ศึกษาอาการและการจัดการอาการในผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดี ที่ได้รับยาเคมีบำบัดสูตร Cisplatin และ 5-fluorouracil


อาการและการจัดการอาการในผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด Cisplatin และ 5FU

งานวิเคราะห์ ศึกษาอาการและการจัดการอาการในผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีที่ได้รับยาเคมีบำบัดสูตร Cisplatin และ และ5-fluorouracil 

ชื่อผู้จัดทำ นางสาวกนกกัญญา สุทธิสาร ตำแหน่ง พยาบาลชำนาญการ สังกัด หอผู้ป่วยเคมีบำบัด 5จ งานการพยาบาลบำบัดพิเศษ ฝ่ายการพยาบาล คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

บทคัดย่อ

การวิเคราะห์งานครั้งนี้ เป็นการศึกษาอาการและการจัดการอาการในผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด Cisplatin และ 5FU ในหอผู้ป่วยเคมีบำบัด 5จ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ กลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดในรอบที่ 1, 3 และ 6 จำนวน 10, 10 และ 10 ราย ตามลำดับ จำนวน 30 ราย

ผลการวิเคราะห์งาน พบว่า 

อาการที่พบภายหลังการได้รับยาเคมีบำบัด 

      5 อันดับแรกได้แก่ อาการอ่อนเพลีย คลื่นไส้ เบื่ออาหาร แผลร้อนใน และนอนไม่หลับ ตามลำดับ 

  • รอบที่ 1 พบมากอันดับที่ 1 คือ อาการเบื่ออาหาร ร้อยละ 80 รองลงมาได้แก่ อาการอ่อนเพลีย ร้อยละ 70 คลื่นไส้ ร้อยละ 60 
  • รอบที่ 3 พบอาการอ่อนเพลีย ร้อยละ 90 รองลงมาได้แก่ อาการผมร่วงและนอนไม่หลับ ร้อยละ 50 
  • รอบที่ 6 พบอาการ อ่อนเพลียมากที่สุด ร้อยละ 100 รองลงมาได้แก่ แผลร้อนใน ร้อยละ 70 

    ระดับความรุนแรงของอาการ

  • รอบที่ 1 พบอาการอ่อนเพลียเกรด 2 มากที่สุด ร้อยละ 50 
  • รอบที่ 3 พบอาการผมร่วงเกรด 1 มากที่สุด ร้อยละ 50 
  • รอบที่ 6 พบอาการคลื่นไส้ เกรด 3 มากที่สุด ร้อยละ 50 

การจัดการอาการที่เกิดขึ้นผู้ป่วย 

  • จัดการกับอาการอ่อนเพลีย โดยนอนพักร่วมกับการเดินออกกำลังกายมากที่สุด ร้อยละ 57.69 รองลงมาคือ การนอนพักอย่างเดียว ร้อยละ 34.62 
  • อาการคลื่นไส้ จัดการอาการโดยรับประทานผลไม้รสเปรี้ยวร่วมกับการดื่มน้ำขิง และการรับประทานผลไม้รสเปรี้ยวอย่างเดียว ร้อยละ 31.25 รองลงมาคือ รับประทานยาตามแพทย์สั่ง ร้อยละ 18.75 
  • อาการเบื่ออาหารจัดการอาการโดยปรับเปลี่ยนอาหารเป็นรับประทานอาหารที่ชื่นชอบ ร้อยละ 60 รองลงมาคือการรับประทานอาหารอ่อนร่วมกับการรับประทานผลไม้รสเปรี้ยว 
  • อาการแผลร้อนใน จัดการอาการโดย บ้วนปากด้วยน้ำเกลือร่วมกับการทายาชา ร้อยละ 45.45 รองลงมาคือการบ้วนปากด้วยน้ำเกลืออย่างเดียว 
  • อาการนอนไม่หลับ จัดการอาการโดยการกินยานอนหลับมากที่สุด ร้อยละ 80 รองลงมาคือดูทีวีร่วมกับการเล่น social media และการฟังธรรมมะ ร้อยละ 10 

      จะเห็นได้ว่าส่วนใหญ่ผู้ป่วยเลือกใช้วิธีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน ที่สามารถทำได้เองไม่ยุ่งยากซึ่งช่วยขจัดและบรรเทาอาการเพื่อให้สุขสบายขึ้นได้

งานวิเคราะห์น่าสนใจ ขอนำเสนอไว้เพื่อให้ผู้อ่านสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้นะคะ

อุบล จ๋วงพานิช

อาการและอาการแสดง

การจัดการอาการ

หมายเลขบันทึก: 717599เขียนเมื่อ 13 มีนาคม 2024 15:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มีนาคม 2024 15:41 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท