อุปสรรคของความสุข (Obstacles of happiness)


ความสุขคือเป้าหมายสูงสุดของชีวิตที่คนส่วนใหญ่ปราถนา แต่ขณะเดียวกันคนส่วนใหญ่ก็ไม่ค่อยมีความสุขในชีวิตเท่าที่ควร และจำนวนหนึ่งก็จะบอกว่า ‘สุขบ้าง ทุกข์บ้าง คละเคล้ากันไป’ 

ข้อสงสัยของผมก็คือ ถ้าความสุขคือเป้าหมายของคนเรา แต่ทำไมคนเราจึงไม่ค่อยมีความสุขเพราะอะไร อะไรคืออุปสรรคของความสุขที่เราพึงมีในชีวิต 

หลังจากตั้งโจทย์ข้อนี้ผมก็มีโอกาสได้พูดคุยกับลูกศิษย์ เพื่อนฝูง และผู้คนที่รูู้จักจำนวนหนึ่งโดยมีคำถามสามข้อเป็นหลักในการพูดคุยกัน คือ เขานิยามความสุขว่าอย่างไร ชีวิตส่วนใหญ่มีความสุขหรือไม่สุข และคิดว่าอะไรคืออุปสรรคที่ทำให้เราไม่ค่อยมีความสุข ซึ่งคำตอบโดยสุปคือ

นิยามความสุขแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่คือ ความสุขคือความพึงพอใจ (ประมาณ 80 %) ความสุขคือความรู้สึกที่ดี (ประมาณ 13 %)  และความสุขคือความสนุกหรือความเพลิดเพลิน (ประมาณ 7 %) ซึ่งนิยามทั้งสามกลุ่มดังกล่าวมีตัวแปรร่วมเดียวกัน คือ ‘ความรู้สึก’ 

ก่อนหน้านั้นผมก็อ่านหนังสือเกี่ยวกับความสุข และการมีชีวิตที่เป็นสุขหลายเล่ม เช่น หนังสือของ Yubmirsky ศาสตราจารย์ทางจิตวิทยาที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซึ่งเขาใช้คำว่าความสุขสลับกันไปมากับคำว่าการอยู่ดีกินดี (well being) และนิยามความสุขว่าเป็นประสบการณ์ที่รื่นรมณ์ มีความเป็นอยู่ที่ดี และการคิดเชิงบวก ผนวกกับการมีชีวิตที่ดี มีความหมายา และการเติมเต็มหรือความสมบูรณ์ทางกายและทางจิต ส่วนอุปสรรค์ของความสุขก็ขึ้นอยู่กับว่าคนๆ นั้นมีแหล่งของความสุขจากอะไร เช่น ความสัมพันธ์ที่ดี หรือการมีการงานที่ยึดหยุ่น หรือการมีเงิน หรือมีลูกที่น่ารัก หรือมีเวลาในการทำสิ่งที่อยากทำ ซึ่งถ้าสิ่งที่เป็นแหล่งของความสุขเป็นไปตามที่ตนต้องการ ก็เป็นสุข (และแน่นอน ถ้าไม่เป็นไปตามนั้นก็ไม่สุข นี่ก็อาจจะเป็นที่มาของคนที่มีทั้งสุข และไม่สุข) 

กลับไปยังข้อมูลที่ผมรวบรวมมาข้างต้น ก็จะคล้ายแนวคิดของ Yubomirsky ในประเด็นที่ว่า คนเขามีนิยามความสุขไว้ต่างกัน และมีแหล่งของความสุขแตกต่างกัน ดังนั้นความสุขหรือไม่สุขของแต่ละคนจึงต่างกัน ถ้าสมหวังก็สุข ไม่สมหวังก็ไม่สุข หรือเป็นทุกข์ 

เมื่อคืนผมก็ออกรายการสดใน facebook ของช่อง ubon tv ในรายการ ‘พบพรชวนคุย’ และในช่วงหนึ่งของรายการ พิธีกร คือ คุณนพพร ก็บอกว่า ปัญหาสำคัญประการหนึ่งของความสุขคือ ความต่อเนื่องของความสุข เพราะโดยทั่วไปแล้วความสุขก็เกิดขึ้นขั่วระยะหนึ่ง แล้วก็หายไป แล้วเราก็ต้องหาความสุขในสิ่งใหม่ เช่น เราอยากมีบ้าน พอได้บ้านใหม่ก็มีความสุข แต่อีกไม่นานความสุขเหล่านั้นก็จะหมดไป พอได้รถใหม่ก็เป็นสุขอีกครั้ง แต่ไม่นานความรู้สึกนั้นก็จะหมดไปเช่นกัน และคุณนพพรก็สรุปว่า คนส่วนใหญ่ที่ไม่ค่อยมีความสุขเพราะเราไม่ค่อยพอใจในสิ่งที่เรามีอยู่ เราก็เลยต้องแสวงหาอยู่เรื่อยไป และไม่มีความสุข 

ผมก็เห็นด้วยกับข้อสังเกตนี้ว่าความไม่พอใจกับสิ่งที่มีอยู่ (หรือสภาพที่เป็นอยู่) เป็นสาเหตุที่ทำให้คนไม่มีความสุข (คือเป็นทุกข์) แต่ขณะเดียวกันถ้าเราคนเราพอใจกับทุกอย่างมีเรามีอยู่ หรือที่เป็นอยู่เท่านั้น โลกเราก็คงไม่พัฒนามาอย่างที่เราเป็นอยู่ในปัจจุบัน คนเราก็คงยังเร่ร่อนนอนตามป่า หรือถ้ำ และนุ่งใบไม้อยู่

แต่เราความมีความสุขได้แม้จะไม่พอใจกับสิ่งที่เรามีหรือเป็นอยู่ คือเรายังมีความสุขกับสิ่งที่เรามีหรือเราเป็นอยู่ได้ขณะที่ เรายังไม่ได้สิ่งใหม่ และเมื่อได้สิ่งแล้วก็มีความสุดขที่จะมีทั้งสองเก่าและของใหม่ หรือเลิกใช้ของเก่าและใช้ของใหม่ก็ได้ แต่สิ่งที่ทำให้คนไม่ความสุขเมื่อไม่พอใจในสิ่งที่มีอยู่ หรือที่เป็นอยู่เราก็เริ่มไม่มีความสุข (เป็นทุกข์) แล้ว และที่ไม่มีความสุข หรือเป็นทุกข์มากขึ้นคือไม่รู้จะหาสิ่งใหม่มาได้อย่างไร ความอยากได้สิ่งใหม่ แต่ไม่มีแนวทางจะได้สิ่งใหม่ก็เลยทำให้ไม่เป็นสุข 

ผมจึงเสนอว่า จงมีความสุขกับสิ่งที่เรามีอยู่ แม้ว่าเราจะเห็นว่ายังไม่ดีพอ ซึ่งทำให้เราไม่พอใจกับสิ่งที่มีอยู่ แล้วก็สุขกับการดำเนินการเพื่อให้ได้สิ่งใหม่ ไม่ใช่เป็นทุกข์ในการหาสิ่งใหม่ ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้น เราหาสิ่งใหม่มา (หาพระแสงอะไร) ทำไม

และในรายการที่พูดคุยกันเรื่อง ‘ความสุข และอุปสรรค์ของความสุข’ นั้นผมนิยามความสุขว่า ‘เป็นสภาวะของความรู้สึกที่สมดุลในการตอบสนองต่อสิ่งเร้า’ คือไม่ว่าสิ่งเร้าคือะไร และอย่างไร เราก็ยังมีความเป็นปกติของความรู้สึกของเรา เช่่น มีความรู้สึกเป็นปกติอยู่กับสิ่งที่เรามีอยู่ หรือสภาพที่เป็นอยู่ (เพราะนี่คือความจริง) และมีความเป็นปกติในการแสวงหาสิ่งใหม่ (คือไม่เป็นทุกข์ในการแสวงหา) ดังบทเขียนก่อนหน้าโน้นที่ผมเขียนว่า ‘ชีวิตนี้เราจะเหนื่อยสุข หรือเหนื่อยทุกข์’ ถ้าเราเหนื่อยสุขก็คือไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นก็เป็นสุขได้ 

เราผมก็อธิบายต่อว่า สิ่งที่อาจจะทำให้ความสมดุลของความรู้สึกเปลี่ยนไปคือ ปรากฏการณ์ (เช่น ไม่พอใจในสิ่งที่เรามีอยู่) ประตูบานแรกที่จะกระทบต่อความสมุคลของความรู้สึกคือการตีความ (ปรากฏการณ์ที่เกิด ก็คือสิ่งที่เกิด ประเด็นอยู่ที่เราจะตีความว่าอย่างไร) ซึ่งการตีความปรากฏการณ์ดังกล่าวจะส่งผลต่อ ‘จิตใจและร่างกายของเรา’ (จิต: พอใจ ไม่พอใข ชอลไม่ชอบ โมโหไม่โมโห; ร่างกาย: การเต้นของหัวใจ การคิดของสมอง การยึด หรือหดตัวของกล้ามเนื้อ) ซึ่งก็จะส่งต่อพฤติกรรมการตอบสนองต่อปรากฏการณ์ ถ้าเราฝึกให้กระบวนการทั้งหมดเป็นปกติได้ ความสมดุลของความรู้สึกก็เป็นปกติ และเราก็จะมีความเป็นปกติ หรือที่เราเรียกกว่าความสุขที่ยั่งยืน 

ถ้าเราทำอย่างนี้ได้เราก็จะเป็นคนที่อยู่ได้ในทุกสถานการณ์ และทุกสิ่งแวดล้อมครับ  อย่างเป็นสุข ครับ 

สุขสันต์วันพ่อ และทุกวันนะครับ

สมาน อัศวภูมิ

5 ธันวาคม 2566

หมายเลขบันทึก: 716602เขียนเมื่อ 5 ธันวาคม 2023 07:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 ธันวาคม 2023 07:19 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท