พันธุกรรมอายุยืน


 

วารสาร Nature Aging  ใคร่ครวญสะท้อนคิดวาระครบ ๑ ปีของการก่อตั้งที่ (๑)   เมื่อเดือนมกราคม ๒๕๖๕   นำสู่รายงานผลการวิจัยเรื่องพันธุกรรมหายากที่ช่วยให้อายุยืน   ทำให้นักพันธุศาสตร์ยุคโบราณอย่างผมตื่นเต้น   ว่าความก้าวหน้าของพันธุศาสตร์ยุคจีโนมิกส์ ช่วยเผยความลี้ลับด้านบทบาทของพันธุกรรมต่อสภาพที่มนุษย์ใฝ่ฝันอยากได้ คืออายุยืนและสุขภาพดี   

อายุของคนเราจำกัดโดย เนื้อเยื่อต่างๆ ของร่างกายทำหน้าที่เสื่อมลง   กับโรคที่มากับอายุที่เพิ่มขึ้น โผล่ออกมา    แต่ก็มีหลักฐานจากคนอายุเกินร้อย (centenarians)   ว่าคนเหล่านี้มีพันธุกรรมที่ช่วยต้านความเสื่อม   และต้านการเกิดโรคที่มากับอายุ     การวิจัยแบบที่เรียกว่า GWAS – Genome-Wide Association Study พบยีนที่อาจเกี่ยวข้องกับอายุยืน (longevitiy-associated genetic loci) ถึง ๕๐  แต่ที่มีหลักฐานยืนยันค่อนข้างมั่นเหมาะมีน้อย   เช่น ยีน APOE, FOXO3, กลุ่มยีนที่เกี่ยวข้องกับรหัสการควบคุมอินสุลิน 

การวิจัยในรายงานนี้ ศึกษาคนยิวกลุ่ม Ashkenazi ที่อายุเกินร้อย    ด้วยวิธีที่เรียกว่า whole exome sequencing   พบว่าคนอายุยืนเหล่านี้มี genetic variant ชนิดพิเศษที่  insulin/insulin-like growth factor 1 signaling  และที่  AMP-activating protein kinase signaling pathways  

สรุปว่า เราเริ่มเข้าใจกลไกทางพันธุกรรมที่ช่วยให้คนอายุยืน    คือเป็นกลไกต้านกลไกความแก่    ความฝันคือ เมื่อรู้แน่ว่า genetic variant แบบใด   ที่ locus ใด มีบทบาทสำคัญในการต่อต้านกระบวนการแก่   ก็ดำเนินการใส่ genetic variant นั้นให้แก่ zygote ที่ต่อไปจะพัฒนาเป็นตัวทารก   ทารกคนนั้นก็จะเติบโตเป็นคนที่มียีนต่อต้านความแก่

ผมอดเถียงไม่ได้ว่า    อายุยืนยังขึ้นกับการกินอาหาร  การออกกำลัง และนิสัยการดำรงชีพแบบที่ดีต่อสุขภาพ 

วิจารณ์ พานิช

๑๖ ธ.ค. ๖๖

               

หมายเลขบันทึก: 717038เขียนเมื่อ 14 มกราคม 2024 17:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มกราคม 2024 17:02 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท