ชีวิตที่พอเพียง  4667. PMAC 2024 5. คิดใหม่ เรื่องความช่วยเหลือจากภายนอก


 

การประชุม Side Meeting เช้าวันที่ ๒๓ มกราคม ๒๕๖๗ มีหลายห้อง   ที่เตะตาผมคือเรื่อง Rethinking external assistance for health    ที่มี IHPP เป็นหน่วยงานประสานงาน    มีหลายองค์กรร่วมกันจัด     

อีกห้องหนึ่ง เวลาเดียวกัน เรื่อง Aligning Health Financing for Sustainable Impact: Decolonisation of ODA  จัดโดยหน่วยงานด้านการเงินระหว่างประเทศ   และจับ ๔ ประเด็นคือ   Session 1: Political economy of health financing

Session 2: Aligning lending and domestic funding

Session 3: Achieving synergies between vertical programs and country programs

Session 4: Financing integrated services in fragile setting

 

เรื่องความช่วยเหลือที่ประเทศรวย ช่วยประเทศยากจนนั้น   ผมเชื่อครึ่งไม่เชื่อครึ่งว่ามาจากเจตนาบริสุทธิ์    แม้ความช่วยเหลือจากองค์การการกุศล (ทั้งระหว่างประเทศ และในประเทศ) ผมก็คิดแบบเดียวกัน    คือสงสัยว่าเขามีวาระซ่อนเร้น หรือเป้าหมายลับ (hidden agenda) เพื่อตัวเขาเองเป็นเป้าหมายหลัก   เอาการช่วยเหลือเราเป็นเครื่องมือประชาสัมพันธ์ตัวเขาหรือองค์กร/ประเทศเขา  หรือไม่    

ผมระมัดระวังเสมอ ว่าความช่วยเหลือจากภายนอกที่ดูดี มีเมตตา นั้น   จะมีผลให้ผู้รับดำรงความอ่อนแอของตนไว้อย่างเหนียวแน่น   เพราะมันส่งเสริมให้ผู้รับมุ่งรอความช่วยเหลือจากผู้อื่นหรือภายนอก     ไม่คิดช่วยเหลือตนเอง   

ผมสงสัยมาตั้งแต่ผมยังเป็นเด็ก     ว่าความช่วยเหลือภายนอกนั้น    มันช่วยเราจริงหรือ    มันช่วยให้เราแข็งแรงขึ้นจริงหรือ    หรือมันชักจูงให้เราหลงผิด มุ่งรอรับความช่วยเหลือภายนอกอยู่ร่ำไป   มันช่วยให้เราแข็งแรงขึ้น จนกลายเป็นคน/ชุมชน/สังคม/ประเทศ ที่แข็งแรง ช่วยตัวเองได้ หรือไม่    

ผมจึงลองถาม Generative AI ด้วยคำถามว่า What are real outcome and impact of external assistance for health in poor countries?   ได้รับคำตอบว่า มีทั้งผลด้านบวกและลบ    ด้านบวกมีหลากหลายตามที่ผู้ให้ระบุ    ด้านลบ หรือความท้าทายที่อาจเกิดขึ้นได้แก่  (๑) กระบวนทัศน์รอรับ หรือเสพติดความช่วยเหลือ  (๒) ผลที่ยั่งยืนในระยะยาว  (๓) การดำเนินการแบบแยกส่วน และการประสานงานหลายภาคส่วน  (๔) ผู้ให้ความช่วยเหลือกำหนดเงื่อนไขและลำดับความสำคัญ เพื่อตนเอง  (๕) ความเสมอภาคทางสุขภาพ และการกำหนดลำดับความสำคัญ  (๖) เป้าหมายระยะสั้น  (๗) ก่อคอร์รัปชั่น และผลกระทบด้านลบทางการเมืองและเศรษฐกิจ (๘) ผลกระทบด้านลบด้านสังคม และสิ่งแวดล้อม   

มองเชิงบวก คำถามคือ ประเทศหรือชุมชนยากจน  จะรับความช่วยเหลือต่างประเทศ หรือจากภายในประเทศด้วยกันเอง    เพื่อแก้ปัญหาระยะสั้น โดยไม่ก่อผลร้ายในระยะยาวได้อย่างไร   โดยผลร้ายในระยะยาวในที่นี้คือกระบวนทัศน์พึ่งพิง รอรับความช่วยเหลือจากภายนอก   ไม่คิดพึ่งตนเอง   ทำให้ไม่เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน   

จะเห็นว่า ประเด็นผลร้ายระยะยาว จากความช่วยเหลือจากภายนอกนั้น   ไม่ได้เกิดเฉพาะความช่วยเหลือจากต่างประเทศเท่านั้น   ความช่วยเหลือจากภายในประเทศ เช่นจากนโยบายประชานิยมของฝ่ายการเมือง   ก็เป็นต้นเหตุของความอ่อนแอในระยะยาวด้วย 

ในระดับบุคคล เรื่องนี้แก้ไม่ยาก โดยรู้จักคิดใคร่ครวญไตร่ตรองเอง อย่างรู้เท่าทัน    รู้จักต่อรอง    และรู้จักปฏิเสธ    ซึ่งก็ใช้ในระดับประเทศได้

ศัตรูร้ายในเรื่องนี้ คือ คอร์รัปชั่น                  

วิจารณ์ พานิช

๒๓ ม.ค. ๖๗ 

ห้อง ๔๖๑๐  โรงแรมเซนทารา แกรนด์ 

 

หมายเลขบันทึก: 717412เขียนเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2024 18:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2024 18:12 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท