สามมิติแห่งกาลเวลา (Three dimensions of time)


แนวคิดเกี่ยวกับเวลาใน 3 มิติที่ผมร่วมออกอากาศในรายการ ‘นพพรชวนคุย’ ที่ออกอากาศใน Ubon Tv Facebook เมื่อสัปดาห์ที่แล้วนั้นเกิดจากการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับการบริหารเวลา ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญทั้งในการบริหารองค์การ และบริหารชีวิต และเป็นประเด็นที่นักวิชาการศึกษา และนำเสนอไว้มากมายหลายแนวคิด รวมทั้งผมเองก็เคยเขียนเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ในบล๊อก GotoKnow เช่นกัน เช่น ไม่มีเวล หรือว่าไม่เห็นความสำคัญ (24 พ.ย. 2565) หรือเรื่อง บบริหารเวลาอย่างไงดี (26 ก.ย. 2565) หรือเรื่อง ทุกนาทีที่เราได้คือเวลาที่เราเสีย (12 ก.ย. 2565) เป็นต้น แต่ยังไม่ได้เข้าใจเรื่องเวลา 3 มิติตามที่เสนอไว้ในรายการนพพรชวนคุยดังกล่าว 

แนวคิดเกี่ยวกับเวลา 3 มิตินี้เกิดขึ้นระหว่างการเตรียมตัวออกรายการนพพรชวนคุยในสัปดาห์ก่อนหน้านั้น ด้วยวันนั้นจะมีการคุยกันเกี่ยวกับชีวิต เวลา และความสำเร็จ ซึ่งในวันนั้นผมได้กล่าวถึงเวลาไว้ว่าโดยทั่วไปแล้วเราจะใช้เวลาตามเกณฑ์เป็นหลักในการทำงาน และการดำรงชีวิต และการกำหนดเกณฑ์ของเวลาแต่ละยุคสมัยก็แตกต่างกันไป ในยุคต้้นๆ คนเราใช้แค่กลางวันและกลางคืนเป็นเกณฑ์เวลา ต่อมากใช้เช้า สาย เที่ยงบาย ฯลฯ เป็นเกณฑ์การใช้เวลา และต่อมามีนักดาราศาสตร์ได้คำนวณเวลาการหมุนรอบตนเองของโลก และการโครจรรอบดวงอาทิตย์เป็นเกณฑ์เวลา โดยกำหนดคร่าวๆ คือ ประมาณ 24 ชั่วโมงคือ 1 วัน และ 365 วัน เป็นหนึ่งปี ซึ่งต่อมาก็มีนักประดิษฐ์ได้สร้างอุปกรณ์วัดเวลาขึ้นมาเรียกว่านาฬิกา และเกณฑ์เวลาใหม่นี้ได้นำใช้ในการทำงานและดำรงชีวิตในปัจจุบัน จนคิดว่าเวลาตามเกณฑ์นาฬิกาเป็นเวลาที่แท้จริง และยึดเป็นสารณะ ตลอดจนหาเทคนิควิธีในการบริหารเวลาอย่างมีประสิทธิภาพกันอยู่ใน ปัจจุบัน 

แต่จริงแล้วเวลาที่แท้จริงมี 3 มิติ หรือเวลาตามจริง เวลาตามเกณฑ์ และเวลาตามใจ ซึ่งถ้าเราเข้าใจเวลาทั้งสามมิตินี้แล้วจะเข้าใจ และบริหารเวลาได้ดียิ่งขึ้น 

เวลาตามจริง เป็นเวลาตามที่เป็นอยู่ตามเวลาปรากฏการร์ธรรมชาติ ซึ่งจะมีคน หรือไม่มีคนเพื่อรับรู้เรื่องเวลาหรือไม่ก็ตาม เวลาตามจริงก็จะดำเนินต่อไปจนส้นสุดจักวาลนั้นๆ เช่น เวลาของสุรยะจักรวาลของเราก็เร่ิ่มต้้นขึ้นเมื่อเกิดสุริยะจักรวาลขึ้นหลังจากการเกิดอภิมหาระเบิด (Big Bang) และสิ้นสุดลงเมื่อสุรยะจักรวาลเราถูกสูบเข้าสู่หลุมดำ (Black Hole) ส่วนการวิวัฒนาการของสรรพสิ่งในจักรวาลย์นั้นๆ ก็แล้วแต่ความเหมาะสมของแต่ละจักรวาล สำหรับวิวัฒนากรของสุริยักรวาลก็เป็นมาและเป็นไปอย่างที่เราเห็นอยู่ในปัจจุบัน และมนุษย์เราก็เป็นส่วนหนึ่งของวิวัฒนาการดังกล่าว และคนเราไม่สามารถบริหารเวลาตามจริงนี้ได้ เพียงแต่ใช้ช่วงเวลาที่เรามีชีวิตอยู่ให้ดีที่สุดเท่าน้้นเอง ดังนั้นการเข้าใจเรื่องเวลาตามเกณฑ์ และตามใจจึงเป็นเรื่องสำคัญในการบริหารการงานและชีวิตของคนเรา ดังจะได้กล่าวถึงต่อไป 

เวลาตามเกณฑ์ เป็นเวลาที่คนเราเรียนรู้และกำหนดขึ้นเพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการทำงาน และดำเนินชีวิต ส่วนท่านจะเลือกใช้เกณฑ์ไหนที่ผมกล่าวมาแล้วข้างต้น แต่ที่เป็นสากลและนำใช้ในปัจจุบันคือ เวลาตามเกณฑ์ที่นำใช้ในการประดิษฐ์นาฬิกาครับ แต่นั่นเป็นเพียงเวลาตามเกณฑ์เพื่อนำใช้เป็นหลักในการนับเวลา และการนัดหมายในการดำรงชีวิต หรือทำกิจกรรมของคนเราเท่านั้น เราไม่สามารถเป็นเจ้าเวลา หรือบริหารเวลาได้ เพราะเวลาตามเกณฑ์นี้เป็นเพียงระบบย่อยของเวลาตามจริงที่มนุษย์เรากำหนดใช้เท่านั้น ไม่เกี่ยวกับต้นไม้ หรือสัตว์ หรือสรรพสิ่งอื่น ดังนั้นการบริหารเวลาที่ดีจึงไม่ใช่การกำหนดว่าจะใช้เวลาอย่างไร แต่เป็นการเลือกที่จะใช้เวลาที่เรามีอยู่ทำอะไรเท่านั้น และสิ่งนั้นมีความสำคัญหรือไม่เพียงใด ทั้งในแง่ของการงาน ชีวิตปัจจุบัน และวิถีจักรวาล ครับ 

เวลาตามใจ เป็นเวลาตามความรู้สึกของแต่ละบุคคล ซึ่งปริมาณเวลาตามใจนี้จะมาก หรือน้อยขึ้นอยู่กับความรู้สึกของแต่ละบุคคลและสิ่งที่เขาทำ เช่น การที่ได้ทำสิ่งที่เราชอบจะรู้สึกว่าเวลาเดินไปอย่างรวดเร็ว แต่ถ้าทำในสิ่งที่ไม่ชอบจะ รู้สึกว่าเป็นเวลาเดินไปช้ามาก  ดังนั้นเวลาตามใจนี้จึงดูเหมือนไม่เกี่ยวกับเวลาตามเกณฑ์ หรือเวลาตามจริง แต่จริงๆ แล้วการใช้เวลาตามใจย่อมทำให้เราเสียเวลาตามเกณฑ์และเวลาตามจริงไปด้วยเช่นกัน ดังนั้นคนเราควรเรียนรู้แลัะใช้เวลาตามใจทั้งที่ชอบและไม่ชอบ ในแบบเดียวกัน คือไม่หลงไหลจนลืมเวลา และไม่รู้สึกว่าลำบาก หรือทรมาน ถ้าสิ่งนั้นสำคัญและเป็นประโยชน์ต่อการงานและชีวิตของเรา แต่ถ้าหากเป็นไปได้ เราก็เลือกทำเฉพาะสิ่งที่เราชอบและเป็นประโยชน์เท่านั้นก็ได้ เพราะชีวิตนี้เป็นของเรา และเรามีเวลาไม่มากนักที่จะอยู่ในโลกนี้ครับ 

สรุปเวลาตามเกณฑ์เป็นแค่เครื่องมือวัดปริมาณเวลา และเวลาตามใจเป็นแค่ความรู้สึกที่เรามีต่อการใช้เวลาเท่านั้น ส่วนเวลาที่สำคัญคือ ‘เวลาตามจริง’ ซึ่งทำหน้าที่อย่างซื่อสัตย์และตรงไปตรงมาครับ 

สมาน อัศวภูมิ 

23/11/2566

 

 

หมายเลขบันทึก: 716434เขียนเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2023 21:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2023 21:57 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

I have problems with your ‘real/nature time’ getting destroyed by a blackhole, and its implication that ‘time comes to be at the ‘Big Bang’. We can agree on that ‘time is nether ‘matter’ nor ‘energy’ (Einstein’s E=mc**2 says ‘matter is energy’) and in thinking out we can tell ‘what time a universe is consumed by a blackhole’ (of course it is not the time within the reference frame of the ill-fated universe, the time in the larger frame over universes).

Is ‘time’ is just ‘human convention’ to help ‘sequencing events’ (in the same way we ‘rank objects’)? Do we say ‘time management’ when we mean ‘control of sequence of human events’? Do we say we are X years old because we ‘have lived X periods of Earth orbiting the Sun? Do we say ‘time flies when we are having fun’ (and ‘so slowly when we are suffering)?… Really! Time management is working by the clock! Our body and brain don’t really work that way – though we try to ;-)

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท