การอภิปรายที่มีคุณภาพสูงเรื่องการศึกษา อีกเรื่องหนึ่ง


การอภิปรายที่มีคุณภาพสูงเรื่องการศึกษา อีกเรื่องหนึ่ง

เป็นคำอภิปรายในสภาผู้แทนฯ เรื่องงบประมาณแผ่นดินปี ๒๕๖๗   โดยคุณวิโรจน์ ลักขณาดิศร   ฟังได้ที่ (

หรืออ่านข้อความข้างล่าง

ท่านประธานที่เคารพครับ. ผมวิโรจน์ ลักขณาดิศร. สมาชิกผู้แทน

สมาชิกผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อจากพรรคก้าวไกลครับ ผมคิดว่าเมื่อ

เมื่อสักครู่ท่านพาฤทธิ์คงได้พูดถึงคะแนน pisa ไปแล้ว. ผมอยากจะให้ พวกเราเข้าใจPISAให้ตรงกันเสียก่อนครับ.

ท่านประธาน. PISAนะครับ. คือโครงการประเมินผลนักเรียนระดับนานาชาติ.

ที่วัดทักษะและความสามารถของนักเรียน. อายุสิบห้าปี ด้านการอ่านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์.

โดยจะสอบทุกทุกสามปีครับ. PISAเกิดขึ้นมาเพื่อประเมินค่าเฉลี่ยของคุณภาพคน.

และขีดความสามารถในการแข่งขันของพลเมือง แต่ละประเทศในอนาคต.

ซึ่งสะท้อนถึงคุณภาพของระบบการศึกษา. และกลไกของรัฐ. ในการพัฒนาพลเมือง. เราต้องยอมรับครับว่า.

ทุกประเทศขับเคลื่อนด้วยคน

ดังนั้น คนของประเทศนั้น จึงเป็นตัวชี้วัดในการประเมินขีดความสามารถในการพัฒนาประเทศ.

PISAจึงไม่ใช่แค่การสอบแข่งขันหรือสอบชิงรางวัลแต่อย่างใด เป็นดัชนีชี้วัดในการประเมินคุณภาพคน.

ประเมินขีดความสามารถของประเทศ. ล่าสุดครับ. ผลการทดสอบนะครับ. PISAสองพันยี่สิบสอง.

ที่เพิ่งประกาศออกมา. ประเทศไทยครับ. ยังอยู่ในกลุ่มรั้งท้ายเหมือนเดิม แต่ที่น่าตกใจครับ.

คือเราได้คะแนนต่ําสุดในรอบยี่สิบปี. ทั้งการอ่านคณิตศาสตร์. และวิทยาศาสตร์. ประเทศไทยเราครับ.

ประเทศไทยเราเข้าร่วมการทดสอบผีซ่านะครับ. ตั้งแต่ปีสองพัน ผ่านมายี่สิบกว่าปีครับ.

แทนที่สอบแล้วจะได้คะแนนดีขึ้น. นับวันมีแต่สารวันเตี้ยลง. หัวทิ่มลงไปเรื่อยเรื่อย. ท่านประธานดู.

แบบโงหัวไม่ขึ้น

หนําซ้ํา ผลต่างคะแนนระหว่างประเทศไทยกับประเทศในกลุ่ม OECD. ซึ่งก็คือกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว.

ประเทศไทยของเรา. นับวันมีแต่จะถูกทิ้งห่างออกไปเรื่อยเรื่อย. เหมือนเราเข้าสอบไปอย่าง งั้น น่ะครับ.

เข้าสอบโดยที่ไม่อ่านหนังสือ. ไม่เคยเอาผลการทดสอบคราวที่แล้วมาปรับปรุง ระบบการศึกษาอะไรเลย.

รู้อยู่แล้วว่าสิ่งที่เราทํามันล้มเหลวล้าหลัง. แต่ก็ยังจะทําเหมือนเดิม. นับจากปีสองพันจนถึงปีสองพันยี่สิบสี่.

ผ่านมายี่สิบสี่ปี จมปลักอยู่กับปัญหาเดิมเดิม. จนวันนี้รัฐบาลมองปัญหากลายเป็นเรื่องปกติไปแล้วครับ.

หลอนตัวเองว่าระบบการศึกษา เนี่ย. แบบนี้ของเรา เนี่ย เป็นอัตลักษณ์ของประเทศ. นี่แหละครับ.

คือวิกฤติของระบบการศึกษาไทย ยิ่งพอมาฟังการให้สัมภาษณ์ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเมื่อวันที่

ยีบสี่ กันยายน สองพันห้าร้อยหกสิบหก. ผมตกกระใจครับ.

และนี่ยิ่งยืนยันเลยครับว่านี่เราอยู่ในภาวะวิกฤติจริงจริง

ประเด็นนี้ท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษา พูดว่า คงไม่เพียบมาตรฐานกับประเทศอื่นดีกว่าครับ.

ของเราเป็นตัวของเราเอง. นี่ยิ่งเป็นปัญหาครับ. พอคนระดับรัฐมนตรีมองว่าปัญหาไม่ใช่ปัญหา.

แต่มันเป็นสไตล์ครับ จึงไม่แปลกใจเลยครับ. ว่าที่งบประมาณกระทรวงศึกษาธิการ เนี้ย. ในปี หก เจ็ด เนี่ย ฮะ.

 

จึงเป็นงบประมาณที่ยังทํางานแบบเดิมเดิม. คาดหวังการเปลี่ยนแปลงอะไรก็คงยากลําบาก ทุกวันนี้ครับ.

การศึกษาไทยนะครับ. ไม่ใช่แค่เดินตามหลังประเทศอื่นแล้วนะครับ. ท่านประธานครับ.

แต่เรากําลังเดินหลงทางอยู่ครับ. เดินตามหลัง เนี่ย ก็ไม่ใช่ว่าแย่นักนะครับ. เพราะมองไปข้างหน้าก็ยังเจอผู้เจอคน.

อาจจะถึงช้าสักหน่อย เข้าเส้นชัยหลังเพื่อน. แต่ก็ยังไปถึงจุดหมาย.

แต่ที่ท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการบอกว่าของเราเป็นตัวของเราเอง เนี่ย. นี่คืออาการอะไรรู้มั้ยฮะ?

มองไปข้างหน้าก็ไม่เจอใคร. มองไปข้างหลังก็ไม่เจอโคลน. ไม่ มันก็ไม่เจอคน

ซ้าย. เจอฮวงซุ้ย. มองขวาเจอป่าช้า. แต่ก็ยังจะเดินหน้าต่อไปครับ. นี่คือเรากําลังหลงทางแล้วครับ.

และยิ่งเดินต่อเสบียงต่างต่างก็ยิ่งร่อยหลอ. ยิ่งเดินเข้ารกเข้าพรง. เหมือนกับ เหมือนกับงบประมาณที่ถูกใช้.

ไปเรื่อยเรื่อยแต่ไม่สามารถสร้างผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาได้. สรุปก็คือว่า. ท่านประธานครับ. ตอนนี้เราอยู่ในยุค.

ที่มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการที่ชื่อว่าเพิ่มพูนครับ. แต่การศึกษาไทยเรามีแต่ถดถอยล้าหลังฮะ

ไม่ต้องไปเปรียบเทียบกับที่ไหนไกลครับท่านประธานครับ. เอาอย่างสิงคโปร์ เนี่ย นะครับ. ใกล้ใกล้เรา.

ทั้งการอ่านคณิตศาสตร์. วิทยาศาสตร์. อยู่ในระดับที่เหนือกว่ากลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว

และผลสอบของเด็กสิงคโปร์ นับวันมีแต่จะทิ้งห่าง ประเทศที่พัฒนาแล้วออกไปเรื่อยเรื่อย. โอ้โห! ท็อป ออฟ เดอะ

ท็อป ครับ. บางคนบอก โอ้โห! สิงคโปร์ ประเทศเล็ก. ไม่ต้องครับ. เอาคู่แข่งขันชิดกันเลย. อย่างประเทศเวียดนาม

ลองดูประเทศเวียดนามครับ. คะแนนทั้งสามด้านการอ่านคณิตวิทย์ เนี่ย นะครับ.

เทียบเท่าเลยกับกลุ่มประเทศโออีซีดีหรือประเทศพัฒนาแล้ว. ประเทศไทยเราเข้าร่วมการทดสอบ pisa

มาตั้งแต่ปีสองพันนะท่านประธาน เด็กรุ่นแรก เข้าสอบเมื่อปีสองพัน ณ วันนี้อายุ สามสิบเก้าปีแล้ว.

แล้วผลการทดสอบPISAตกต่ํามาโดยตลอดจนถึงพิซซาสองพันยี่สิบสอง. สะท้อนว่าอะไรครับ? สะ

สะท้อนว่าพลเมืองของไทยที่มีอายุตั้งแต่สิบเจ็ดถึงสามสิบเก้าปี. เราสู้พลโลกเขาไม่ได้เลย. และถ้าผลสอบ pisa

สะท้อนคุณภาพของระบบการศึกษาด้วย. นั่นหมายความว่ายังไงฮะ? เด็กตัวเล็กเล็กที่ยังอายุไม่ถึงสิบห้า

แต่ยังอยู่ภายใต้ระบบการศึกษาแบบเดียวกันแบบ เนี้ย. ที่ท่านพาลิตบอกยังไม่แก้หลักสูตรอะไรเลย.

มาเป็นหลายสิบปี เนี้ย. ก็มีแนวโน้มว่าเด็กเหล่านี้ เนี่ย. ก็จะมีผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาตกต่ําไม่แตกต่างกัน

แล้วเมื่อเด็กเหล่านี้ทยอยเข้าสู่วัยแรงงานครับ. ประเทศของเราจะแข่งกับใครที่ไหนได้?

และเมื่อเอาผลคะแนนของโรงเรียนแต่ละประเภทมาวิเคราะห์อย่างกรณีโรงเรียนสาธิตครับ

มาเทียบกับโรงเรียนในสังกัด สพฐ. จะเห็นถึงความเหลื่อมล้ําทางการศึกษา. ที่ชัดเจนมาก.

นับวันความเหลื่อมล้ําระหว่างโรงเรียนสาธิตที่สังกัด อว เนี่ย นะครับ. กับโรงเรียนในสังกัด สพฐ. นะครับ.

มีแต่จะถูกทางให้กว้างขึ้น. เรื่อย เรื่อย นั่นเป็นเพราะอะไรครับ? โรงเรียนสาธิต เนี่ย

เขาสามารถออกแบบหลักสูตรได้เอง. บูรณาการหลายวิชาเข้าด้วยกัน. ทําให้สามารถบริหารเวลาเรียน.

ของนักเรียนให้มีประสิทธิภาพ บรรยากาศการเรียนรู้ก็เปิดกว้างครับ.

 

ให้นักเรียนมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและใช้ความคิดสร้างสรรค์. ในขณะที่โรงเรียนในสังกัด สพฐ. ครับ.

มีจํานวนไม่น้อยฮะ. ณ วันนี้บรรยากาศเต็มไปด้วยอํานาจนิยมการบังคับการบูลลี่

มีวิชาเรียน ที่บังคับให้เรียนอยู่เต็มไปหมด. เรียนเยอะ สอบแยะ การบ้านก็เยอะ.

แถมยังถูกบังคับให้เข้าร่วมโครงการ อะไรต่อมิอะไรที่เป็นภาระ. งานธุรการของครูผู้สอน.

นับวันมีแต่จะดึงเด็กออกมานอกห้องเรียน เพื่อมาทํากิจกรรมสร้างหน้าสร้างตาให้กับผู้บริหารสถานศึกษา.

รอคนจากส่วนกลางมาตัดริบบิ้น. ทั้งทั้งที่เราเข้าสอบPISA. แล้วเขามีงานวิจัยกํากับออกมาครับ.

เขาบอกว่าอะไรฮะ? การบูลลี่ เนี่ย มีผลเสียต่อผลการเรียนรู้อย่างมาก. PISA เนี่ย นะครับ.

เขาบอกว่าในประเทศไทย เนี่ย. การบูลลี่ เนี่ย. อย่างน้อยน้อยนะทําให้คะแนนวิทยาศาสตร์ เนี่ย.

ตกต่ําลงสามสิบห้าถึงห้าสิบห้าคะแนน แต่เมื่อดูได้งบประมาณปี หก เจ็ด เป็น ไง ครับ?

ผมไม่เห็นการจัดสรรงบประมาณที่ให้ความสําคัญกับการแก้ไขปัญหาอํานาจนิยมและการบูลลี่ในโรงเรียนเลย.

เหมือนกับว่ามันไม่มีปัญหา. ก็เท่ากับรัฐบาลนี้. จะปล่อยให้มีการ bully กันต่อไป. แก้กันแบบตามมีตามเกิด.

ประเด็นต่อมาครับ

ทุกคนรู้ดีว่าเด็กไทยของเราต้องเรียนเยอะ. แล้วก็เรียนเยอะมาก. แล้วผลสํา ถ้าเรียนเยอะ.

แล้วผลสัมฤทธิ์ดีก็ว่าไปอย่างครับ. พอเข้าใจได้. แต่นี่เด็กไทยของเรามีเวลาเรียนเยอะติดระดับโลก

มีเวลาเรียนทั้งหมด เนี่ย นะครับ. ห้าสิบหก ชั่วโมงต่อสัปดาห์. หารเจ็ดครับท่านประธาน. วันละแปดชั่วโมง.

วันหนึ่งกี่ชั่วโมง? ท่านประธาน. ยี่สิบสี่. หักเวลานอนแปดเหลือสิบหก.

แปดชั่วโมงจากสิบหกคือครึ่งหนึ่งของชีวิตไปแล้ว. นี่ นี่คือการเรียนรู้ของเด็กไทย. อะไรครับ?

เรียนเยอะแล้วได้ผลลัพธ์อย่างนี้เหรอ? เวลาเรียนของประเทศไทยเป็นรองแค่ประเทศจีน.

และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์. แต่ผลการสอบPISAเราตกต่ํามาก แสดงว่าอะไรฮะ?

เวลาเรียนในโรงเรียนของเราเป็นเวลาที่ไร้คุณภาพ. แทนที่โรงเรียนจะเอาเวลานั้นมาสร้างเวลาแห่งการเรียนรู้.

กลับเอามาทําโครงการกิจกรรมต่างต่างที่เป็นภาระทางการศึกษา. ที่ไม่เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาคน.

สิ้นเปลืองงบดําเนินงานและงบรายจ่ายอื่น

และงบดําเนินงานและงบรายจ่ายอื่นที่ผมว่านี่แหละ. คือตัวแสบที่สุดครับท่านประธาน.

งบดําเนินงานและงบรายจ่ายอื่นเป็นหนึ่งในปัญหาใหญ่ของกระทรวงศึกษาธิการครับ

ไม่ต้องเทียบกับใครท่านประธาน. ไม่ต้องเทียบกับต่างประเทศแล้ว. เทียบกับกระทรวงสาธารณสุขเลย. เอา สภ

มาเทียบกับ สท. สลามาเทียบกับ ส เสือ. ก็จะเห็นปัญหาได้อย่างชัดเจน

ผมคิดว่าในวันนี้สมาชิกทุกท่านคงรู้จักโครงการสามสิบบาทรักษาทุกโรคเป็นอย่างดี. และการเกิดขึ้นของกองทุน.

หลักประกันสุขภาพแห่งชาติหรือบัตรทอง.

โครงการสามสิบบาทรักษาด้วงไม่ใช่แค่โครงการสวัสดิการด้านการรักษาพยาบาลฮะ เป็นการปฏิรูป.

ระบบการจัดสรรงบประมาณด้านสาธารณสุขของประเทศไทย. ที่มุ่งเน้นนะครับ. ที่จะให้เงินทุกบาททุกสตางค์.

 

ถูกจัดสรรให้เกิดประโยชน์ทางตรง. ด้านสุขภาพต่อประชาชนให้ได้มากที่สุด. ทั้งเรื่องของการป้องกันโรค.

การรักษาพยาบาลและการฟื้นฟูสุขภาพ

งบดําเนินงานลองดูได้ของงบ งบของกระทรวงสาธารณสุข.

งบดําเนินงานและงบรายจ่ายอื่นครับท่านประธาน. จะมีการพิจารณาอย่างรอบคอบ.

และอยู่ในกรอบภารกิจอยู่สามเรื่องฮะ หนึ่งก็คือ ส่งเสริมการป้องกันโรค. สอง เพิ่มศักยภาพทักษะทางวิชาชีพ.

สาม ยกระดับมาตรฐานของสถานพยาบาล. เพื่อไม่ให้มีโครงการอะไรก็ไม่รู้เยอะแยะตาแป๊ะไก่ที่ดึง.

เอาเวลาของแพทย์พยาบาลและบุคลากรทางการแพทย์. ออกจากสถานพยาบาล หมอก็มีน้อยอยู่แล้ว.

เขาไม่ว่างพอที่จะมาทําโครงการอะไรเละตุ้มเป๊ะแบบนี้หรอกครับ. คราวนี้นะครับ. ทําให้

ทําให้การบริหารงบดําเนินงานและงบรายจ่ายอื่นของกระทรวงสาธารณสุข มีประสิทธิภาพดีกว่า

กระทรวงศึกษาธิการเป็นอย่างมาก. โดยแต่เดิมครับ.

กระทรวงศึกษาธิการมีสัดส่วนของงบดําเนินงานและงบรายจ่ายอื่นเทียบกับงบทั้งหมด.

ผมตัดงบบุคลากรทิ้งนะครับ

กระทรวง ของกระทรวงศึกษาธิการ เนี่ย สูงกว่ากระทรวงสาธารณสุขเป็นเท่าตัว. ดูปีหกสามครับ.

ท่านประธานครับ. สัดส่วนนี้. กระทรวงสาธารณสุขอยู่ที่แปดจุดสี่หนึ่งเปอร์เซ็นต์.

ในขณะที่กระทรวงศึกษาธิการอยู่ที่สิบเก้าจุดสามสามเปอร์เซ็นต์ ต่างกันเท่าตัวกว่า. คิดเป็นมูลค่าเงินแล้วกันครับ.

อยู่ที่หนึ่งหมื่นห้าพันยี่สิบเจ็ดล้านบาท. หมื่นห้าพันล้าน. เจ้าพ่อคุณลุ้นช่อง.

และในปีต่อต่อมาล้วนแล้วแต่เป็นมูลค่าที่สูงระดับหมื่นล้านทั้งสิ้น ปี หกสี่ หนึ่งหมื่นสี่พันล้าน. ปี หกห้า

หนึ่งหมื่นหนึ่งพันล้าน. ปี หก หก เกือบหนึ่งหมื่นสี่พันล้าน. ซึ่งผมเข้าใจว่ากระทรวงศึกษาธิ

กระทรวงศึกษาธิการก็เจ็บกระดองใจ. และรู้อยู่แก่ใจเป็นอย่างดี

และพยายามที่จะปรับลดงบดําเนินงานและงบรายจ่ายอื่นในปีหกเจ็ด. พยายามแล้วครับ.

แต่ยังมีช่องว่างที่ยังทําได้ดีกว่านี้. ถ้าไม่เกรงใจกัน. นะฮะ

โดยในปี หก เจ็ด ครับ. สัดส่วนงบดําเนินงานและงบรายจ่ายอื่นนะครับ.

เมื่อเทียบกับงบทั้งหมดหักงบบุคลากรออกนะครับ. ก็มีการปรับตัวลงมาครับ. จากปี

หกหกนี่อยู่ที่สิบเจ็ดจุดเก้าสามเปอร์เซ็นต์นะครับ. ปีหกเจ็ดนี่มาที่สิบสามจุดสี่หนึ่งเปอร์เซ็นต์. เหมือนรู้ตัวครับ

แต่หากไปเทียบกับกระทรวงสาธารณสุขนะครับ. เขาอยู่ที่ระดับหกจุดสี่แปดเปอร์เซ็นต์ครับ.

ผมยืนยันว่างบดําเนินงานและงบรายจ่ายอื่นที่ซ่อนไว้กับโครงการที่ไม่เกิดประโยชน์ทางตรงกับนักเรียนหรือผู้เรียน

เนี่ย ยังมีอีกมาก. และผมคํานวณว่า วงเงินต้องสงสัยนี้อยู่ราวราว แปดพันสองร้อยห้าสิบหกล้านบาท.

ที่ผ่านมาครับ. ตั้งแต่ปี หกสาม จนถึงปี หก เจ็ด งบดําเนินงานและงบรายจ่ายอื่นของกระทรวงศึกษาธิการ.

ที่ขาดประสิทธิภาพ. และน่าจะปรับลดได้ เนี่ย.

 

เมื่อเทียบกับการบริหารงบประมาณส่วนนี้ของกระทรวงสาสุขนะฮะ. นั้นมีมูลค่าสูงมากมากครับ.

สูงกว่างบประมาณของกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาเสียอีกฮะ

สูงเป็นแบบเท่าตัว. ปสส เขาดูแลเด็กเป็นล้านคนนะฮะ. แต่นี่คืองบดําเนินงาน. งบหลังจากอื่นสูงกว่างบของ

กสส. แม้ว่าในปี หก เจ็ด. เงินก้อนแปดพันสองร้อยห้าสิบหกล้านบาท จะสูงกว่างบของ กสส.

ที่ได้รับอยู่ที่หกพันสี่สิบสี่ล้าน. ไม่มากนัก. แต่ถ้าเราลงรายละเอียดดีดีนะครับ. ลงที่เนื้อของโครงการ.

ผมเชื่อว่าปรับลดงบ ดําเนินงานและงบรายจ่ายอื่นได้อีก. หากเอาโครงการที่มีภารกิจซ้ําซ้อน. โครงการที่

สามารถบูรณา บูรณาการเนื้อหาเข้าไปยัง วิชาสอนปกติได้. โครงการที่สร้างภาระงานธุรการให้กับครูผู้สอน.

โครงการที่ดึงเด็กออกมา. ทํากิจกรรมนอกโรงเรียน. โครงการที่เต็มไปด้วยการว่าจ้างที่ปรึกษา. เอามากางครับ

วิโรจน์คนเดียวกาแล้วจิ้มทีละรายการนะครับ. รวมกันได้สองพันหนึ่งร้อยสิบเจ็ดล้านเป็นอย่างน้อย.

ถ้าช่วยกันคิดช่วยกันตัดได้มากกว่านี้. ลดภาระให้กับครู. ลดภาระให้กับเด็กได้มากกว่านี้.

แต่เบื้องต้นวิโรจน์คนเดียวสองพันหนึ่งร้อยสิบเจ็ดล้านบาท

ไม่ได้โฆษณาโอช้อปปิ้งนะ. โครงการเหล่านี้ครับ. ท่านประธานครับ. มักจะใช้เล่ห์เพทุกบาย.

ตั้งชื่อโครงการให้ดูเป็นคนดีครับ. ท่านประธาน. เอาชื่อที่ดูเหมือนเป็นคนดี. มาเป็นเกราะป้องกันการตัดงบ

ใครก็ตามที่ไปเสนอปรับลดงบประมาณนะครับ. ก็จะถูกมองว่าเป็นคนไม่ดี. ไม่เห็นแก่ชาติบ้านเมือง.

ไม่เห็นแก่เด็กตาดําดํานะครับ. แต่พอดูที่รายละเอียดนะฮะ.

ก็จะพบว่าโครงการเหล่านี้เต็มไปด้วยภาระของครูและนักเรียน. ครูก็ต้องไปถ่ายรูปทํารายงานติดบอร์ด เด็กก็ต้อง

ถูกดึงออกมาเป็นนักแสดงเอ็กซ์ตร้า. นักแสดงประกอบฉาก. ให้เป็นหน้าเป็นตาของผู้บริหารสถานศึกษา.

รอคนจากส่วนกลางมาลูบหัวครับ. แล้วก็ถ่ายรูปเสียเวลาเรียน

หลายโครงการไม่ใช่หน้าที่โดยตรงของกระทรวงศึกษาธิการ. เพราะมีหน่วยงานอื่นโดยเฉพาะ.

หน่วยงานความมั่นคงรับผิดชอบอยู่แล้ว. เรามาดูกันเลยฮะ. โครงการสร้างภูมิคุ้มกันป้องกันยาเสพติด.

และโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา

ถ้าวันนี้วิโรจน์เสนอตัดนะฮะ. สองโครงการนี้. จะถูกต่อว่าทันทีฮะ. เฮ้ย! วิโรจน์ไม่ห่วงลูกห่วงหลานหรือไง?

อยากให้ติดยาเสพติดหรือ ไง? ลองเป็นลูกตัวเองดูบ้างสิ. รับรองโดน

โครงการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมและธรรมาภิบาลในสถานศึกษา. และโครงการ สร้างเสริม.

สร้างระเบียบวินัยคุณธรรมจริยธรรม. และคุณลักษณะอันพึงประสงค์. โอ้! ผมอ่านผมยังสําลักความเป็นคนดีเลย.

ถ้าใครเสนอตัดงบในสองโครงการนี้นะ. ถูกด่าทันทีแน่นอนฮะ ว่าไม่ใส่ใจจะทําให้เด็กเป็นคนดีหรือ ไง?

ไม่อยากให้เด็กมีคุณธรรมเหรอ? อยากให้เด็กเป็นพวกสามกลีบชังชาติ. อย่าง งั้น เหรอ? นึกจะโดนอย่างนี้ฮะ.

ท่านประธานที่เคารพ. ผมบอกตรงตรงกับท่านประธานอย่าง งี้ ว่า การป้องกันยาเสพติดเป็นเรื่องที่ต้องทําครับ.

ผมไม่ได้บอกว่าการบ่มเพาะให้เด็กมีจริยธรรมเป็นเรื่องที่ไม่ควรทํา. ต้องทําครับ.

แต่สิ่งต่างต่างเหล่านี้ทําได้ผ่านโคมรูม. ทําได้ผ่านการบูรณาการสอดแทรกไปในวิชา. สังคมศึกษา. หน้าที่พลเมือง

 

สุขการศึกษาแนะแนวและลูกเสือ. และยังมีอีกหลายวิชา.

ไม่เห็นจําเป็นต้องแยกโครงการออกมาถลุงงบประมาณเลย. มีอีกฮะ.

โครงการเกี่ยวกับสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ครับ โครงการบริหารจัดการการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้.

โครงการพัฒนาตามศักยภาพของพื้นที่. โครงการพัฒนาสังคมพหุวัฒนธรรมอะไรต่อมิอะไรเหล่า เนี้ย.

ถ้าใครเสนอตัดงบนะท่านประธาน. ก็ต้องถูกกล่าวหาว่าอะไรรู้ไหม ไม่เห็นใจเด็ก.

ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้หรือ ไง? หนักข้อเข้าครับ. ถ้าผู้เสนอเป็นคุณรอมฎอน.

จะถูกกล่าวหาอีกว่าสนับสนุนการก่อความไม่สงบแบ่งแยกดินแดน.

ผมต้องบอกท่านประธานว่าเยาว์อย่าดูแค่ชื่อโครงการ เราต้องเจาะเข้าไปดูในไส้ในของมันด้วย.

โครงการต่างต่างเหล่านี้ผมดูเบื้องต้นนะครับ. นะฮะ. ล้วนมีหน่วยงานอื่น. ไม่ว่าจะเป็นกองทัพหรือ กอรมน

ทําอยู่แล้วครับ. มีภารกิจซ้ําซ้อนอยู่หลายภารกิจ

หลายโครงการไม่ได้มีวัตถุประสงค์หลัก. เพื่อการศึกษา. และน่าจะเป็นงบที่ กอ.รมน. เอามาฝากเลี้ยงเอาไว้.

โครงการอะไรต่อมิอะไรครับ? ที่ลงท้ายด้วยศตวรรษที่ยี่สิบเอ็ด. โอ้โห! พอใครเสนอตัดนะครับ

ไอ้งบที่มีนามสกุลศตวรรษที่ยี่สิบเอ็ด เนี่ย. โอ้โห! จากครั่นเนื้อครั่นตัวครับ.

แล้วก็จะถูกกล่าวหาว่าไม่อยากให้ประเทศชาติพัฒนาในศตวรรษที่ยี่สิบเอ็ดหรือไง?

แต่ผมเรียนท่านประธานตรงตรงอย่าง งี้ ครับ. ว่า ไอ้คําว่าศตวรรษที่ยี่สิบเอ็ด เนี่ย

เป็นคําที่เจอบ่อยมากมากในกระทรวงศึกษาธิการครับ แล้วถ้าเรายังจัดงบกันแบบนี้

ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของประเทศไทยก็จะตกต่ําไปตลอดศตวรรษที่ยี่สิบเอ็ดครับ.

และพอพ้นศตวรรษที่ยี่สิบเอ็ดนะฮะ. ชื่อของโครงการแบบเดิมก็ยังอยู่ครับ.

แต่เปลี่ยนนามสกุลห้อยท้ายเป็นศตวรรษที่ยี่สิบสองนะ ลองไปดูไส้ในครับ. เต็มไปด้วยการจ้างที่ปรึกษา.

บังคับให้ครูไปอบรมในหัวข้อที่มี ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน.

ไม่ได้มีเป้าหมายทางตรงในการพัฒนาทักษะวิชาชีพครู. หลายพัน

หลายภารกิจซ้ําซ้อนกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. และเป็นอํานาจจากส่วนกลางและ

เขตพื้นที่การศึกษาในการใช้งบประมาณและอาจจะหวังเงินทอนซะด้วย. แต่มาถลุงเวลาครู

ดังนั้นถ้าเราลงรายละเอียดในไลน์โครงการ. ผมเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่า. จากวงเงินต้องสงสัยแปดพันกว่าล้าน.

ตัดได้อย่างน้อยสองพันหนึ่งร้อยสิบเจ็ดล้านบาทอย่างแน่นอน. อีกปัญหาหนึ่งครับ. นี่คือปัญหาพาร์ทแรก.

ผมพูดแค่สองพาร์ต พาร์ทที่สองไม่พูดไม่ได้ เป็นอีกปัญหานึงที่เป็นปัญหา.

เรื้อรังและกลายเป็นวิกฤติสําคัญของการศึกษาไทยไปแล้ว.

มีผลการศึกษาจากธนาคารโลกต้องออกมายืนยันด้วยนะครับ. แต่ไม่เคยที่จะรับการแก้ไขอย่างจริงจังซะที.

นั่นก็คือปัญหาโรงเรียนขนาดเล็ก ผมเล่าให้ทุกคนเข้าใจก่อนฮะ.

 

โรงเรียนขนาดเล็กก็คือโรงเรียนที่มีนักเรียนน้อยกว่า. หนึ่งร้อยยี่สิบคน. ข้อมูล สพฐ นะครับ. ระบุว่า ปี หก หก

เนี่ย มีอยู่หนึ่งหมื่นสี่พันเก้าร้อยเก้าสิบหกแห่ง

จากโรงเรียนทั้งหมดสองหมื่นเก้าพันสามร้อยสิบสองแห่ง. เกินครึ่งเข้าไปแล้วครับ. และที่น่ากลัวคือ

ยังมีโรงเรียนที่กําลังเล็กครับ. ที่มีนักเรียนร้อยยี่สิบเอ็ดถึงสองร้อยคน เนี่ย. อยู่ราวราวอีกเจ็ดพันแห่ง

ที่กําลังจะเล็กในอนาคตอันใกล้เนื่องจากอัตราการเกิด. นะครับ. ทยอยลดลงเรื่อยเรื่อย. โรงเรียนขนาดเล็กครับ.

ได้งบน้อยกว่า. โรงเรียนขนาดใหญ่ครับ.

แม้ว่าจะมีการคิดสูตรเพิ่มเงินอุดหนุนลายหัวให้กับนักเรียนโรงเรียนขนาดเล็กก็ตาม แต่เมื่อกระทรวงศึกษาธิการ

เนี่ย. คิดเงินอุดหนุน. คิดเป็นรายหัว. ต่อให้คิดยังไงฮะ? โรงเรียนขนาดเล็กงบก็ไม่พอฮะ.

สมมุติว่าโรงเรียนประถมแห่งหนึ่งมีนักเรียนห้าสิบคนก็แล้วกัน. เขาเพิ่มให้ปี นึง ห้าร้อยครับ. ต่อคนนะ

ปีนึงก็เพิ่มมาสองหมื่นห้า. เดือนนึงสองพันฮะ. สองพันเศษ. ถามว่า จะไปพออะไรฮะ? เดือนนึงสองพัน.

จะไปบริหารโรงเรียนขนาดเล็กให้มันมีคุณภาพ. สุดท้ายโรงเรียนขนาดเล็ก. ทุกแห่งก็ประสบ ปัญหา. งบไม่พอ

ส่งผลให้ทํา ทําให้ขาดแคลนสื่ออุปกรณ์ทางการ เรียนการสอนที่มีคุณภาพ. อาคารสถานที่ก็ขาดการดูแล.

กระทบกับสวัสดิภาพและความปลอดภัยของเด็กอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้. นอกจากนี้ครับท่านประธาน. อัตรา

กําลังครูผู้สอน. สพฐ เขาก็ใช้หลักเกณฑ์ สัดส่วนครูต่อจํานวนนักเรียนฮะ. พอนักเรียนน้อย.

ครูก็เลยมีน้อยตามครับ. ทําให้โรงเรียนมีปัญหาครูไม่ครบชั้นครับ. ครูหนึ่งคนต้องสอนหลายชั้น. หลายวิชานะครับ

ทําให้ยากต่อการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ. เด็กนักเรียนหลายคนจะต้องนั่งเรียนกับทีวีครับ.

โดยที่ครูไม่สามารถเอาใจใส่ได้อย่างทั่วถึง. ครูไม่สามารถ สอนแล้วก็เชื่อมจิตได้นะครับ. อย่าง เงี้ย.

เชื่อมไม่ได้นะครับ คุณภาพเขาเป็นแบบ เนี้ย. ประกอบกับหลักสูตรการเรียนการสอนของประเทศไทยครับ.

กําหนดให้. นักเรียนหรือเด็กต้องเรียนหลายวิชา. การบ้านเยอะ. สอบเยอะ. โรงเรียนทั่วไป.

จะจัดการเรียนการสอนให้ดีทุกวิชายังทําได้ลําบากเลยครับ

นับประสาอะไรกับโรงเรียนขนาดเล็กที่ครูไม่ครบชั้น. ขาดแคลนทุกอย่าง. ยิ่งเป็นไปไม่ได้เลยฮะ.

พอเด็กนักเรียนที่เรียนในโรงเรียนแล้วไม่รู้เรื่องครับ. ทําไงฮะ? เด็กในเมืองทําไงครับ? ที่อยู่กับคุณพ่อคุณแม่.

ก็หวังพึ่งพ่อแม่ใช่ไหมครับ แต่ก็ยากมากมากอีกครับ. เพราะในประเทศไทย มีเด็กมากถึงสามสิบหกเปอร์เซ็นต์.

ที่ไม่ได้อาศัยอยู่กับพ่อแม่. อยู่กับปู่ย่าตายายที่เรียกว่าครอบครัวแหว่งกลาง. มีอยู่ราวราวหนึ่งจุดสี่ล้านครัวเรือน.

และยี่สิบสองจุดเจ็ดเปอร์เซ็นต์ของ ครอบครัวแหว่งกลางเป็นครัวเรือนที่ยากจนครับท่านประธาน.

และนี่ยังไม่นับครอบครัวเลี้ยงเดี่ยวนะครับ. พ่อเลี้ยงเดี่ยวแม่เลี้ยงเดี่ยว. ที่มีอยู่รวมรวมกัน.

อีกหนึ่งจุดสี่ล้านครัวเรือน. ด้วยสภาพสังคมและเศรษฐกิจแบบนี้. ยิ่งทําให้ปัญหาโรงเรียนขนาดเล็ก

ทวีความรุนแรงอยู่ในระดับวิกฤติครับ. ที่ผ่านมาครับ. จนถึงปีงบประมาณหกเจ็ด เนี่ย.

กระทรวงศึกษาธิการไม่เคยคิด. ที่จะแก้ไขปัญหาโรงเรียนขนาดเล็กอย่างจริงจังเลย

 

เหมือนป่วยเป็นโรคร้าย แต่ให้กินแค่ยา พาราครับท่านประธาน.

ปล่อยให้ลุกลามแล้วก็ตายไปเองตามยถากรรม.

การควบรวมโรงเรียนที่ผ่านมาไม่เคยประสบความสําเร็จตามเป้าหมาย.

แถมมีแนวโน้มว่าจะควบรวมน้อยลงเรื่อยเรื่อย. ราวกับว่าไม่มีปัญหาโรงเรียนขนาดเล็กอยู่แล้ว

จากปีสองพันห้าร้อยหกสิบสาม. มีเป้าหมายการควบโรงเรียนสี่ร้อยแห่งนะครับ. ก็ทําได้แค่ร้อยหกสิบเก้า.

ปีต่อมานะ. ในปี หกสี่ หกห้า หกหก. มีการปรับเป้าหมายลงมาอีก. ปัญหารุนแรงขึ้น. ปรับเป้าหมายลงมาอีก.

เหลือสามร้อยห้าสิบแห่ง. แต่ แต่ควบรวมจริงได้ยังไงฮะ? แปดสิบแห่ง. สี่สิบเอ็ดแห่ง. ปีหกหก

เหมือนจะรู้ตัวดีขึ้นมาหน่อย. ได้ ร้อย ห้าสิบสองแห่ง. แต่เกิดอะไรขึ้นกับปี หกเจ็ด.

ทําไมถึงปรับเป้าหมายเหลือแค่สองร้อยแห่งเท่านั้น และเอาเข้าจริงจริงจะควบรวมได้ กี่แห่งกันแน่?

หากพิจารณาจากงบบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก. ซึ่งเป็นงบสําคัญในการแก้ปัญหาโรงเรียนขนาดเล็กนะครับ.

ซึ่งเอาไว้ให้จ่ายเงินชดเชยค่าพาหนะ. จ่ายค่าบริหารจัดการรถโรงเรียน. ให้กับโรงเรียนที่ถูกควบรวม

ก็ทรงตัวอยู่ในระดับเกือบคงที่ครับ. อยู่ราวราวสองร้อยเจ็ดสิบสองถึงสองร้อยแปดสิบหกล้านบาท.

แต่ในปีหกเจ็ดนี่งามไส้ครับท่านประธาน. ปรับเป้าหมายลงนะครับ. จากสามร้อยห้าสิบนะ. เหลือสองร้อยฮะ

แต่กล้าของบเท่าเดิม. แต่เดชะบุญเอาเถอะท่านประธาน. เราอย่ามาว่ากัน.

เพราะถ้าจะแก้ปัญหาโรงเรียนขนาดเล็กจริงจริง.

งบบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กมันมันต้องมากกว่าหลักร้อยล้านอยู่แล้ว. งบครับ

งบแค่ปีละสองร้อยกว่าล้านจะไปแก้ปัญหาโรงเรียนขนาดเล็ก. อะไรได้ครับ. นี่มันเป็นปัญหาระดับวิกฤติ.

มันเป็นไปไม่ได้อยู่แล้วครับ. ที่งบหลักร้อยล้านจะแก้ปัญหาได้.

และนี่จึงสะท้อนว่ารัฐบาลของคุณเศรษฐาไม่ได้มองปัญหาโรงเรียนขนาดเล็ก. ว่าเป็นปัญหาระดับวิกฤติเลย

เรียกว่าไม่ได้ให้ความสําคัญเลยก็ว่าได้.

นอกจากการควบโรงเรียนขนาดเล็กที่ผ่านมาจะไม่เป็นไปตามเป้าแล้วนะครับ. ที่ผ่านมานะครับ. ยังสร้าง

ข้อพิพาทกับชุมชนกับชุมชนอย่างรุนแรงอีก

ต้องยอมรับนะครับ. ว่าโรงเรียนนั้นมีความผูกพันกับวิถีชุมชนเป็นอย่างมาก.

โรงเรียนหลายแห่งเกิดจากน้ําพักน้ําแรงของบรรพบุรุษ. ที่

รุ่นปู่ย่าตายายของพวกเขาต้องลงขันลงแรงสร้างมากับมือ. โรงเรียนไหนที่ถูกควบรวมครับ?

โรงเรียนนั้นก็ถูกปล่อยทิ้งร้าง ไม่มีแผนการถ่ายโอนให้กับท้องถิ่น.

ไม่มีงบสนับสนุนเพื่อนําสถานที่ไปใช้ในวัตถุประสงค์อื่น. ที่เกิดประโยชน์กับชุมชน.

ไม่ว่าจะเป็นศูนย์การเรียนรู้ชุมชน. ศูนย์ฝึกอาชีพ. ศูนย์กายภาพบําบัด. ไม่มีทิ้งล้าง

พอประชาชนเห็นโรงเรียนที่เป็นสัญลักษณ์ของความร่วมแรงร่วมใจของพวกเขา. ถูกทิ้งล้างกลายเป็นป่าช้า.

ผ่านไปผ่านมาเห็นสภาพแบบนี้. ใครจะทําใจได้ครับ? เงินชดเชยค่าพาหนะครับท่านประธาน

 

ในการเดินทางไปกลับบ้านโรงเรียน. ก็จ่ายในอัตราที่ถูกมาก. หากโรงเรียนใหม่อยู่ไกลกว่าโรงเรียนเดิมไม่เกินสาม

กิโล. ก็ได้สิบบาทต่อวันต่อคน. สามถึงสิบ กิโล ได้สิบห้าบาท. ถ้าเกินสิบ กิโล ขึ้นไปได้ยี่สิบบาท

ผมถามว่าเงินแค่นี้ในพื้นที่ที่ไม่มีระบบขนส่งสาธารณะ. เขาจะไปจ้างรถที่ไหนฮะ. หลายโรงเรียนครับ.

เอาเงินส่วนนี้ไปช่วยจ่ายค่าน้ํามันรถให้ครูกับผู้ปกครองครับ. แล้วก็ขนเด็ก. ขึ้นรถกระบะมาโรงเรียนด้วยกัน. แต่ผม

แต่ผมถามครับ. เกิดวันใดวันดี? ปะหมอเคราะห์ร้าย. เกิดอุบัติเหตุขึ้นมา? ใครจะเป็นผู้รับผิดชอบครับ?

และที่สําคัญที่สุดคือเด็กตัวเล็กเล็กที่ยังไม่ถึงเกณฑ์เรียนนะ. ที่โรงเรียนเขาถูกควบรวมไป เนี่ย.

พอเขาถึงเกณฑ์เรียนเขาก็ตั้งคําถามครับ. ว่า เขาจะได้รับเงินชดเชยค่าพาหนะไหม? คําตอบก็คือไม่ได้. อ้าว!

แล้วเขาจะร่วมมือได้ยังไงฮะ? การกระทรวงศึกษาธิการรู้อยู่แก่ใจว่าทางออกเรื่องนี้.

ไม่ใช่การจ่ายค่าชดเชยพยานพาหนะ. แต่ต้องเป็นการจัดลดโรงเรียน เพื่อให้เด็กทุกคนในจังหวัด.

ไม่ว่าจะอยู่ตรงไหน. สามารถเดินทางไปโรงเรียนที่ตอบโจทย์ของตัวเอง. ในระยะทางที่ไม่ไกลจากบ้านมากนัก.

และถ้ามีรถโรงเรียนครับ. ภาระของพ่อแม่ผู้ปกครองก็จะลดลงไปด้วย. เด็กก็จะหลุดออกนอกระบบน้อยลงไปด้วย

กระทรวงศึกษาก็รู้ครับ. งบบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก เนี่ย. ที่มีอยู่สองร้อยกว่าล้าน. มีแค่ เนี้ย.

ส่วนหนึ่งจึงจัดสรรไปเป็นค่าบริหารรถโรงเรียนครับ. แต่ได้งบที่มีอยู่น้อยนิดนะครับ.

และให้แต่ละโรงเรียนทํากันเองนะ มันจัดใสลดโรงเรียนไม่ได้ครับ. นักเรียนต่างโรงเรียนที่โรงเรียนไปทางเดียวกัน.

ก็ขึ้นรถโรงเรียนร่วมกันไม่ได้ครับ. ทางออกที่ตรงจุดที่สุดก็คือการจัดสรรงบอุดหนุน ให้กับ อบจ

นําไปบริหารจัดการลดโรงเรียนภายในจังหวัด. เพื่อให้เด็กนักเรียนในจังหวัด. ทุกคนใช้รถโรงเรียนร่วมกันได้.

และสิ่งที่ต้องทําควบคู่กันไปด้วยก็คือ. การถ่ายโอนโรงเรียนที่ถูกควบรวมให้กับท้องถิ่น. พร้อมกับจัดงบอุดหนุน.

อาจจะเป็นแห่งละหนึ่งล้านบาท เพื่อให้ท้องถิ่นเอางบนี้ไปปรับปรุงอาคารสถานที่. และนําไปใช้ในวัตถุประสงค์อื่น.

โดยที่ชุมชนมีส่วนร่วม. ถ้ายังควบรวมตามยถากรรมที่ทําได้เพียงสัก

ร้อยห้าสิบสองแห่ง. เหมือนปีสองพันห้าร้อยหกสิบหก. ผมคํานวณอย่าง งี้ ครับ. เราต้องใช้เวลานะ.

เก้าสิบเอ็ดปี. เป็นอย่างน้อย. กว่าจะแก้ไขปัญหาโรงเรียนขนาดเล็กได้ครับ. และต้องถูกผลการทดสอบ PISA

ประจานประเทศ ไปในเวทีโลก. ไปอีกอย่างน้อยสามสิบครั้ง. ถ้าเราไม่กล้าหาญ.

ที่จะบอกปัญหาตรงตรงและแก้ไขปัญหาโรงเรียนขนาดเล็กอย่างจริงจัง.

ไม่มีวันที่เราจะยกระดับคุณภาพการศึกษาของประเทศไทยได้เลย ทีดีอาร์ไอก็ยืนยันว่า เหตุที่PISAเราตกต่ํา

มาจากโรงเรียนขนาดเล็ก. มีการศึกษาครับ. แล้วพบว่าครับ. โรงเรียนขนาดเล็กมีต้นทุนในการบริหารจัดการ

สูงกว่าโรงเรียนขนาดกลางอยู่ที่หนึ่งหมื่นสามพันหกร้อยบาทต่อคนต่อปี.

ประเทศนี้มีนักเรียนที่อยู่ในโรงเรียนขนาดเล็กอยู่ราวราวเก้าแสนห้าหมื่นสี่พันเจ็ดร้อยห้าสิบหกคน.

ถ้าเราแก้ปัญหาโรงเรียนขนาดเล็กได้

 

เราจะประหยัดงบประมาณได้ถึงปีละหนึ่งหมื่นสองพันเก้าร้อย แปดสิบห้าล้านบาท.

และเมื่อนําเอามารวมกับการปรับลดงบดําเนินงาน. และงบรายจ่ายอื่นที่ผมบอกว่ามันเป็นตัวแสบ เนี่ย.

รวมกันสองก้อน. รัฐบาลของคุณเสกฐาทวีศิลป์. ทวีศิลป์แน่นอน จะมีเงินจัดสรรใหม่ได้อีกหนึ่งหมื่นห้าพัน.

หลอดละ หนึ่งหมื่นห้าพัน. หนึ่งหมื่นห้าพันล้านบาท. กลมกลม. เงินหนึ่งหมื่นห้าพันล้านบาท.

เอาไปทําอะไรได้บ้างครับ? ก่อนอื่นเลยครับ เอาไปจัดสรรเป็นงบอุดหนุนเฉพาะกิจสี่พันล้าน. เพื่อสนับสนุนให้ อบจ

แต่ละแห่ง. ทํารถโรงเรียนภายในจังหวัด. ให้เด็กทุกคนสามารถขึ้นรถโรงเรียนได้นะครับ. เดินทางร่วมกันได้.

อีกหกพันหกร้อยล้านครับ. นําไปจัดสรร. งบเพิ่มให้กับกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา หรือ กสส.

เมื่อวานนี้ท่านจุลพันธ์. ขออนุญาตที่เอ่ยนาม. ก็บอกว่า นายกกําลังเล็งอยู่ว่าจะ เพิ่มงบให้ กสส.

หนี้วิโรจน์หาอีกแล้ว. เด็กยากจนวิเศษหนึ่งจุดสามล้านคน. ได้รับทุนเสมอภาคเพิ่ม เพิ่มจากสามพัน.

เป็นสี่พันสองร้อยบาทต่อคนต่อปี. ทันที

ไม่ต้องขึ้น แบบ ขั้นบันไดนะ. ตามที่รัฐบาลทํานะ. ที่ต้อง ขึ้นปีหน้าก็สามพันกว่า. ขึ้นปีต่อไปก็สามพันกว่า.

กว่าจะได้สี่พันสอง. ต้องรอถึงสองห้าหกเก้า. ซึ่งก็ไม่รู้ว่าจะได้จริงหรือเปล่า

และเด็กยากจนอีกหนึ่งจุดสองล้านคนที่ตกหล่น ก็จะได้รับทุนเสมอภาคด้วย. ทีนี้แหละครับเด็กยากจนทั้งหมด.

ในประเทศไทยเราทั้งแผ่นดินมีอยู่สองจุดห้าล้านคน. ก็จะได้รับการช่วยเหลือทุกคน.

ไม่หลุดออกจากระบบการศึกษา. เลยแม้แต่คนเดียว และยังเหลืองบประมาณอีกสี่พันห้าร้อยล้านครับ.

ที่สามารถนําไปใช้เพื่อประโยชน์ทางการศึกษาอื่นอื่น.

ไม่ว่าจะเป็นนําไปเพิ่มค่าปัจจัยพื้นฐานสําหรับนักเรียนยากจน. อุดหนุนโรงเรียนขนาดเล็กที่เป็น protectle

school ที่มีอยู่หนึ่งพันหนึ่งร้อย. ห้าสิบห้าแห่ง. ที่

ที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลเกาะแก่งบนภูเขาที่เราไม่สามารถควบรวมได้. ให้เขามีงบประมาณในการดูแลโรงเรียนมากขึ้น.

รวมทั้งในช่วงสามถึงห้าปีแรก. ยังเอาไปทําเป็นงบอุดหนุนฮะ

เพื่อการถ่ายโอนโรงเรียนให้กับท้องถิ่นได้ด้วย. เพื่อให้ท้องถิ่นมีงบในการปรับปรุงอาคารสถานที่.

ที่ผ่านมาครับท่านประธานครับ. รัฐบาลนี้บอกกับประชาชนอยู่ตลอดเวลาว่า. ประเทศกําลังอยู่ในภาวะวิกฤติ

ซึ่งในมิติการศึกษาครับ. ผมก็เห็นว่ามันวิกฤตจริงจริงฮะ. แต่ไหนจับงบออกมาแบบนี้ฮะ. งบแบบนี้ เนี่ย

เหมือนกําลังบอกให้พ่อแม่ทุกคนยอมให้ลูกหลานของตัวเอง. เรียนหนังสือแบบเดิมเดิม.

ในระบบการศึกษาที่สิ้นหวัง ยอมจํานนให้กับอํานาจนิยมและการกดขี่.

ยอมให้หลักสูตรที่ไม่ได้ปรับปรุงเป็นหลักสูตรล้างสมองขโมยเวลาชีวิตไปอย่างสูญเปล่า.

จนสุดท้ายเด็กเด็กต้องเติบโตขึ้นมาเป็นพลเมืองที่ไม่กล้าคิด. ไม่กล้าฝัน. ไม่กล้าแม้จะตั้ง. แม้แต่จะคิด.

ตั้งคําถามกับผู้มีอํานาจ เป็นได้แค่บ่าวไพร่ที่คอยทํางานตามคําสั่งของผู้เป็นนาย. แล้วก็ค่อยค่อยแก่ตัว.

แล้วก็ตายจากไป. ในประเทศที่ต้องสาปแห่งนี้. นี่จึงเป็นเหตุผลทั้งหมด

 

และผมอยากอภิปรายในเรื่องการศึกษาเป็นครั้งสุดท้ายในสภาแห่งนี้. และนี่คือเหตุผลที่ผมวิโรจน์

ลักขณาดิศร. ต่ายกลายเป็นเถ้าถ่านยังไง? ก็เป็นวิโรจน์.

ไม่สามารถเห็นด้วยกับร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเต็มปี. งบ งบประมาณ พ. ศ.

สองพันห้าร้อยหกสิบเจ็ด. ฉบับนี้ได้. ขอบพระคุณครับท่านประธาน

ขอบคุณ ดร. กฤษณพงศ์ กีรติกร ที่กรุณาส่งมาให้ 

หมายเลขบันทึก: 716966เขียนเมื่อ 8 มกราคม 2024 18:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มกราคม 2024 18:45 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท