ก้าวข้ามช่องว่างระหว่างรุ่นของนักวิจัย


 

บทความเรื่อง Crossing the generational divide: what established scientists and early-career researchers can learn from each other ลงในวารสาร Nature วันที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๖๖  สัมภาษณ์นักวิทยาศาสตร์สาขาดาราศาสตร์ที่เป็นมือรางวัลเงินล้าน (เหรียญสหรัฐ) Shaw prize   ชื่อ Victoria Kaspi    ที่ไปมีประสบการณ์แลกเปลี่ยนประสบการณ์กับนักวิจัยรุ่นใหม่ใน Hong Kong Laureate Forum เมื่อเดือนพฤศจิกายน ๒๕๖๖ 

ชวนให้ผมสะท้อนคิดว่า นี่คือตัวอย่างการจัดเวที (Forum) ส่งเสริมบรรยากาศการวิจัย    ที่ประเทศไทยทำกันน้อย   น่าจะมีการพิจารณาริเริ่มดำเนินการในระดับมหาวิทยาลัย   ระดับแหล่งทุนวิจัย   และระดับประเทศ   

มองมุมหนึ่ง นี่คือกลไก “จัดการความรู้”  ระหว่างรุ่นของนักวิจัย    ให้นักวิจัยรุ่นใหม่ได้เรียนรู้ tacit knowledge  ของนักวิจัยรุ่นใหญ่ที่ฟันฝ่าจนประสบความสำเร็จในวิชาชีพนักวิจัยมาแล้ว   

ที่จริงในระดับประเทศ เรามีกลไกเชิญนักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบลมาบรรยาย  แต่ไม่ใช่มาจับเข่าคุยกันอย่างไม่เป็นทางการกับนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่    แบบที่ Hong Kong Laureate Forum ทำ    

ขอบคุณ ดร. นพ. บดินทร์ ทรัพย์สมบูรณ์ ที่แนะนำบทความนี้    นำสู่การสะท้อนคิดตามบันทึกนี้

วิจารณ์ พานิช

๒๒ ธ.ค. ๖๖

 

หมายเลขบันทึก: 717116เขียนเมื่อ 23 มกราคม 2024 17:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มกราคม 2024 17:02 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท