน้าที่ตำรวจ เหมือนระบบปัจจุบัน แต่ทำหน้าที่เฉพาะพื้นที่ที่ยังไม่มีองค์การส่วนท้องถิ่นดูแล แต่ในกระณีที่เป็นท้องถิ่นทั้งจังหวัด เ(ช่น กรุงเทพมหานครในปัจจุบัน ที่มีการเลื้อกตั้งผู้ว่าราขการโดยตรง แต่น่าเสียดายที่กรุงเทพมหานครก็เป็นเพียงท้องถิ่นในนามเท่านั้น) ก็จะมีตำรวจท้องถิ่นของตนเอง ทำหน้าที่่ตำรวจตามกฎหมายกำหนดท้้งจังหวัด ยกเว้นพื้นที่ที่มีการบริหารแบบเทศบาล ซึ่งเป็นองค์การท้องถิ่นอีกแบบหนึ่ง และมีตำรวจของตนเองอยู่่แล้วครับ 

เราสามารถออกแบบและบริหารกิจการตำรวจไทยตามหน้าที่ทั้ง 4 ข้างต้น โดยออกพระราชบํญญํติการบริหารกิจการตำรวจ (ไม่ใช่ พ.ร.บ. ตำรวจแห่งชาติ ครับ) แต่จะให้ดีกว่านี้และประชาขนได้ประโยชน์กว่านี้ก็ควรจะปรับปรุง พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการแผ่นดินใหม่แยกงานราชการออกเป็นสองลักษณะ คืองานราชการส่วนกลาง ซึ่งบริหารโดยรัฐบาลกลาง และงานราชการส่วนท้องถิ่น ซึ่งบริหารโดยองค์การส่วนท้องถิ่น แล้วประชาชนจะได้รับการบริการดีกว่าที่เป็นอยู่นี้แน่นอนครับ 

ฝากให้คนรุ่นใหม่พิจารณาครับ และคนรุ่นเก่าก็ไม่ควรไปขวางเขา เพราะอนาคตของประเทศนี้จะส่งผลต่อพวกเขาโดยตรง พวกเรา รวมทั้งผมด้วยนี้ใช้ทรัพยากรของประเทศเพื่อตนเองมามากพอแล้วครับ

 

สมาน อัศวภูมิ

28 มีนาคม 2567

 

 

หมายเลขบันทึก: 717763เขียนเมื่อ 28 มีนาคม 2024 09:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 มีนาคม 2024 10:26 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

I see that ‘police duties and responsibilities’ ( as defined by laws and as currently performed at large) is a problems or subject for reform. I think the extra activities that some police do -outside/alongside- their legally designated duties should curbed.

It seems that we have far too many police perform non-designated duties, we can only assume that there are too many excess police. So reform issue #1 is the reassessment of functions and resources. Reform issue #2 is the monitoring and review pf performance of the functions –with the help of digital systems. Reform issue #3 is Career path and remuneration for those police who perform their duties earnestly and reduction strategies for ‘extra duties police’.

The same analysis would be effective for many (if not all) government offices.

Many big ooops in comment above It should be

I see that ‘police duties and responsibilities’ ( as defined by laws and as currently performed at large) are not problems or subjects for reform. I think the extra activities that some police do -outside/alongside- their legally designated duties should be curbed.

It seems that we have far too many police perform non-designated duties, we can only assume that there are too many excess police. So reform issue #1: the assessment of functions and resources. Reform issue #2: the monitoring and review of performance and control of the functions –with help of digital systems. Reform issue #3: Career path and remuneration for those police who perform their duties earnestly and reduction strategies for ‘extra duties police’.

The laws issues are to be fixed in Parliament. We need to elect members of Parliament more carefully.

The same analysis would be applied for most (if not all) government offices.

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท