วิชาเหมือนสินค้า


       ในช่วงที่ผมเป็นเด็กอยู่ในวัยเรียนรู้นั้นถือว่า  ..วิชาเหมือนสินค้าอันมีค่าอยู่เมืองไกล  ต้องยากลำบากไปจึงจะได้สินค้ามา..เมื่อย้อนดูเส้นทางการเรียนของตนเหมือนกบกระโดดข้ามคันนาเพื่อไปยังหนองน้ำ ด้วยเป็นลูกชาวนา เรียนจบ ป.1ถึง ป.4ไปต่อไม่ได้ต้องเข้าวัดเป็นสามเณรน้อย ๆ เรียนนักธรรม-บาลี จึงพบทางการเรียนนอกระบบดูหนังสือเองสอบได้ ป. 7 เรียนระดับ 3 – 4 ต่อด้วย ม.ศ. 4 – 5

       ในช่วงที่เรียนนั้นก็ไปหาหนังสือเก่า ๆ ตามแผงที่เขาวางขายเพื่อเอามาเรียนด้วยตนเอง จนสอบได้วุฒิครูประถมและมัธยม ( พ . ม. )

       เมื่อโอกาสเปิดได้เรียนจบวุฒิ ป.ตรี-ป.โท แต่การจะก้าวเข้าสู่ มหาวิทยาลัยของรัฐชั่งยากเย็นยิ่ง  จึงต้องเหาะเหินเดินอากาศข้ามน้ำทะเลไปอยู่เมืองนอกแปลกแต่จริงคือมหาวิทยาลัยเมืองนอกนั้นรับรองภูมิรู้ภูมิธรรมรับเป็นนักศึกษาเรียน ป. เอกจนจบหลักสูตร

       ด้วยการเรียนจบสาขาวิชาไหนก็ใช้สาขาวิชานั้นทำมาหากินหล่อเลี้ยงชีพในวัยทำงาน เออ..วิชาที่จบมายังขายได้เพราะยังเป็นวิชาขาดแคลนตลาดยังต้องการอยู่ทั้งนี้ได้อาศัยใบบุญของกัลยาณมิตรคอยอุ้มชูช่วยเหลือด้วยละ

        จากหนุ่มน้อยบ้านนามาสู่รั้ววัดวาศาสนาเข้าอยู่มหาวิทยาลัยพัฒนาตนขึ้นมาตามลำดับ  ตั้งแต่ภาพตนเขียนชอล์กบนกระดานดำ ปิ้งแผ่นใส ใช้คอมพิวเตอร์ จนมาถึงปัจจุบันสอนแบบออนไลน์ ถือได้ว่ามาไกลพอเพียงแล้วในช่วงวัยทำงานสำหรับชีวิตหนึ่งนี้และทำให้มองอนาคตในยุคต่อไป ( อาจผิดก็ได้นะ)ว่า..วิชาเหมือนสินค้า  อันมีค่าอยู่ไม่ไกล  ใช้นิ้วสัมผัสไง  เราจึงได้สินค้ามา..ฮา ๆ 

หมายเลขบันทึก: 717626เขียนเมื่อ 16 มีนาคม 2024 21:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มีนาคม 2024 21:52 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เก่งมากเลยครับคิดถึงลูกๆมากเลยนะครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท