กิจกรรมการดำเนินชีวิตคิดบวกอย่างไร


นักกิจกรรมบำบัดได้พัฒนากระบวนการทำงานอันประณีต แต่ด้วยจำนวนนักกิจกรรมบำบัดที่ไม่มากพอ ทำให้วงการบำบัดฟื้นฟูหลายแห่งต้องการการบำบัดด้วยกิจกรรม คลิกอ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.gotoknow.org/posts/410027ในบันทึกนี้ ผู้อ่านกำลังจะได้เห็นภาพแล้วเกิดความรักความเข้าใจในกระบวนการทางกิจกรรมบำบัดสากลมากขึ้นอ้างอิงจาก https://www.occupationaltherapy.com/articles/occupation-centered-practice-5085ถอดบทเรียนกระบวนการใช้สื่อทางกิจกรรมบำบัดรวม 3 วิธีการอันสำคัญดังต่อไปนี้1. วิธีการเตรียมความพร้อม หรือ Preparatory Methods เน้นสร้างทักษะที่ผู้รับบริการต้องการฝึกอย่างเต็มความสามารถเพื่อต้องการมีส่วนร่วมประกอบกิจกรรมการดำเนินชีวิต (ทำเองอย่างอิสระ และ/หรือ มีอุปกรณ์ดัดแปร มีการปรับขั้นตอนให้ง่ายขึ้น มีผู้ดูแลช่วยเหลือเป็นบางขั้นตอน) ปัจจุบันนิยมเรียกวิธีการเตรียมความพร้อมนี้ว่า Interventions to Support Occupations หรือ Occupation-Based Intervention 2. วิธีการปฎิบัติด้วยกิจกรรมการดำเนินชีวิตเป็นศูนย์กลาง หรือ Occupation-Centered Practice บางครั้งเราก็จะใช้คำว่า การปฏิบัติมุ่งกิจกรรมการดำเนินชีวิต หรือ Occupation-Focused Practice ร่วมกับ MDT (multidisciplinary Treatment Team) โดยสุดท้ายในการบำบัดฟื้นฟูจะมีเป้าประสงค์ (purpose) ที่ฝึกทักษะให้ผู้รับบริการประกอบกิจกรรมการดำเนินชีวิตตามบริบทจริงได้สำเร็จเป็นผลลัพธ์ของทีม MDT3. วิธีปฏิบัติอิงกิจกรรมการดำเนินชีวิต หรือ Occupation-Based Practice กระตุ้นให้ใช้สื่อที่เป็นการวิเคราะห์และการสังเคราะห์ให้ผู้รับบริการมีโอกาสได้ลงมือประกอบกิจกรรมการดำเนินชีวิต เช่น การดูแลตนเอง การผลิตผลงาน การทำกิจกรรมยามว่าง เป็นต้น จากนั้นนักกิจกรรมบำบัดสามารถสังเกตบันทึกความสามารถที่ทำได้เอง และ/หรือ มีการให้คำแนะนำจนถึงการจับทำ การใช้ภาพ การแสดงบทบาทสมมติ การใช้อุปกรณ์ทำกิจวัตรประจำวัน การลงมือทำพร้อมบันทึกความถี่ที่สะท้อนระดับความช่วยเหลือจากนักกิจกรรมบำบัดมากน้อยตามลำดับความก้าวหน้าจากการประเมินซ้ำในบริบทสถานพยาบาล ศูนย์บำบัดฟื้นฟู ศูนย์บริการคนพิการ/ฟื้นคืนสุขภาวะ ประโยชน์ที่ได้รับอย่างมีหลักฐานเชิงประจักษ์ ได้แก่ Authentic Participation ทั้งนักกิจกรรมบำบัดกับผู้รับบริการมีส่วนร่วมลงมือทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตจริงจังจนเกิด Meaningful & Purposeful Value คุณค่าแห่งเป้าประสงค์ของการใช้ชีวิตที่มีความหมาย พูดสั้น ๆ คือ Well-being อยู่เย็นเป็นสุข หรือ อยู่ดีมีสุข จากนั้นมีการรวบรวมหลักฐานเชิงประจักษ์อย่างมีเหตุผลทางคลินิกจนเกิด Therapeutic Intent หรือ ภาพรวมของสื่อทางการแพทย์กับการบำบัดฟื้นฟูที่เฉพาะเจาะจงต่ออาการของโรค/ภาวะความเจ็บป่วยที่ต่อมาจะแยกเป็น Clinical Practice Guideline หรือ CPG ซึ่งเกิดการเข้าร่วมใช้สื่อกิจกรรมการดำเนินชีวิตที่แพร่หลายมากขึ้น ทำให้นักกิจกรรมบำบัดแสดงบทบาทมากกว่าผู้ให้บริการทางคลินิก หากแต่เป็นโค้ช ผู้ให้คำปรึกษา วิทยากร กระบวนกร ในการถ่ายทอดความรู้เชิงการปฏิบัติอิงกิจกรรมการดำเนินชีวิตมากขึ้น…ส่งผลให้เกิดสังคมที่ผู้พิการได้รับโอกาสในการเข้าถึงกิจกรรมบำบัดด้วยความเท่าเทียมกัน (equality) และนักกิจกรรมบำบัดกับบุคลากรทางการแพทย์-การศึกษา-การสนับสนุนภาคประชาสังคมได้ให้ความเสมอภาคตามหลักความเป็นธรรมที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติมุ่งกิจกรรมการดำเนินชีวิตตามความต้องการ ลักษณะเฉพาะของความพิการ การได้รับอุปกรณ์/เครื่องอำนวยความสะดวก และการเพิ่มพูนคุณภาพชีวิตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

หมายเลขบันทึก: 717221เขียนเมื่อ 31 มกราคม 2024 16:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 มกราคม 2024 16:08 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท