WIL คือะไร ห้องสมุดให้อะไรในฐานะเป็นแหล่งฝึกกงาน


ขอนำสคริปต์รายการวิทยุที่เป็นหน้าที่รับผิดชอบมาแปะไว้ เผื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้พบเห็น

ออกอากาศรายการ The KKU Library  Life long Learning For all

เรื่อง   WIL การเรียนรู้บนประสบการณ์จริง

ผู้ดำเนินรายการ: สิริพร ทิวะสิงห์   

------------------------------------------

อรุณสวัสดิ์ค่ะท่านผู้ฟังทุกท่าน ท่านกำลังอยู่กับสถานีเสียงที่จะทำให้ท่านตกหลุมรักการอ่านและการเรียนรู้ตลอดชีวิต กับรายการ The KKU Libray life long  Learning for all      ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงมหาวิทยาลัยขอนแก่น KKU Radio FM 103 Mhz. กับพี่ตุ่น  สิริพร ทิวะสิงห์ และสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยขอนแก่น ศูนย์กลางการเรียนรู้สำหรับทุกๆคน   วันนี้ค่ะ พี่ตุ่นมีสาระน่ารู้เกี่ยวกับ รูปแบบการเรียนรู้ที่เรียกว่า WIL มาฝากท่านผู้ฟังค่ะ

WIL ย่อมาจาก Work-integrated Learning :)  ภาษาไทยใช้คำว่า “การจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการการเรียนกับการทำงาน” คือรูปแบบของหลักสูตรการเรียนการสอน ที่บูรณาการการเรียนรู้ร่วมกับการทำงานที่จะส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการทำงานร่วมกันระหว่างนักศึกษาและบุคลากรของท่านในสถานที่ทำงานจริง เพื่อร่วมการพัฒนางาน แก้ไขปัญหา หรือการทำวิจัย ที่ตอบสนองความต้องการของภาครัฐและเอกชน โดยสถาบันการศึกษาจะส่งนักศึกษาจากสถาบันต่างๆไปทำงานร่วมกับบุคลากรของหน่วยงานภาครั๗และเอกชน เพื่อจะได้พัฒนาความรู้และทักษะต่างๆ ที่จำเป็นในการทำงาน เช่น ทักษะการแก้ปัญหา ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น และทักษะการสื่อสาร โดยหลักสูตรภายใต้การดูแลของคณาจารย์อย่างเป็นระบบ  ในปัจจุบันหลากหลายหลักสูตรในหลายๆมหาวิทยาลัยได้พัฒนา WILมาใช้ในหลักสูตรการเรียนการสอน  พร้อมสำหรับการส่งเสริมให้นักศึกษาทั้งในระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษา เข้าร่วมการเรียนการสอนแบบบูรณาการการเรียนรู้ร่วมกับการทำงาน เพื่อสร้างบัณฑิตที่ตรงตามความต้องการของภาครัฐและเอกชน เช่น สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) และสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.ด้านการอุดมศึกษา) ที่ต้องการพัฒนากำลังคนร่วมกันระหว่างภาคการศึกษาและภาคอุตสาหกรรม ได้พัฒนา WIL ในหลักสูตรอาชีวศึกษาหรือปริญญาตรี โดยนักศึกษาจะทำงานในสถานประกอบการเป็นระยะเวลา 2 ปี ควบคู่กับการเรียนตามหลักสูตรในช่วงเวลาหลังเลิกงานหรือวันหยุดจากการทำงานในสถานที่ที่สถานประกอบการจัดเตรียมให้ นักศึกษามีตำแหน่งเป็นผู้ปฏิบัติงานได้รับค่าตอบแทนเหมือนพนักงาน ผู้บังคับบัญชาจากสถานประกอบการเป็นผู้ทำการประเมินผลติดตามค่ะ           ซึ่งประโยชน์ของการเรียนรู้แบบนี้จะทำให้นักศึกษาได้เรียนรู้เชิงประสบการณ์ ได้ประยุกต์ความรู้ที่เรียนมาใช้กับการทำงาน ได้พัฒนาทักษะต่างๆก่อนไปทำงานจริง

สำหรับมหาวิทยาลัยขอนแก่นก็มีหลายหลักสูตรนะคะ ที่นำ WIL มาใช้ เช่น ในปี 2562  iSchool KKU ของหลักสูตรสารสนเทศศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  ถือเป็นหน่วยงานแรกในมหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่ใช้ WIL อย่างเต็มรูปแบบทั้งสามระดับ คือ Internship/ Traineeship /Apprenticeship เพื่อเตรียมความพร้อมผู้เรียนให้เป็นบัณฑิตพันธุ์ใหม่ ที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการของภาคอุตสาหกรรมดิจิทัล ตามเป้าหมายของรัฐบาลและมหาวิทยาลัยในยุค Digital Disruption

สำนักหอสมุด  มหาวิทยาลัยขอนแก่นเองในฐานะเป็นแหล่งเรียนรู้ของคนทุกวัย (Library for all) ก็พร้อมสนับสนุนการเรียนรู้จากประสบการณ์จริงด้วยนะคะ เราเป็นแหล่งฝึกประสบการณ์วิชาชีพให้กับนักศึกษาในหลายๆสาขา ไ มากที่สุดจะเป็นหลักสูตรทางด้านสารสนเทศ  รู้ไหมคะ สำนักหอสมุดเรารับนักศึกษาฝึกงานที่มาเรียนรู้การทำงานในรูปแบบที่เรียกว่าการใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Base) ซึ่งเป็นการฝึกงานประกอบหลักสูตรการเรียน และอีกลักษณะหนึ่งคือ การรับสมัครนักศึกษาทุกๆสาขา ในรูปแบบจิตอาสา และนักศึกษาจ้างงาน  เพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้มาฝึกงงานในห้องสมุดซึ่งอาจจะไม่ใช่ WIL เต็มรูปแบบ แต่เราก็พร้อมสนับสนุนการเรียนรู้ในรูปแบบที่หลากหลาย ที่ให้น้องๆได้เรียนรู้การทำงานของพี่ๆ สำนักหอสมุด ซึ่งสำนักหอสมุดเชื่อว่า  แม้นักศึกษาจะไม่ได้ใช้ความรู้เฉพาะสาขามาใช้ในการเรียนการสอนเหมือนนักศึกษาฝึกงาน นักศึกษาฝึกสหกิจ แต่ไม่ว่าจะเป็นประเภทไหนน้องๆ ก็จะได้เรียนรู้วิธีการทำงาน ได้ฝึกทักษะที่เรียกว่า SoftSkills ได้แก่ การสื่อสาร  การทำงานเป็นทีม ความยืดหยุ่น  การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า การจัดเรียงความสำคัญ การวางแผนงาน และด้านบุคลิกภาพ เป็นต้น

วันนี้พี่ตุ่นมีของฝากค่ะ พี่ตุ่นนำเอาความรู้สึกของน้องนักศึกษาที่เป็นนักศึกษจ้างงานในโครงการของกองกิจการนักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่ได้มาฝึกงานที่สำนักหอสมุดค่ะ ว่าน้องเค้ามีความรู้สึกต่อการทำงานอย่างไร เดี๋ยวมาติดตามรับฟังกันนะคะ

 พี่ตุ่นขออนุญาตอ่านความเรียงของน้องนักศึกษาจ้างงานนะคะ มาฟังกันนะคะน้องมีความรู้สึกอย่างไรกับการได้มาร่วมทำงานกับพี่บรรณารักษ์ที่สำนักหอสมุด

          “สวัสดีค่ะ ดิฉันนางสาว ชไมพร มีระหงษ์ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ตอนนี้ ดิฉันได้มา เป็นผู้ช่วยบรรณารักษ์ ที่ห้องสมุดวิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่นค่ะ

เนื่องจากสำนักหอสมุดร่วมกับกองกิจการนักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์ ได้เปิดรับสมัครนักศึกษาจ้างงานเพื่อมาช่วยทำงานในห้องสมุด ทำให้ดิฉันได้ มีโอกาสมาสัมผัสบรรยากาศและเรียนรู้ การทำงาน ในการเป็นผู้ช่วยบรรณารักษ์ ในห้องสมุดแห่งนี้ค่ะ พี่บรรณารักษ์ได้มอบหมายงานให้ทำ เช่น ช่วยบริการยืม-คืน  เก็บหนังสือขึ้นใช้ ผลิตสื่อประชาสัมพันธ์ และรีวิวหนังสือ  ทำให้ดิฉันได้ใช้เทคโนโลยีที่รู้จักมาใช้ในการทำงาน เช่น การทำโปสเตอร์ประชาสัมพันธ์ด้วย Canva ได้รู้จักระบบของห้องสมุดมากขึ้น  พี่บรรณารักษ์บอกหลักการห้องสมุดเหมือนกันทั่วโลกทำให้สามารถใช้ห้องสมุดเป็นและคล่องกว่าคนอื่น  และที่สำคัญดิฉันได้อ่านหนังสือมากขึ้นค่ะจากงานที่ได้รับมอบหมายให้รีวิวแนะนำหนังสือที่น่าสนใจ

อย่างที่ทุกท่านทราบกันดีนะคะว่า โลกในยุคสมัยปัจจุบันนี้ เป็นยุคสังคมออนไลน์ที่สามารถเข้าถึงกลุ่ม

คนแทบทุกสังคม ทำให้ทุกคนสามารถเข้าถึงสื่อต่างๆได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว รวมไปถึงสื่อการเรียนรู้ ต่างๆ

ใน ทุกวันนี้เพียงกดเข้าอินเทอร์เน็ต เราทุกคนก็สามารถเข้าถึงสื่อการเรียนรู้นั้นๆได้ ดิฉันก็เป็นหนึ่งใน ผู้คน

เหล่านั้นค่ะที่ใช้อินเตอร์เน็ตในการค้นคว้าสื่อต่างๆ โดยตอนแรกก่อนที่ดิฉันจะได้ทำงานเป็นผู้ช่วย

บรรณารักษ์ในห้องสมุด ดิฉันแทบจะไม่ได้เข้าใช้บริการ ห้องสมุดเลย เพราะรู้สึกว่าหาข้อมูลในอินเทอร์เน็ตก็มี

ข้อมูลให้หมดแล้ว แถมสะดวกและรวดเร็วในการค้นหาอีกด้วย แต่ในความรู้สึกของดิฉันหลังจากที่ได้เข้ามา

ทำงานเป็นผู้ช่วยบรรณารักษ์ในห้องสมุด และได้สำรวจดูหนังสือต่างๆในห้องสมุด ทำให้ดิฉันได้เห็นข้อดีของการที่เรายังมีห้องสมุดไว้เก็บสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆเหล่านี้ไว้ให้ศึกษาค้นคว้า เพราะในบางเล่มนั้น อาจจะหาอ่านไม่ได้แล้วในอินเทอร์เน็ต หรือในบางเล่ม บางสื่อที่เราสนใจก็อาจจะต้องเสียเงินในการซื้อเพื่อที่จะได้อ่าน แต่สำหรับในห้องสมุดแล้วนั้นไม่ต้องเสียเงินในการที่เราจะเข้าถึงสื่อการเรียนรู้ที่เราสนใจ แต่ดิฉันก็ยังรู้สึกว่าหนังสือ กับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ต่างก็มีทั้งข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป ค่ะ ซึ่งสำหรับดิฉัน ดิฉันรู้สึกว่าหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สะดวกและรวดเร็วในการ ค้นคว้วาก็จริง แต่สำหรับโดยส่วนตัวของดิฉันแล้วนั้นยังชอบการที่อ่านหนังสือแบบที่เป็นรูปแบบกระดาษอยู่ เพราะการที่เราอ่านหนังสือแบบอิเล็กทรอนิกส์ทำให้ดิฉันรู้สึกปวดตา หากอ่านเป็นเวลานาน จึงทำให้อ่านหนังสือแบบอิเล็กทรอนิกส์ได้น้อยกว่าแบบกระดาษ เพราะต้องพักสายตาก่อน จึงจะอ่านต่อได้ อีกทั้ง ในสำหรับบางคนที่ไม่สามารถเข้าถึงระบบอินเทอร์เน็ตหรือหากไม่มีอุปกรณ์ในการเข้าถึงสื่อต่างๆได้ หนังสือแบบกระดาษที่อยู่ในห้องสมุดก็ ยังสามารถทำให้พวกเขาเหล่านั้นได้ค้นคว้าหาข้อมูล ที่พวกเขาสนใจ และเข้าถึงข้อมูลต่างๆได้อย่าง ง่ายและสะดวกอีกด้วยค่ะ

ท้ายที่สุดนี้ทั้งหนังสือแบบกระดาษและหนังสือ แบบอิเล็กทรอนิกส์ต่างก็มีทั้งข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป

แล้วแต่ใครสะดวกที่จะ เข้าถึงสื่อต่างๆ แบบไหน แต่การที่เรายังมีห้องสมุดไว้ให้บริการ สื่อต่างๆ ยังมีข้อดี

มากมาย เพราะในห้องสมุดมีบริการสื่อต่างๆทุกรูป ซึ่งห้องสมุดไม่ใช่แต่เพียงเอาไว้มาค้นคว้าหาหนังสือสำหรับ

อ่านเท่านั้น แต่ห้องสมุด ยังเป็นสถานที่ที่ทำกิจกรรมอย่างอื่นที่ทำให้เราสามารถพัฒนาความรู้และทักษะต่างๆ

ของเราได้ ซึ่งสุดท้ายนี้ดิฉันก็ อยากที่จะเชิญชวนทุกคนมาใช้บริการสื่อต่างๆได้ที่ห้องสมุดนะคะ และในวันนี้

ดิฉันยังมีคำขวัญที่ได้ไปพบมาจากอินเทอร์เน็ตแล้วชื่นชอบมาฝากด้วยค่ะ นั่นคือ “ ห้องสมุดแหล่งศึกษา ความรู้ ก้าวหน้า ปัญญาก้าวไกล ค่ะ”

สิ่งที่พี่ตุ่นอ่านจบไปนั้นคือความรู้สึกของน้องชไมพร มีระหงษ์ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะวิทยาศาสตร์ นักศึกษาจ้างงาน  และสิ่งที่เค้าได้รับจากการมาทำงานบนประสบการณ์จริงค่ะ เรื่องราววันนี้ที่พี่ตุ่นนำมาฝากกันไม่ว่าจะเป็นลักษณะการเรียนรู้ที่เรียกว่า WIL และกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ของสำนักหอสมุดที่เปิดโอกาสนักศึกษาที่สนใจมาฝึกงานในลักษณะต่างๆ คงจะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยต่อผู้ปกครอง นักศึกษษ และผู้ประกอบการ  ผู้ปกครองก็จะได้เข้าใจการเรียนรู้รูปแบบใหม่ของหลักสูตร รับรู้ถึงกิจกรรมที่มหาวิทยาลัยจัดให้นักศึกษาเพื่อพัฒนาศักยภาพให้เป็นบัณฑิตที่พึงประสงค์ นักศึกษาเองก็จะได้รับรู้มุมมองหรือประโยชน์ของการเรียนรู้บนประสบการณ์จริงผ่านทัศนคติของน้องชไมพร  ผู้ประกอบการก็มองเห็นโอกาสที่จะทำความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาค่ะ การเรียนรู้สามารถสร้างสังคมไทยให้เข้มแข็งได้ โดยความร่วมมือของทุกคน ทุกภาคส่วนไม่ว่าจะเป็นรัฐและเอกชนค่ะ

สำหรับวันนี้เวลาของรายการหมดแล้วค่ะ ท่านผู้ฟังที่สนใจติดตามข่าวกิจกรรมการเรียนรู้ที่สำนักหอสมุดจัดขึ้นได้จากเว็บไซต์ WWW.library.kku.ac.th  วันนี้พี่ตุ่นและรายการ The KKU Library life long learning for all  ต้องขอลาท่านผู้ฟังทุกท่านไปก่อน พบกันใหม่ในสัปดาห์หน้า ทุกวันอังคารและวันพฤหัสบดี เวลา 07.35-8.00 น. ทาง FM103 Mhz. แห่ง นะคะ วันนี้ต้องลาแล้วค่ะ สวัสดีค่ะ



ความเห็น (1)
อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท