115 ชื่อผลงานทางวิชาการ/งานวิจัยบอกอะไรได้บ้าง


          ชื่อผลงานทางวิชาการหรือผลงานวิจัยสามารถบอกถึงอะไรได้บ้าง ลองดูจากชื่อตัวอย่างงานวิจัยต่อไปนี้

  1. การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนรักประเทศไทย
  2. รูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาทักษะในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูโรงเรียนรู้คุณ
  3. รูปแบบการนิเทศเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนคิดอย่างเป็นระบบของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี

          ไม่ว่าจะเป็นผลงานทางวิชาการของครู ผู้บริหารสถานศึกษาหรือของศึกษานิเทศก์ก็ตามก็จะมีลักษณะหรือองค์ประกอบที่ไม่แตกต่างกันกล่าวคือ

  1. ตัวแปร (Variables) จะประกอบไปด้วยตัวแปรต้นและตัวแปรตาม จากชื่อเรื่องที่ยกมาเป็นตัวอย่างจะพบว่า
  2. ตัวแปรต้น (Independent Variable) ได้แก่ รูปแบบการจัดการเรียนรู้ รูปแบบการบริหาร และรูปแบบการนิเทศ
  3. ตัวแปรตาม (Dependent Variable) ได้แก่ ทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ทักษะในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก และสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ

          ตัวแปรที่นำมาใช้เขียนในเรื่องจะขึ้นต้นด้วยตัวแปรต้นหรือตัวแปรก่อนแล้วด้วยตัวแปรตามหรือตัวแปรต้นก็ได้ ซึ่งเราสามารถเห็นได้ใรงานวิจัยหรือวิทยานิพนธ์โดยทั่วไป แต่ใน Style ศน.กิตติ กสิณธารา ผมว่าควรเขียนตัวแปรต้นซึ่งเป็นตัวแปรที่เป็นเหตุก่อนแล้วจึงตามด้วยแปรตามที่เป็นผล เมื่อมีเหตุแป็นแบบนี้จึงก่อให้เกิดผลแบบนี้

  1. ประชากร (Population) ประชากรในในที่นี้หมายถึงสิ่งที่เราจะศึกษาอาจเป็นนักเรียน ครู หรือผู้บริหาร ถ้าสิ่งที่จะศึกษามีจำนวนน้อยเราสามารถใช้ “กลุ่มเป้าหมาย (Target Group)” หรือศึกษาจาก “ประชากร (Population)” แต่ถ้าสิ่งที่จะศึกษามีขนาดใหญ่หรือมีจำนวนมากเราอาจศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง (Sampling)

         ข้อบกพร่องประการหนึ่งที่พบคือในงานวิจัยนั้นศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างแต่ไม่ได้บอกว่าประชากรคืออะไร มีจำนวนเท่าไหร่และใช้วิธีการสุ่มแบบใดเพื่อให้ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่างที่ต้องการ

          จากตัวอย่างสิ่งที่เป็นประชาการ (Population) คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ครู และครู

  1. พื้นที่ (Area) เป็นการบอกว่าสิ่งที่เราจะศึกษาเราจะทำการศึกษาหรือวิจัยในพื้นที่ใด จากตัวอย่างที่ให้จะพบว่าสิ่งที่แสดงถึงพื้นที่ที่จะศึกษาคือโรงเรียนรักประเทศไทย โรงเรียนรู้คุณ และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี
  2. สถิติ (Statistics) อีกประการหนึ่งที่จะปรากฏบนชื่อเรื่องของผลงานทางวิชาการหรืองานวิจัยคือสถิติที่ใช้ เช่น งานวิจัยที่ขึ้นต้นด้วย

     การศึกษา สถิติที่ใช้อาจเป็นสถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics)

     การเปรียบเทียบ สถิติที่ใช้ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) t – test หรือ Anona

     การส่งผลหรือที่ส่งผล สถิติที่ใช้ เป็น Regression Analysis 

     รูปแบบหรือการพัฒนารูปแบบมีลักษณะของการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) จะต้องมีสำรวจและสังเคราะห์ทฤษฎี (Exploratory Factor Analysis) โดยใช้ตารางสังเคราะห์ (Cross หรือ Synthesis Table) และมีการยืนยันและรับรองรูปแบบ ที่นิยมใช้กันอาจใช้การประชุมกลุ่ม (Focus Group Discussion) การสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ (Connoisseurship) หรือใช้วิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis : CFA) ด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบ (Factors Analysis) และการวิเคราะห์เส้นทาง (Path Analysis) เพื่อตรวจสอบและยืนยันว่าองค์ประกอบที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้นมานั้นตรงกับกรอบแนวคิดที่เราสร้างขึ้นมาหรือไม่

          โดยสรุปองค์ประกอบของชื่อเรื่องผลงานทางวิชาการหรืองานวิจัยควรมีองค์ประกอบ VPAS ดังต่อไปนี้

          ชื่อเรื่อง = ตัวแปร (Variables)+ ประชากร (Population) + พื้นที่ (Area) + สถิติที่ใช้ (Statistics)

          Research Title = Variables + Population + Area + Statistics   

          นอกจากนั้นการตั้งชื่อเรื่องผลงานทางวิชาการหรืองานวิจัยที่ดีควรมีลักษณะดังนี้

  1. ตั้งชื่อเรื่องให้ตรงกับปัญหาการวิจัย (Research Problem หรือ Statement of the Problem) จากปัญหาที่นำเสนออย่างหลากหลาย ผู้วิจัยต้องสรุปปัญหาเหล่านั้นให้เป็นปัญหาการวิจัย (Research Problem  หรือ Statement of the Problem) สำหรับการทำวิจัยนี้เพียงปัญหาเดียว

          ปัญหาประการหนึ่งของผู้ทำผลงานทางวิชาการหรืองานวิจัยก็คือไม่ได้สรุปให้เห็นถึงปัญหาการวิจัย (Research Problem หรือ Statement of the Problem) เมื่อได้ไม่ได้สรุปการแก้ปัญหาก็สะเปะสะปะ แก้ปัญหาได้ไม่ตรงจุด และเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้การประเมินผลงานไม่ผ่าน

  1. ตั้งชื่อเรื่องใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย โดยใช้ภาษาเขียน ที่เป็นประโยคบอกเล่า ไม่ใช้ตัวย่อใด ๆ หรือเครื่องหมายไปยาลน้อย ใช้ภาษาง่าย ๆ และกะทัดรัด (ไม่สั้นเกินไปจนไม่ได้ความหรือยาวเกินไปจนหาจุดเด่นไม่ได้ หรือรุ่มร่ามเกินควร) และใช้คำศัพท์ที่เฉพาะเจาะจง
  2. ตั้งชื่อเรื่องในลักษณะคำนาม ขึ้นต้นในลักษณะคำนาม เช่น การ....หรือ ผลกระทบ...

   3. เขียนเป็นข้อความสละสลวย

หมายเลขบันทึก: 717408เขียนเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2024 11:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2024 11:53 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท