Transformative Education  ที่ศิริราช


 

 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล มีโครงการ Pearls in Medical Education 2567    และเชิญผมไปพูดเรื่อง Transformative Education  ในวันที่ ๑๐ มกราคม ๒๕๖๗  เวลา ๑๔.๐๐ – ๑๖.๐๐ น.  โดยก่อนหน้านั้นผมไม่รู้จักคำนี้   หรือรู้จักรางๆ ไม่ชัดเจน   การเชิญนี้ทำให้ผมทดลองหาผู้ช่วย คือ Generative AI สามสำนักให้ตอบคำถามสำหรับเตรียมไปบรรยาย    ได้ Ppt ประกอบการบรรยาย ดัง ()   และการบรรยายตามด้วยการเสวนา ชมได้ที่ (๒) 

กลับมาบ้านหลังจากไปกินเลี้ยงตอนค่ำ จนเลยเวลานอน    ตื่นขึ้นมาเช้าวันที่ ๑๑  เทวดามาบอกผมว่า เมื่อวานผมเผลอลืมย้ำไป ๒ ประเด็น  คือ 

  1. หัวใจสำคัญที่สุดของ TE คือ การหนุนให้ผู้เรียนเกิด แรงบันดาลใจ (inspiration)       
  2. ผมลืมเสนอในที่ประชุมว่า การดำเนินการที่สำคัญที่สุด ก่อความปั่นป่วน (ต่ออาจารย์ส่วนใหญ่ของศิริราช) น้อยที่สุด และก่อผลกระทบสูงที่สุด คือ กิจกรรมนอกหลักสูตร  (extra-curricular activities) ที่หนุนให้ นศ. คิดและดำเนินการโครงการรับใช้สังคมหรือชุมชน เน้นชุมชนในชนบทห่างไกล   แบบกิจกรรมอาสาสมัคร    โดยมีอาจารย์ที่มีใจในเรื่องนี้เป็นที่ปรึกษา   และชวนศิษย์สะท้อนคิด (critical reflection) ว่า นักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการได้เรียนรู้อะไรบ้าง   เน้นประเด็นเชิง Transformative Learning      

ผมมีความสุขมาก ที่ได้ทราบว่ามีอาจารย์รุ่นใหม่ที่ได้รับทุนเยาวชน รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ไปเรียนรู้ศาสตร์ด้าน Medical Education ในต่างประเทศ ๑ ปี   แล้วกลับมาทำงานวิชาการด้านนี้แบบทุ่มชีวิต   

วิจารณ์ พานิช

๑๑ ม.ค. ๖๗

        

หมายเลขบันทึก: 717366เขียนเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2024 16:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2024 16:50 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท