สรุปความรู้สึก ประสบการณ์ และสิ่งที่ได้รับจากการเรียนรู้อุปกรณ์ช่วย ณ สถาบันสิรินธร เพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ


บันทึกนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา PTOT 366 อุปกรณ์ช่วยและเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับนักกิจกรรมบำบัด (Assistive Technology for Occupational Therapy) โดยเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2567 นักศึกษากิจกรรมบำบัดชั้นปีที่ 3 ได้เดินทางไปที่ สถาบันสิรินธร เพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ เพื่อนำเสนออุปกรณ์ช่วยและศึกษาดูงานอุปกรณ์ช่วยต่างๆ ภายในสถาบันสิรินธร

ความรู้สึกที่ได้เรียนรู้—ความรู้สึกและความประทับใจแรกที่ได้รับคือสื่อการเรียนการสอน สถาบันสิรินธรมีรูปแบบการนำเสนออุปกรณ์ช่วยที่หลากหลาย มีทั้งรูปแบบของจริง แบบโปสเตอร์แปะผนัง และแบบสไลด์ presentation ซึ่งการมีสื่อที่หลากหลายทำให้นักศึกษาได้เรียนรู้ได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ นักศึกษายังมีความรู้สึกภูมิใจในการประดิษฐ์อุปกรณ์ช่วยร่วมกับเพื่อน โดยได้รับการชมเชยและข้อควรปรับปรุงหลังการนำเสนอผลงานจากทั้งคณะอาจารย์จากมหาวิทยาลัยมหิดลและสถาบันสิรินธร

สิ่งที่ได้เรียนรู้ในครั้งนี้—นักศึกษาได้เรียนรู้อุปกรณ์ช่วยที่หลากหลายมากขึ้น ซึ่งเป็นโอกาสให้นักศึกษาได้นำความรู้จากในห้องเรียนมาบูรณาการกับการใช้อุปกรณ์จริง หรือบางอุปกรณ์ที่นักศึกษายังไม่ได้มีประสบการณ์จากการเรียนในห้องเรียน นักศึกษาก็ได้มีโอกาสเห็นจริง ได้รู้ถึงวิธีการใช้ที่ชัดเจนและเห็นภาพ ส่งผลให้ในอนาคต หากนักศึกษาได้มีโอกาสรักษาและให้อุปกรณ์ช่วยแก่ผู้รับบริการ นักศึกษาจะมีตัวเลือกการให้ที่ดีและเหมาะสมกับผู้รับบริการยิ่งขึ้น รวมถึงการศึกษาดูงานในครั้งนี้ทำให้นักศึกษาได้เรียนรู้การให้อุปกรณ์ช่วยชนิดต่างๆที่เหมาะสมกับระดับพยาธิสภาพและระดับความสามารถของผู้รับบริการอีกด้วย ตัวอย่างอุปกรณ์เช่น Motor wheelchair-ใช้สำหรับผู้รับบริการที่มีพยาธิสภาพครึ่งล่างของร่างกายและไม่สามารถใช้มือและแขนในการเคลื่อนย้ายตนเองผ่าน Manual wheelchair ได้, Standing wheelchair-ใช้สำหรับผู้รับบริการที่มีความยากลำบากในการยืนหรือไม่สามารถยืนได้ด้วยตนเองแต่ต้องการหรือทำอาชีพที่จำเป็นจะต้องยืน ข้อควรระวังการใช้วีลแชร์นี้คือ ระวังในผู้รับบริการที่มีปัญหาการทรงตัว, Hoist-ใช้สำหรับผู้รับบริการที่มีพยาธิสภาพขั้นติดเตียง ไม่สามารถเคลื่อนย้ายตนเองได้, Tilt in space wheelchair-ใช้สำหรับผู้รับบริการที่มีความตึงตัวของกล้ามเนื้อสูง มีอาการแสดงเกร็งเหยียด, Get up Holder-ใช้สำหรับผู้รับบริการที่ไม่สามารถลุกขึ้นจากเตียงหรือนั่งลงเตียงเพื่อนอนด้วยตนเองได้ มีการทรงตัวไม่ดี เป็นต้น ซึ่งการเรียนรู้อุปกรณ์ช่วยเหล่านี้จะสอดแทรกถึงแนวทางวิธีการใช้ ความเหมาะสมในการใช้ และข้อควรระมัดระวังระหว่างการใช้งาน

ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อยอดทางกิจกรรมบำบัด—นักศึกษาจะนำความรู้ที่ได้รับไปพัฒนาและออกแบบอุปกรณ์ช่วยที่เหมาะสมสำหรับผู้รับบริการที่มีพยาธิสภาพที่แตกต่างกันไปในอนาคต โดยมีจุดประสงค์เพื่อผู้รับบริการจะมีสภาพความเป็นอยู่ที่สบายขึ้น คุณภาพชีวิตสูงขึ้น ลดภาระของผู้ดูแล และที่สำคัญที่สุดคือ เพื่อส่งเสริมให้ผู้รับบริการสามารถทำสิ่งต่างๆที่มีคุณค่าแก่ชีวิตได้ดีขึ้นตามความสามารถสูงสุดที่ยังคงเหลืออยู่

นายพีระยุทธ สะอาดเอี่ยม นักศึกษาสาขากิจกรรมบำบัด ชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยมหิดล

หมายเลขบันทึก: 717549เขียนเมื่อ 10 มีนาคม 2024 17:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มีนาคม 2024 19:33 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท