การพัฒนาวิชาชีพครูตามความสามารถ ตอนที่ 1 Competency-based Teacher Professional Development


                                                การพัฒนาวิชาชีพครูตามความสามารถ ตอนที่ 1

                                            Competency-based Teacher Professional Development

                                                                                                      ดร.ชัชรินทร์  ชวนวัน ข้าราชการบำนาญ 

                                                                               สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา, 2567

                                                                   ………………………………………….

         การเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 และยุคดิจิทัล แนวโน้มใหม่ๆด้านเทคโนโลยี เศรษฐกิจ และการเมืองส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตสังคม สถานที่ทำงาน และไลฟ์สไตล์ของผู้คน โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร เป็นความท้าทายที่จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงการศึกษาเพื่อปรับวิถีเหล่านี้ให้เข้ากับแนวโน้มที่เกิดขึ้น การศึกษาแบบดั้งเดิมตั้งแต่ระดับอนุบาลถึงมัธยมศึกษาตอนปลาย (K-12) ไม่ได้รับความนิยมและนักการศึกษาเรียกร้องให้ปฏิรูปหลักสูตรและวิธีการสอนเพื่อสอนนักเรียนให้มีความยั่งยืน เช่น ความยากจน ความเป็นพลเมือง สันติภาพ ประชาธิปไตย ความมั่นคง สิทธิมนุษยชน การพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจ สุขภาพ ความเท่าเทียมกันทางเพศ ความหลากหลายทางวัฒนธรรม การคุ้มครองสิ่งแวดล้อม การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ การพัฒนาเมืองและชนบท รูปแบบการผลิตและการบริโภค และความรับผิดชอบต่อสังคม เพื่อความยั่งยืนดังกล่าว ระบบการจัดการศึกษาตามความสามารถ (Competency Based Education) จึงเกิดขึ้นตั้งแต่ทศวรรษปี 1960 และ ค.ศ.1970 โดยรูปแบบการพัฒนาฝึกอบรมครูได้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อให้ครูจะต้องเป็นบุคคลที่เชี่ยวชาญความรู้ทั้งหมดนี้ก่อนที่จะนำไปสอนนักเรียน ดังนั้นเพื่อให้บรรลุเป้าหมายสำคัญเหล่านี้ ผู้บริหารทางการศึกษาและผู้นำโรงเรียนต้องแสวงหากลยุทธ์ที่ดีทำการปรับปรุงความสามารถทางวิชาชีพของครูให้ตรงกับมาตรฐานวิชาชีพและสอดรับกับตามความต้องการของนักเรียน การศึกษาเพื่อการพัฒนาวิชาชีพครูที่เน้นความสามารถ จึงถือเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสำหรับองค์กรการศึกษาและครู เพื่อตอบสนองความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปของบริบทโลกและตลาดแรงงานได้ดียิ่งขึ้น.

           ความต้องการการปฏิรูปการศึกษาและความเป็นสากลของการพัฒนาครู ส่งผลให้การพัฒนาและการฝึกอบรมครูเปลี่ยนจากแนวทางตามเนื้อหาเปลี่ยนไปเป็นแนวทางตามความสามารถ  ระบบการพัฒนาทางวิชาชีพเน้นความสามารถสำหรับครู นโยบายและรูปแบบการศึกษาที่เน้นความสามารถจึงได้รับความสนใจและมีความสำคัญที่เพิ่มขึ้นคู่ขนานกับนบายและรูปแบบเพื่อความเป็นมืออาชีพและการพัฒนาวิชาชีพของครู.

 

 

TEA PRO COM DEV-1.pdf  

 

คำสำคัญ (Tags): #Teacher Pro Com Development
หมายเลขบันทึก: 716583เขียนเมื่อ 3 ธันวาคม 2023 20:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 ธันวาคม 2023 20:15 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท