116 การเขียนปัญหาการวิจัย (Research หรือ Statement of the Problem)


สิ่งสำคัญประการหนึ่งของการวิจัยก็คือการเขียน “ปัญหาการวิจัย” Research หรือ Statement of the Problem) ถ้าเรากำหนดปัญหาการวิจัยผิด กระบวนการแก้ปัญหาก็จะผิดไปด้วย ถ้าไม่มีปัญหาจำเป็นต้องวิจัยหรือไม่ ก็ต้องทำ ทำในลักษณะของการพัฒนา่่ต่อยอดไปสู่ความเป็นเลิศ

สิ่งสำคัญประการหนึ่งของการวิจัยก็คือการเขียน “ปัญหาการวิจัย” Research หรือ Statement of the Problem) ถ้าเรากำหนดปัญหาการวิจัยผิดกระบวนการแก้ปัญหาก็จะผิดไปด้วย ถ้าไม่มีปัญหาจำเป็นต้องวิจัยหรือไม่ ก็ต้องทำ ทำในลักษณะของการพัฒนา่่ต่อยอดไปสู่ความเป็นเลิศ

การเขียนปัญหาการวิจัย อาจเขียนได้ใน 2 ลักษณะคือ

1. เขียนในลักษณะ 3 เหลี่ยมคว่ำ ตามที่เราได้รับการอบรมสั่งสอนมาก็คือให้เขียนในเรื่องที่กว้าง ๆ ก่อนในระดับนานาชาติ ระดับชาติ ระดับภาค ระดับจังหวัดหรือระดับเขตพื้นที่ ทั้งนี้สำหรับศึกษานเทศก์ให้เขียนมาถึงระดับเขตพื้นที่หรือในกลุ่มโรงเรียน สหวิทยาเขตที่เรารับผิดชอบว่ามีปัญหาอะไร ส่วนผู้บริหารสถานศึกษาเขียนต่อไปว่าในระดับโรงเรียนมีปัญหาอะไร รองผู้บริหารสถานศึกษาก็เขียนต่อไปฝ่ายหรือกลุ่มงานที่เรารับผิดชอบมีปัญหาอะไร ส่วนครูก็เขียนต่อไปอีกว่าในระดับห้องเรียนที่รับผิดชอบมีปัญหาอะไร จากปัญหาที่หลากหลายดังกล่าวข้างต้นแล้วจึงทำการสังเคราะห์ว่าแล้วปัญหาที่วิกฤติหรือจำเป็นต้องได้รับการแก้ไขโดยเร่งด่วนคืออะไรเพื่อสรุปเป็นปัญหาการวิจัย (Research หรือ Statement of the Problem) เพียง 1 ปัญหาเท่านั้น

2. เขียนในลักษณะ 3 เหลี่ยมหงาย เขียนในลักษณะย้อนกลับโดยการกำหนดปัญหาการวิจัย (Research หรือ Statement of the Problem) ก่อนว่าคืออะไรแล้วค่อยทำการวิเคราะห์ว่าปัญหาการวิจัยนั้นมีสาหตุจากอะไร อะไรเป็นสาเหตุของปัญหา เหมือนกับอริยสัจ 4 ที่กำหนดทุกข์ (ปัญหา)ก่อนว่าคืออะไร จากนั้นถึงไปวิเคราะห์สมุทัย (สาเหตุของปัญหา)

ในทัศนะของผมไม่ว่านักวิจัยจะเขียนในลักษณะใดก็ได้ที่สามารถบอกได้ว่าปัญหาการวิจัยและสาเหตุของปัญหานั้นคืออะไร จะเขียนในลักษณะ 3 สามเหลี่ยมคว่ำหรือ 3 เหลี่ยมหงายก็ได้

การได้มาซึ่งปัญหาและปัญหาการวิจัย ผู้วิจัยอาจเขียนในลักษณะสามแหล่งสามเส้า (Triangulation) ประกอบด้วยการใช้

1. สุนทรียสนทนา (Appreciate Talking) เช่น การสัมภาษณ์ (Interview) การสัมภาษณ์เชิงลึก (Indebt Interview) การสัมมนากลุ่ม (Focus Group Discussion) หรือวิธีการอื่น ๆ ตามที่เห็นวมควร

2. การวิจัยเอกสาร (Documentary Research) จากการศึกษาเอกสาร ตำรา รายงานวิทยานิพนธ์ ดุษฎีนิพนธ์ รายงานการวิจัย บทความทางวิชาการและบทความวิจัยที่เกี่ยวข้องทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศอย่างกว้างขวาง

3. การใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) เพื่อให้ได้มาซึ่งปัญหา โดยอาจใช้แบบสอบถามเพื่อเก็บข้อมูลสภาพปัจจุบัน (Realistic Condition) และสภาพที่คาดหวัง (Expectation Condition) แล้วนำมาหาค่า PNI เพื่อให้ได้ค่าความแตกต่างระหว่างสภาพปัจจุบันและสภาพที่คาดหวัง ถ้าแตกต่างกันมากก็แสดงว่ามีปัญหามาก ถ้าแตกต่างกันน้อยก็แสดงว่ามีปัญหาน้อย ถ้าไม่แตกต่างกันก็แสดงว่าไม่มีปัญหา

จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาซึ่งปัญหามาเขียนจำแนกเป็นการศึกษาทั้งเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และเชิงปริมาณ (Quantitative Research) เช่น

1. การศึกษาเชิงคุณภาพ ได้แก่การได้มาซึ่งปัญหาจากการสัมภาษณ์ (Interview) การสัมภาษณ์เชิงลึก (Indebt Interview) หรือการประชุมกลุ่ม (Focus Group Discussion) เป็นต้น

2. การศึกษาเชิงปริมาณ ได้แก่มาซึ่งข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) เป็นต้น

เมื่อได้ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพปัญหาแล้วก็ข้อมูลจากทุกประเด็นมาสรุปให้เหลือเพียง 1 ปัญหาซึ่งเป็นปัญหาวิกฤติหรือจำเป็นที่ต้องแก้ไขโดยเร่งด่วนเพียงปัญหาเดียวและปัญหาดังกล่าวต้องสอดคล้องกับตัวแปรตามที่ปรากฏอยู่ในชื่อเรื่องการวิจัยด้วย เช่น

ปัญหา : นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ

การแก้ปัญหา : การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน

ปัญหา : นักเรียนขาดทักษะการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร

การแก้ปัญหา : การพัฒนาทักษะการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของ นักเรียน

ปัญหา : ครูขาดสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก

การแก้ปัญหา : การพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู

ปัญหา : ครูขาดทักษะในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการคิดของเด็ก

การแก้ปัญหา : การพัฒนาทักษะในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการคิดของเด็ก

หมายเลขบันทึก: 717429เขียนเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2024 20:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2024 20:31 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท