ภาวะผู้นำปราศจากอำนาจ (Leadership without authority)


ผมสอนภาวะผู้นำทั้งระดับปริญญาโท และปริญญาเอกมาหลายปี และหลายมหาวิทยาลัย เวลาสอนก็เห็นว่านักศึกษาเข้าใจและเห็นความสำคัญในการใช้ภาวะผู้นำในการบริหาร แต่ในทางปฏิบัติพบว่าไม่ค่อยมีการนำใช้ภาวะผู้นำในการบริหารงานอย่างที่ควรจะเป็น กล่าวคือมีการใช้ภาวะผู้นำเสริมความสามารถในการบริหารและสร้างความแตกต่างในการบริหารงานได้ดียิ่งขึ้น คือทำงานในหน้าที่ได้ดียิ่งขึ้นเท่านั้น แตค่ไม่ค่อยได้สสร้างความเปลี่ยนแปลงในองค์การได้เท่าที่ควร 

จากการซักถามและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับลูกศิษย์หลายครังได้รับคำตอบที่คล้ายกันคือ ‘ข้อจำกัดในอำนาจหน้าที่’ กล่าวคือผู้บริหารสถานศึกษาของไทยไม่มีอนาจในการบริหารงานในหน้าที่ของตนเท่าที่ควรยกเว้นงานวิชาการ ซึ่งได้รับ มอบอำนาจค่อนข้างมาก ส่วนงานธุการการเงินและงานบุคคลซึ่งเป้นกลไกหลักในการบริหารนั้นแทบจะไม่มีอำนาจทำอะไรเลย แม้แต่เงินที่สถานศึกษาหามาได้เองก็ไม่มีอำนาจในการใช้โดยมีระะบียบของโรงเรียนเอง ส่วนงานบุคลากรนั้นยิ่งไ่ม่ต้องพูดถึง ผู้บริหารไม่มีอำนาาจในเลือกบุคลากรของตนเอง และแม้แต่การพิจาณาและให้คาามดีความชอบครูก็ทำได้แค่เสนอชื่อ แต่ผู้ที่มีอำนาจในตัดสินใจเป็นคณะกรรมการบริหารงานบุคคลในระดับเขตพื้นที่การศึกษา เป็นต้น 

ผู้บริหารสถานศึกษาจึงไม่มีอำนาจในการขับเคลื่อนงานขององค์การอย่างที่ตั้งใจ และเป้นปัจจัยบั่นทอนการใช้ภาวะผู้นำ ครับ

จริงอยู่โดยหลักแล้ว การใช้อำนาจบังคับเป็นภาวะผู้นำที่ไม่พึงประสงค์ของผู้ตาม และเป็นทางเลือกท้ายๆ ของการนำ แต่การนำองค์การที่ไม่มีอำนาจในการตัดสินใจในเชิงการบริหารแล้วก็เป็นอุปสรรคในการนำไม่น้อยเช่นกัน 

นักวิชาการบางท่านอาจจะเห็นว่า ‘หากผู้นำมีความสามารถในการนำจริงๆ ๆ ไม่ต้องมีอำนาจก็นำได้ เพราะผู้นำที่แท้จริงนั้นไม่มีตำแหน่ง และไม่อำนาจก็สามารถนำได้ มีตัวอย่างให้เห็นโดยทั่วไป’

จริงครับ แต่นั่นเป็นการนำในสิ่งที่ผู้ตำส่วนใหญ่ได้ประโยชน์ร่วม แต่การบริหารองค์การ โดยเฉพาะหน่วยงานของรัฐนั้น  ‘อะไรคือผลประโยชน์ร่วม' ครับ ซึ่งแตกต่างจากหน่วยงานเอกชน หรือร้านค้า ‘ความอยู่รอดคือผลประโยชน์ร่วมกันของทั้งาเจ้าของกิจการ ฝ่ายบริหาร และพนักงาน’ ถ้าบริษัทล่ม ทุกคนได้รับผลกระทบ แต่สำหรับหน่วยงานราชการแล้วความอยู่รอดอยู่ที่ภาษีของประชาชน ไม่ใช่ผลงาน ดังนั้นอำนาจในการบริหารและภาวะผู้นำจึงต้องใช้ร่วมกันในการบริหารและนำองค์การสู่ความสำเร็จ 

เมื่อไม่อำนาจในการบริหาร ภาวะผู้นำก็เป็ฌง่อย อย่าว่าแต่การบริหารสถานศึกษาเลยครับ แม้แต่การบริหารรัฐบายก็ยังเป็นเป็ดง่อยเลยครับ เพราะมีคณะกรรมการที่มีอำนาจกำกับและควบคุมการตัดสินใจเต็มไปหมด ผู้ก็ได้แต่สงสารคนที่เป็นนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีครับ 

ผมไม่ได้แก้ตัวให้กับรัฐบาล และผู้บริหารสถานศึกษานะครับ แต่นี่คือที่มาที่ทำให้ไม่สามารถใช้ภาวะผู้นำได้เท่าที่ควร และประเทศไทยเข้าใจผิดอย่างมหันต์เกี่ยวกับการบริหารโดยองค์คณะบุคคล และการมีส่วนร่วม โดยเข้าใจว่า การมีคณะกรรมการจะทำให้การบริหารงานรอบคอบขึ้น แฃะป้องกันคอรัปชั่นได้

ก็เห็นมี ปปช. ทั้งระดับชาติ และทุกจังหวัด แล้วระดับความน่าเชื่อถือด้านนี้ก็ไม่เห็นดีขึ้น แถมยังลดลงอีก 

จากการวิจัยของผมกว่า 20 ปีที่แล้วพบว่า คณะกรรมการมี 3 แบบคือ คณะกรรมการบริหาร คณะกรรมการนโยบาย และคณะกรรมการปฏิบัติงาน  

คณะกรรมการบริหาร และคณะกรรมการปฏิบัติงาน ให้องค์การบริาหรงานเป็นคนตั้ง และใช้งาน ส่วนกรรมการที่อยู่นอกองค์การนั้นไม่ควรมีอำนาาเชิงการบริหาร แต่มีอำนาจในการกำหนดนโยบาย และเสนอกฎหมายเพื่อกำกับใช้นโยบาย 

แต่ปัจจะบันนี้เรามีคณะกรรมการภายนอกองค์การของรัฐ เป็นคณะกรรมการเชิงบริหารเต็มไปหมด จึงทำให้การบริหาร หน่วยงานของรัฐเป็นไปด้วยความยุ่งยาก และเป็นอุปสรรคในการใช้ภาวะผู้นำครับ

บทเขียนนี้เขียนก่อนจะเข้าสอนวิชาภาวะผุ้นำอีกครั้งวันนี้ ครับ

17 กพ 2567 เวลา 7.20 น. 

สมาน อัศวภูมิ 

หมายเลขบันทึก: 717341เขียนเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2024 08:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2024 08:30 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เป็นเรื่องจริงค่ะ แล้วจะทำยังไงดี

I think this “อะไรคือผลประโยชน์ร่วม” and the “long chain of commands” combined to to flow in the “don’t care! just as long as I’m in the head of the queue for common benefits”.

Let’s us learn how to lead from the tail-end of the queue ;-)

ตอบคุณ แก้ว อุบล ขออภัยที่ตอบช้า ตามที่อธิบายไว้ในบทเขียนใหม่วันนีครับ

  ในความเห็นของผมคือ การปรับเปลี่ยนรูปแบบการบริหารอำนาจใหม่ (ผมไม่ได้บอกว่าเปลี่ยนระบอบการปกครองนะครับ) คือเราต้องเปลี่ยนรูปแบบการบริหารประเทศจากการรวมศูนย์อำนาจ เป็นการกระจายอำนาจ และต้องเปลี่ยนให้ถูกวิธีด้วย ซึ่งผมจะเขียนเรื่องนี้วันที่ 16 พฤษภาคม 2567 ครับ 

Response to sr: First, I am apologise not responding to your comment sooner, due to reasons mentioned in today post.

To me, ‘the don’t care’ come to scene when ones are left out. It seems that they have no selves and standing ground in societies. At that point those people become ‘don’t care actors’ and ready to be against societies and isolated themselves from norms. I used to advise my students and friends ‘the tail-end of the queue leading leaders’ but ones must be bold enough to stand firm on their decisions. Thank you for your observation.

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท