AI กับวิทยาศาสตร์


 

บทความเรื่อง Is AI leading to a reproducibility crisis in science? ในวารสาร Nature วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๖๖    บอกว่า การใช้ AI อย่างไม่ถูกต้อง จะนำความเสียหายสู่วงการวิทยาศาสตร์   

เรื่องนี้เริ่มจากยุคโควิด   ความขาดแคลนเครื่องมือวินิจฉัยโรคทำให้มีคนคิดใช้เครื่องมือที่มีทั่วไป คือการเอ็กซเรย์ปอด แล้วให้ AI (machine learning) เรียนรู้และวินิจฉัยโรคโควิดจาก เอ็กซเรย์ปอด    เพื่อใช้ลักษณะผิดปกติจาก เอ็กซเรย์ปอด บอกว่าเกิดจากการติดเชื้อโควิด ๑๙   และเมื่อตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารก็มีคนเชื่อและนำไปอ้างอิงมากมาย     

ต่อมาในปี 2021 จึงมีผู้ทบทวนรายงาน ๖๒ ชิ้นที่รายงานผลการใช้ AI ร่วมกับเอ็กซเรย์ปอดในการวินิจฉัย โควิด ๑๙    และสรุปว่า AI โมเดลเหล่านั้นเชื่อถือไม่ได้   

ผมใคร่ครวญกับตนเองว่า AI และ Machine Learning เป็นเครื่องมือทางสถิติ   การนำผลทางสถิติไปเชื่อมโยงกับข้อสรุปด้านสาเหตุทางพยาธิวิทยาเป็นเรื่องที่ต้องระมัดระวังอย่างยิ่ง   ต้องระมัดระวังจุดอ่อนของมนุษย์ที่ตื่นเต้นต่อข้อค้นพบของตนมากเกินไป    นำสู่ข้อสรุปที่เกินจากความเป็นจริง

บทความนี้ยาวมาก และหลายส่วนผมอ่านไม่เข้าใจ    ข้อสรุปของบทความคือ ระยะนี้ยังเป็นขั้นต้นของพัฒนาการของ AI   ยังต้องการการพัฒนาอีกระยะหนึ่ง    เขาเปรียบเทียบกับพัฒนาการของเครื่องบิน    ที่ต้องใช้เวลาพัฒนา กว่าจะเข้าสู่สภาพที่มีความแม่นยำน่าเชื่อถือ 

วิจารณ์ พานิช

๒๙ ธ.ค. ๖๖

 

หมายเลขบันทึก: 717206เขียนเมื่อ 30 มกราคม 2024 17:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 มกราคม 2024 17:15 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท