ว. PA (Performance Assessment)


วันที่ 9 มีนาคม 2567 ผมมีโอกาสได้นั่งฟังรองศาสตราจารย์ ดร. ประวิต เอราวรรณ์ เลขาธิการ ก.ค.ศ.​ บรรขายพิเศษที่มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษซึ่งมีประเด็นดีๆ เกี่ยวกับการศึกษาและการบริหารการศึกษาหลายเรื่อง ถ้ากระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงอุดมศึกษาฯ นำแนวคิดของท่านไปใช้ เชื่อว่าการศึกษาของไทยจะเปลี่ยนก้าวข้ามวังวลความล้มเหลวที่เป็นอยู่นี้ไปได้แน่นอน 

นานๆ ทีจะได้ฟังการบรรยายพิเศษดีๆ เช่นนี้ ผู้สนใจอาจหา power point ประกอบการบรรยายดูได้จากเวฟไซต์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษครับ 

และอีกเรื่องหนึ่งที่ชื่นชมวิธีคิดและระบบที่ใช้ในการดำเนินการอย่างยิ่งคือ ‘ว. PA’ หรือ Performance Assessment ซึ่งเป็นระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานที่มุ่งตรงสู่การบรรลุซึ่งวิสัยทัศน์และพันธกิจ หรือความสำเร็จขององค์การ หรือโรงเรียนในกรณีที่เป็นผู้บริหาร หรือครู  มีการทำข้อตกลงล่วงหน้าถึงกิจกรรม ตัวชีวัดที่จะประเมินและเกณฑ์การผ่าน โดยผู้ประเมิน และผู้รับการประเมินสามารถร่วมกันกำหนดเกณฑ์และข้อตกลงต่างๆ ที่สอดคล้องกับคำบรรบายลักษณะงานของตำแหน่งที่เสนอขอเพื่อรับการประเมิน และสอดคล้องกับพันธกิจของหน่วยงานต้นสังกัด 

ที่ทำให้ผมตืนเต้นและมีความสุขที่สุดในการฟังการบรรยายในส่วนนี้คือ 'หลักคิดและวิธีการดังกล่าวช่างเหมือนทางเลือกที่สองของเสนอที่ผมเสนอต่อกรมสามัญศึกษาในการประชุมวิชาการเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของกรมสามัญศึกษาที่โรงแรมเวล จังหวัดนครปฐม เมื่อ 30 กว่าปีที่แล้ว เพียงแต่ดีว่าที่ผมเสนอไว้ตอนนี้มาก

และทั้งๆ ที่สองคน คือ รองศาสตรจารย์ ดร. ประวิต เอราวรรณ์ กับผมไม่เคยคุยกันมาก่อน และเมื่อท่านบรรยายเสร็จผมก็ขอเวลาร่วมเสวนาเล็กน้อยว่า ‘ผมของคุณท่านที่คิดและทำเรื่องนี้ เสมือนหนึ่งเป็นพระเอกมาแก้ปมปัญหาที่ ค้างคาใจของผมมานานมากครั้บ 

กล่าวคือ ผมรู้สึกผิด (guilty) ที่เสนอให้ประเทศไทระบบประวืทยฐานะเพื่อให้ครูและผู้บริหารมีตำแหน่งทางวิชาการ และเงินประจำตำแหน่ง’ ด้วยความเชื่อว่าระบบดังกล่าวจะช่วยยกคุณภาพการศึกษาไทย แต่ที่ผ่านมาดูเหมือนจะเป็นการซ้ำเติมปัญหาการศึกษาไทยขึ้นไปอีก 

ในช่วงปี 2529 (หรืออาจจะเป็น 2528 ผมจำปีไม่ได้ แต่ราวๆ นี้ครับ) กรมสามัญศึกษาดำริจะมีการพัฒนาระบบ การนิเทศภายในโรงเรียนขึ้น ซึ่งตอนนั้นเรียกว่่าระบบการนิเทศงานวิชาการในโรงเรียนมัธยมศึกษา และกรมสามัญศึกษาได้เชิญผมไปเป็นวิทยากรในการประชุมดังกล่าวเพราะหลังจากที่ผมจบปริญญาโทจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปี 2526 ผมก็นำผลการวิจัยที่เป็นวิทยานิพนธ์ของผมมาทดลองในหลายโรงเรียนในเขตการศึกษา 10  และเป็นที่รู้จักกันดีของหน่วยศึกษานิเทศก์กรมสามัญศึกษาในยุคนั้น 

ช่วงท้ายการบรรยายก็มีการซักถามและอภิปรายถึงความเป็นไปได้และประโยชน์ของการนิเทศภายใน ซึ่งผมเสนอที่ประชุมว่า การนิเทศภายในเป็นการพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษาที่ริเริ่มและรับผิดชอบโดยบุคลากรภรายน่าจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงได้มากกว่าการนิเทศภายนอก อย่างไรก็ตามการพัฒนาบุคลากรจะได้ผมและยั่งยืนต้องมีระบบรางวัลที่สอดรับกับเป้าหมายการพัฒนา ซึ่งในครั้งนั้นผมเสนอให้มีระบบวิทยฐานะของครูและผู้บริหารที่ปฏิบัติหน้าที่ได้ดีและมีผลงานเชิงประจักษ์ ซึ่งผมเสนอไว้ 3 ทางเลือกคือ 

           1. กรณีที่หนึ่ง เป็ฯกรณีที่ผู้บริหาร หรือครูที่มีผลงานโดดเด่น เป็นที่ประจักษ์ และเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป เช่น ครู สังคม ทองมี ซึ่งโด่งดังในเรื่องสอนนักเรียนเขียนภาพศิลปะ ได้รางวัลระดับประเทศ และนานาชาติจำนวนมาก ครูประเภทนี้ให้วิทยฐานะเลย โดยเจ้าตัว หรือหน่วยงานไม่ต้องเสนอ 

            2. กรณีที่สอง เป็นกรณีที่มีผลดีในระดับเป็นที่ยอมรับของสถานศึกษา ลูกศิษย์ และชุมชม แต่ยังไม่โดดเ้ด่นเท่ากรณีแรก ให้สถานศึกษา หรือผู้มีผลงานรวบรวมผลงานและหลักฐานเสนอต้นสังกัดพิจารณา โดยมีการตั้งคณะกรรมการลงไปตรวจสอบข้อเท็จจริง ซึ่งถ้าพบว่ามีผลงานประจักษ์ตามเสนอ ก็ให้วิทยฐานะได้ เช่นกัน 

            3. กรณีที่สาม เป็นกรณีที่ไม่เป็นไปตามข้อ 1 แฃะ 2 แต่ผู้เสนอผลิตผลงาน หรือทำงานวิจัยที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาการศึกษา ก็ให้จัดทำผลงาน และรวบรวมผลงานเสนอเพื่อพิจารณืวิทยฐานะ ได้เช่นเดียวกัน แต่ผลงานต้องโด่นเด่นเป็นพิเศษ เพราะเป็นกรณีเสมือนสร้างผลงาน ไม่่ใช่วิถีปกติในการปฏิบัติงาน 

              และไม่ว่าจะได้รับวิทยฐานะในตำแหน่งใด ต้องคงสภาพวิทยฐานะ คือต้องทำหน้าแบบคงเส้นคงว่า และหากใครไม่สามารถรักษาคุณภาพงานได้ตามวิทยฐานะ ต้องยกเลิกเงินประจำตำแหน่งวิทยฐานะ 

 หลังจากการบรรยายครั้งนั้นผมก็ได้รับแต่งตั้งจากรมสามัญศึกษาให้เป็นคณะทำงานพัฒนาระบบการนิเทศภายในสถานศึกษาของกรมสามัญศึกษา และมีการทดลองใช้ระบบดังกล่าวที่โรงเรียนชลบุรีสุขบท จังหวัดชลบุรี และต่อมาได้ขยายโครงการนำล่องไปในต่างจังหวัด และทั่วประเทศในระยะต่อมา แต่ในปี 2531 ผมก็สอบเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาเอกที่คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเปิดสอนเป็นรุ่นแรกในปีนั้น ผมก็เลยไม่ได้ติดตามความเคลื่อนไหวจนกระทั่ง ปี 2537 จึงได้ทราบว่ากระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศระเบียบ และระบบวิทยาฐานะของครูและผู้บริหาร แต่กระทรวงเลือกใช้แบบที่ 3 อย่างที่เรารู้จักและคุ้ึนเคขกันในช่วงที่ผ่านที่ผ่านมา 

จริงๆ แล้ว ผมก็ไม่รู้ว่ากระทรวงได้ใช้แนวคิดที่ผมเสนอไว้สมัยนั้นหรือไม่ แต่ผมก็มีความรู้สึกผิดอยู่ดีเมื่อทราบปัญหา และความไม่ชอบมาพากลของวิทยฐานะ และมีผู้ที่ได้รับวิทยาฐานะเหล่านั้นไม่ได้สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับการจัดการศึกษาของไทยเท่าที่ควร 

แต่ ว.PA ที่เป็นแนวคึดของรองศาสตราจารย์ ดร. ประวิต เอราวรรณ์ ที่กระทรวงศึกษาธิการกำลังดำเนินการอยู่นี้คือความหวังในคุณภาพการศึกษาของประเทศ และหว้งว่าจะมีคนเข้าใจและสืบสนต่อรูปแบบนี้อย่างจริงจังต่อไป 

ผมรู้และเข้าใจว่านี่่เป็นงานหนัก จึงอยากเป็นกำลังใจให้ท่านรองศาสตราจารย์ ดร. ประวิต เอราวรรณ์ และกระทรวงศึกษาธิการครับ 

และขอขอบคุณค่าอย่างยิ่งครับ

สมาน อัศวภูมิ

21 มีนาคม 2567

หมายเลขบันทึก: 717671เขียนเมื่อ 21 มีนาคม 2024 18:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มีนาคม 2024 18:33 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

Your “..แต่ผมก็มีความรู้สึกผิดอยู่ดีเมื่อทราบปัญหา และความไม่ชอบมาพากลของวิทยฐานะ และมีผู้ที่ได้รับวิทยาฐานะเหล่านั้นไม่ได้สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับการจัดการศึกษาของไทยเท่าที่ควร..” links up with [my] The Sin of Taking the Measure To Be the Goal https://www.gotoknow.org/posts/713359 and [my] comment to ความเบ้ (Skewness) และความโด่ง (Kurtosis) คืออะไร ใช้บอกอะไรได้บ้าง https://www.gotoknow.org/posts/712806 .

I think there are 3 major issues: bureaucratic mindset that restrict innovative and real progress; mistaking attaining the measurements (of [performance] indicators) to the goal ; and assuming validity of statistical methods without adherence to the methods’ pre-requisites or assumptions. All these issues are hidden by acceptance of the ‘flow of paper-work’ without field tests .

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท