คน หรือระบบ: อะไรสำคัญกว่ากัน (Man and Systems: What is more important)


เรื่อง ‘คนหรือระบบ อะไรสำคัญกว่ากัน’ นั้นเป็นข้อถกเถียงกันทั้งในกลุ่มคนทั่วไป และนักวิชาการ บังเอิญเมื่อคืนตอนออกรายงาน ‘นพพรชวนคุย’  ก็ได้คุยกันเรื่องนี้ประกอบกับประเด็นที่คุยกัน แต่ด้วยเวลาจำกัดก็เลยยกยอดมาอธิบายความคิดของผมในบทเขียนนี้คร้บ 

จริงๆ แล้วคำว่า ‘ระบบ’ ที่กล่าวถึงนี้น่าจะหมายถึงระบบที่คนเราสร้างขึ้น เพราะถ้าเป็นระบบที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ โดยเฉพาะระบบสุรยะจักรวาล และภิภพนั้น ระบบดังกล่าวเกิดมาก่อนที่จะมีคนบนโลกใบนี้แน่นอน ดังนั้นคำว่า ‘ระบบ’ ที่ว่านี้ก็คือ ‘ระบบที่มนุษย์สร้างขึ้น' แน่นอน โดยเฉพาะระบบในการอยู่ร่วมกัน และแบ่งปัญทรัพยากรของสังคมร่วมกัน ครับ

ถ้าเช่นนั้นแล้วจะมีอะไรต้องถกเถียงกันอีก ‘คนต้องสำคัญกว่าระบบอยู่แล้ว เพราะคนเป็นผู้สร้างระบบ’ ซึ่งก็จริง แต่คำถามที่ว่า ‘คน หรือระบบ อะไรสำคัญกัน’ นั้นไม่ได้หมายความแค่เพียงว่าใครสร้างใคร และต้องเข้าใจก่อนว่า ‘คนสร้างระบบขึ้นมาเพื่อวัตถุปรสงค์อะไร’ แล้วระบบนั้นตอบสนองวัตถุประสงค์ในการสร้างระบบขึ้นมาหรือไม่ 

ถ้าเป็นเช่นนั้นก็เป็นการตั้งคำถามและการถกเถียงกันผิดประเด็น  กล่าวคือแทนที่จะถามว่า ‘คนหรือระบบ อะไรสำคัญกว่ากัน' เราควรจะถามว่า ‘ระบบที่คนเราสร้างขึ้นมานั้นเป็นประโยชน์ต่อคนส่วนใหญ่ หรือทั้งหมดหรือไม่’ และถ้าระบบไม่เป็นประโยชน์ต่อคนส่วนใหญ่ หรือทั้งหมดแล้ว เราเปลี่ยนแปลงได้ไหม และคนที่มีส่วนได้ส่วนเสียสามารถวิพากษ์ คลอดจนสามารถมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงได้ไหม' เป็นประเด็นที่สำคัญกว่า และเป็นประโยชน์กว่า  

หากเราตั้งคำถามใหม่ดังกล่าวมาข้างต้น ปัญหาเรื่องว่า คนหรือระบบ อะไรสำคัญกว่ากันก็จะหมดไป เพราะฐานคิดของคนที่เห็นว่าคนดีกว่าระบบเพราะคนเป็นผู้สร้างระบบ ดังนั้นถ้าคนที่สร้างระบบเป็นคนเก่งและดีแล้วเราจะได้ระบบที่ดีแน่นอน และยิ่งได้เก่งและดีมาดูแลระบบแล้วยิ่งดี จึงสรุปว่า ‘คนดีกว่าระบบ’  ส่วนคนที่เห็นว่าระบบดีกว่าคน (รวมทั้งผมด้วยนั้น) มีฐานคิดว่าถ้าคนในสังคมเป็นคนดี ไม่ต้องมีระบบในการอยู่ร่วมกันก็ได้ เพราะทุกคนเป็นคนดี ไม่ต้องมีระบบมากำกับ คนก็อยู่่ร่วมกันได้ แบ่งปันกันได้ แต่ความเป็นจริงไม่เป็นเช่นนั้น มือใครยาวสาวได้ก็สาวเอาอย่างที่เห็น ดังนั้นเราต้องมีระบบที่ดีระดับหนึ่งในการอยู่รวมกันของคนในสังคม โดยการที่มีคนกลุ่มหนึ่ง ซึ่งอาจจะเป็นคนทั่วไปที่พอหาได้ หรือคนเก่งและดีระดับหนึ่งในสังคมมาเป็นผู้สร้างระบบ และใช้ระบบนั้นในการใช้ประโยชน์ร่วมกันของคนในสังคม และร่วมกันพัฒนาระบบให้ดียิ่งขึ้นต่อไป ปัญหาอยู่ตรงนี้เองคือ เรามีพลังร่วมกันในการสานฝันดังกล่าวหรือไม่ครับ ซึ่งก็ดูเหมือนว่าคำถามนี้และปัญหานี้ วนอยู่ในอ่างของหลายประเทศ ครับ

ดังนั้นผมจึงตั้งคำถามใหม่ข้างต้นว่า ‘ระบบที่คนเราสร้างขึ้นมานั้นเป็นประโยชน์ต่อคนส่วนใหญ่ หรือทั้งหมดหรือไม่’ และถ้าไม่เป็นประโยชน์ต่อคนส่วนใหญ่ หรือทั้งหมดแล้ว เราร่วมกันเปลี่ยนแปลงได้ไหม และคนที่มีส่วนได้ส่วนเสียสามารถวิพากษ์ คลอดจนสามารถมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงได้ไหม' นีคือคำถามเพื่ออนาคตครับ 

นี่น่าจะเป็นโจทย์ที่สร้างสรรค์กว่าคำถ่ามที่ว่า ‘คนหรือระบบ อะไรดีกวากัน’ ครับ

สมาน อัศวภูมิ

20 มกรามคม 2567

หมายเลขบันทึก: 717090เขียนเมื่อ 20 มกราคม 2024 09:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มกราคม 2024 09:47 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

Is it not the case that we become slaves to the tools we created to serve us ?

Thank you for your insight observation. However, I used to wrote a blog on the topic whether AI would harm human beings. I said that technologies do no harms to us, but only we, human beings, use technologies or tools to harm ourselves or other people. Only caution I mentioned in my last on air last Friday that we might use to many resources to serve our purpose with the costs of the next generation. We might become slaves to the tools we created when we are addicted to create too many tools the surplus our NEEDS that use too many resources unnecessary. Thank you again for warning.

Saman Asawapoom\20/01/2024

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท